ใครผิดใครถูก
เมื่อพูดถึงการช๊อปปิ้งในห้างสรรพสินค้าใหญ่
ๆ ในสมัยนี้ ก็ทำให้ฉันนึกขึ้นมาได้ว่าได้ห่างเหินกับพฤติกรรมนี้มาเสียนาน
เนื่องจากสังขารเป็นพิษ
มีฤทธิ์เป็นความแก่ เดินไปยืดหลังไป เพราะเกิดอาการปวดเมื่อยไปทั่วร่างกาย
เมื่อต้องเดินนาน ๆ บางครั้งอยากจะลงนั่งยอง ๆ กับพื้นด้วยซ้ำไป
นอกจากนี้ฉันยังเป็นผู้หนึ่งที่จำทิศทางเดินไม่ค่อยจะได้เลย
ถ้าเกิดพลัดหลงกันเมื่อไหร่ละก็จะต้องเดินหาทางออกด้วยตัวเองจนหัวหมุน
และก็เพราะอย่างนี้แหละที่ทำให้ฉันไม่กล้าแม้แต่จะละสายตาไปจากกลุ่มพ่อลูก เพราะถ้ามีการพลัดหลงกันเกิดขึ้นละก็
บอกได้คำเดียวว่าเหนื่อยเพราะหาไม่เจอแน่ ดังนั้นการช๊อปปิ้งของฉันคือการเดินตามลูกและสามี
ไปไหนไปกัน มีอะไร ๆ ก็ดู ๆ ไป ไมได้ซื้อก็ไม่เป็นไร แต่หลัง ๆ
มานี้ฉันเริ่มจะเห็นสัจธรรม ว่า การอยู่บ้านน่าจะเป็นความสุขของฉันมากกว่า
แต่การปฏิเสธของฉันนั้นทำให้พ่อลูกต้องอดไปเดินอปปิ้งไปด้วยซึ่งในบางครั้งฉันก็ฉันก็ต้องจำใจยอมเพราะไม่เช่นนั้นจะถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการในการที่ทำกิจกรรมกลุ่มล่ม
การเข้ามาซื้อของขวัญในเทศกาลจำเป็นนี้ได้กลายเป็นคุณ(ประโยชน์)เพราะทำให้ฉันได้พบสัจธรรมที่ว่า
เงินก็ซื้ออะไรๆ ไม่ล่ายหลั่งจาย เหมือนกัน
เพราะกว่าจะได้สินค้าแต่ละชิ้นต้องแหวกคนจนเหนื่อย
แย่งกันหยิบฉวยสินค้าเหมือนกับว่าเขาแจกฟรี
แล้วยังต้องยืนเมื่อยรอของกับตังทอนอีกต่างหาก
ทางร้านก็ไม่ง้อ(ดูจากสีหน้าและกิริยาของคนขาย)
ก็เพราะทุกคนมารุมกันแย่งกันจ่ายเงินให้ยู่แล้ว ฉันตั้งข้อสังเกตว่าในวันนั้นน่าจะแบ่งกลุ่มคนออกได้เป็นกลุ่ม
ๆ นอกจากเพศ และอายุแล้ว ดังนี้
กลุ่มที่หนึ่งกลุ่มคนที่จำเป็นต้องซื้อของที่จำเป็น เพราะจำเป็นต้องใช้
กลุ่มที่สองคือกลุ่มคนที่ไม่จำเป็นต้องซื้อของที่จำเป็นเพราะยังไม่จำเป็นต้องใช้
และยังไม่ถึงเวลาต้องซื้อ
กลุ่มที่สามกลุ่มคนที่ซื้อของไม่จำเป็นต้องใช้เลยเพราะซื้อไปให้คนอื่นใช้
เป็นกลุ่มที่ทำให้มีคำพูดที่ว่า คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ กลุ่มที่สี่
กลุ่มอื่น ๆ ไม่ได้ตั้งใจมาซื้ออะไร มาเที่ยวเล่น มาเรียนหนังสือ (ตามห้าง)
และกลุ่มกิจกรรมพิเศษ เช่น ขายของ ดนตรี เกมส์ ต่าง ๆ อีกมากมาย เป็นต้น
การรวมกลุ่มของคนเหล่านี้ในห้างต้น (ือบครัว่างคิดจึ
คือกันไป ดังนั้นจึงพบว่ามีผู้คนมากมายแห่กันเข้ามามากมาย
บ้างก็ทำกิจกรรมเดี่ยว บ้างก็ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
แต่บ้างก็มากันมากกว่าจะเป็นกลุ่ม (คือ
มากันเป็นฝูง)
กลุ่มเหล่านี้มาทำวิจัยจะสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทต่าง ๆ
อย่างที่นักวิจัยมักจะจัดกระทำกับกลุ่มตัวอย่างประชากรได้ดังนี้ กลุ่มเพศเดียวกัน กลุ่มต่างเพศกัน
กลุ่มวัยเดียวกัน กลุ่มต่างวัยกัน
กลุ่มครอบครัวและกลุ่มไม่ครอบครัว
ฯลฯ
แต่อย่างไรก็ตามการมาเป็นกลุ่มนั้นขอแนะนำว่าต้องทำกระบวนการกลุ่มให้เป็น เพราะต่างฝ่ายต่างจะอยากทำพฤติกรรมกันตามที่ตัวต้องการไม่ได้อย่างเด็ดขาด เวลาไปไหนก็ต้องจูงมือกันเป็นหางด้วยกลัวว่าจะหลงทางกัน
บางกลุ่มลงทุนซื้อพวงกุญแจพูดได้คอยเปิดขอทางว่า ขอทางหน่อยค่ะ ๆ ๆ
ทำให้ทุนแรงปากไปได้มากเหมือนกัน
เมื่อมีโอกาสเข้ามาเป็นหนึ่งในกลุ่มคนเข้าห้างแล้วก็อดจะสังเกตพฤติกรรมกลุ่มครอบครัวเสียไม่ได้
เพราะดูแล้วน่ารัก น่าอบอุ่นดีสำหรับคนอื่น
ๆ ที่จะชื่นชมเมื่อเห็นภาพนี้ แต่ถ้าได้เข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มแล้วละก็จะพบกับความน่าหมั่นเขี้ยวได้เหมือนกัน
โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกตัวน้อย ๆ ที่ดื้อตาใส งอแงและเจ้าปัญหามาด้วย
ปัญหาแรกมักจะเป็นปัญหาลูกไม่ยอมเดินเองจะให้อุ้ม
แต่จะว่าเด็กก็ไม่ได้ก็มันเมื่อยนี่นา เดินดูอะไรกันก็ไม่รู้
แต่ปัญหานี้เล่นไม่ยากเพราะพออุ้มเขาขึ้นมาความงอแงก็หาย
แต่ปัญหาที่ตามมาเมื่อเด็กไม่ต้องเดินก็คือและอยู่สูงพอที่จะสอดส่ายสายตาหาสิ่งที่น่าสนใจและน่าเล่นต่อไป
ฉันสังเกตเห็นว่าเด็กมักจะเหวี่ยงตัวโยนออกจากอ้อมแขนเพื่อคว้าสิ่งต่าง
ๆ
ที่ผ่านเข้ามาใกล้แค่สุดเอื้อมอยู่เรื่อย ๆ
สิ่งที่คว้าได้บางครั้งก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้ต้องการอย่างจริงจัง พอบอกให้ปล่อยมือก็จะยอมโดยง่าย
แต่ถ้าบังเอิญสิ่งที่คว้านั้นเป็นสิ่งที่เกิดอยากได้ขึ้นมาละก็
ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นของเล่นของเด็กหรือไม่ก็ตาม บอกได้คำเดียวว่าเป็นเรื่อง
สำหรับเด็กที่โตหน่อย(3-4ขวบ) อาการอยากได้ของเล่น
มักทำให้เกิดเป็นศึกย่อยๆ เรียกว่าศึกกลางห้างกันมานักต่อนัก
กว่าจะทำสัญญาสงบศึกกันได้ก็เล่นเอาหมดอารมณ์กันไปทั้งกลุ่มเลยทีเดียว
เด็กบางคนร่ำไห้
พร้อมทั้งหันมาต่อว่าค่อนขอดว่า แม้หนูจะซื้อแล้วเล่นแค่ทีสองทีก็ยังดีกว่า
ใครบางคนที่ซื้อแล้วซุก ไม่เคยเอาออกมาใช้เลย ฮือ ๆ เอาผู้ใหญ่ที่เดินอยู่รอบ
ข้างสะดุ้งรู้สึกตัวก้มลงมองของที่เพิ่งจะแย่งกันซื้อมา
แล้วทำท่าพยักพเยิดว่าเป็นความจริง
เด็กอะไรช่างพูดเหน็บแนมแกมสะกิดใจได้ดีจริง ๆ
ความจริงแล้วปัญหาเด็กอยากซื้อของเล่นนี้เป็นปัญหาที่น่าวิเคราะห์ว่ามีสาเหตุมาจากอะไรและใครคือต้นตอของสาเหตุที่แท้จริง
จะได้ไม่มา จี
จ่อ เจี๊ยะ
กับจำเลยตัวกะเปี๊ยกเรี๊ยกเท่านั้น คุณโจทย์
(พ่อแม่)ก็ควรจะต้องหันมาดูตัวเองไปพร้อม ๆกัน ไม่แน่นา ไปไป
มามา คุณโจทย์อาจจะกลายมาเป็นจำเลยก็ได้
ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ สิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรก
คือ
พฤติกรรมทางด้านอารมณ์และการแสดงออกของเด็กที่ตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมในสภาพชีวิตประจำวัน
เด็กที่มีอาการ ดื้อสุด
ๆ ทั้งหลายมักจะเป็นเด็กที่ถูกตามใจจากพ่อแม่และคนที่อยู่รอบข้างเสียจนรู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะชนะ
จนพ่อแม่บางคนยอมรับว่าบางทีต้องลุ้นกันแบบสุดๆ
วัดใจกันอย่าง จะจะ
แต่ไม่รู้เป็นอย่างไร ตัวเล็กมักได้เปรียบเสมอ
เด็กมักจะเคยแต่เล่นเป็นฝ่ายชนะ ไม่ว่าผิด
หรือถูก ด้วยพฤติกรรมใด
ก็มักจะทำพฤติกรรมที่ทำให้ตนชนะได้นั้นอย่างสม่ำเสมอ
เช่น ถ้าอาละวาดแล้วได้ของเล่น
คราวหน้าถ้าอยากได้ของเล่น พูดกันดี
ๆ แล้วไม่ได้
ก็งัดเอาไม้เดิมที่เคยใช้แล้วได้ของเล่นมาใช้
ก็เท่านั้นเอง
แล้วเด็กก็จะเห็นว่าพฤติกรรมการอาละวาดนี้แหละที่ดีและ
มีประโยชน์ จึงเก็บไว้เป็นประสบการณ์และจะนำออกมา
ใช้ในคราวต่อไปทุกครั้ง ถ้ายังใช้ได้ผลดี ธอร์นไดค์ (Thorndike)
นักจิตวิทยาการเรียนรู้ท่านหนึ่ง กล่าวว่า
บุคคลจะเก็บพฤติกรรมที่กระทำแล้วได้ผลไว้เพื่อแสดงในครั้งต่อ ๆ
ไปเสมอจนกว่าพฤติกรรมนั้นจะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป (Law of Effect)
ตอนนี้เห็นแล้วหรือยังว่าไผเป็นไผ
ถ้าคุณไม่อยากเป็นผู้อยู่ในคอนโทรลของโค๊ชรุ่นเยาว์ก็ต้องคิดหาทางออกให้ได้เช่นกัน
เด็กน่ะเขายังรู้อีกว่าอะไรบ้างที่จะนำมาใช้ต่อรองได้ ให้พ่อแม่ยอมจำนนได้
เช่น ถ้าความอับอายของพ่อแม่เป็นสิ่งที่เด็กพิจารณาเห็นว่าใช้แล้วได้ผล
เด็กก็จะนำเอาพฤติกรรมของตนที่จะทำให้พ่อแม่เกิดความอับอายนั้นมาเป็นตัวเชื่อมโยงวางเงื่อนไขเพื่อใช้บังคับให้พ่อแม่ซื้อของเล่นได้ต่อไปอีกทอดหนึ่งด้วย
น่าสนุกดีออก
แต่สำหรับพ่อแม่แล้วการที่พ่อแม่ยอมแพ้และให้เขาได้ในสิ่งที่ต้องการ
ก็อาจเกิดจากการที่พ่อแม่ต้องการจะแสดงความรักลูกโดยทางลัด
เพราะไม่มีเวลาให้กับลูก
จึงไม่อยากที่จะขัดใจและการแสดงความรักผ่านสื่อที่เป็นวัตถุสิ่งของก็น่าจะทดแทนได้
จึงกลายเป็นช่วยทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มากยิ่งขึ้น
ตอนเป็นเด็กเล็กๆ ก็ดูน่าเอ็นดูดี
แต่ลองนึกภาพลูกตัวโต ๆ แล้วอาละวาด มันน่าสะพึงกลัวเพียงใด
สิ่งที่ต้องพิจารณาในอันดับต่อไปก็คือ คำสัญญาของพ่อแม่ ที่มักจะเผลอสติ
พลั้งปาก
สัญญิงสัญญากันเอาไว้อย่างขอไปที เป็นทำนอง
เช่น "ถ้าหนูไปโรงเรียนไม่งอแงคุณพ่อ(คุณแม่)จะพาไปซึ้อของเล่นแยะ
ๆ" หรือว่า "หนูให้น้องนะจ๊ะแล้วแม่จะซื้อให้ใหม่" เป็นต้น
ลูกก็เก็บความพอใจอันนี้ไว้
โดยเก็บแต่ข้อมูลที่ว่าจะได้ของเล่นใหม่เท่านั้นเมื่อมีสัญญาที่จะให้ทำความดีเป็นการแลกเปลี่ยนตั้งหลายพฤติกรรม เมื่อมาได้รับการปฎิเสธในสถานการณ์ที่ควรจะได้เด็กจึงเกิดความโกรธและอาละวาด
(แล้วอย่างนี้ใครเป็นคนผิด) แต่อย่างไรก็ตาม
ด้วยความที่ฉันกลัวว่าจะต้องเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นแก่ตัวฉันเพราะเจ้าหลานตัวน้อย
ๆ ก็ชักจะเริ่มโต วันโตคืน
ประวัติศาสตร์จะต้องย้อนหวนคืนกลับมาแน่ ๆ ในไม่ช้านี้
ฉันจึงต้องรีบไปซ้อมรับมือกับเพื่อนนักจิตวิทยา (คนเดิม)
เป็นการฝึกวิทยายุทธเพื่อการต่อสู้เชิงรุก
เธอสอนฉันอย่างกับสอนนักศึกษาด้วยน้ำเสียงที่เป็นงานเป็นการว่า
การป้องกันเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้เกิดขึ้นซึ่งมีหลายวิธี
เช่น
นำของเล่นที่เป็นของโปรดติดตัวไปบ้างสักชิ้น
สองชิ้นเพื่อให้รู้ว่าเขามีของเล่นแล้ว
ผสมผสานกับการใช้ลูกล่อลูกชน เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจพร้อมทั้งพยายามค่อย ๆ
เลี่ยงออกจากที่นั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
สำหรับอีกวิธีหนึ่งที่ฉันเห็นว่าได้ผลดีก็คือ
การให้เด็กรับผิดชอบจำนวนเงินด้วยตัวเขาเอง เช่น จะมอบเงินให้ไว้สามสิบบาท
ถ้าอยากได้อะไรก็ให้เลือกเอาเอง เด็กต้องเลือกในวงเงินที่กำหนด
เมื่อเขาได้มีส่วนที่จะตัดสินใจเลือกสิ่งที่เขาต้องการก็จะเป็นการหันเหความสนใจความอยากได้มาเป็นการคิดแก้ปัญหาว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้ตนเองได้รับความพอใจมากที่สุดด้วยเงินที่มีอยู่
ซึ่งกติกาที่ว่านี้ควรจะต้องมีการตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้า
ไม่ใช่กระทำกันเมื่อลูกทำท่าจะเป็นโค๊ช
หรือกลายมาเป็นลูกตัวดีที่หนึ่งไปเสียแล้ว
เมื่อนั้นก็คงจะต้องตะเบ็งเสียง ทั้งปลอบและขู่แข่งกับเสียงร้องคร่ำครวญ แล้วก็โปรดเตรียมใจเป็นผู้แพ้ไปได้เลย
เพื่อนของฉันยังสอนต่อไปอีกว่าถ้ามาถึงขั้นนี้แล้วก็ขอได้โปรดทำใจ
หันมาคิดว่าถ้าเราเป็นเด็กเมื่อพามาดูของเล่นแล้วไม่ได้ของเล่นอะไรติดไม้ติดมือเสียเลย
แล้วจะพามาทำไมให้เมื่อย (วะ)
จะได้ยอมแพ้เด็กได้ทั้งกายและใจแต่อย่างไรก็ตามวิธีที่เสนอแนะมานี้ได้มีผู้นำไปใช้ได้ผลและได้กลายเป็นผู้ชนะมาแล้วแต่ถ้าท่านผู้อ่านมีวิธีที่ดีวิธีอื่นอีกก็ขอให้เสนอแนะมาเพื่อเป็นวิทยาทานเราอยากให้ลูกหลานของเรานั้นเป็นเด็กที่รู้จักคิดและมีเหตุมีผลก็ต้องฝึกกันตั้งแต่เล็กแต่น้อยกันแหละ
|