การใช้ทฤษฎีควบคุมการเรียนรู้: แนวคิดสำหรับครูและโรงเรียน
“ถ้าต้องการให้นักเรียนอยากเรียนก็จะต้องสร้างโรงเรียนที่ทั้งนักเรียนและครูเล็งเห็น
ร่วมกันว่า
การร่วมมือกันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้
คือ
ผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ”
รศ.
ดร. สุภัททา
ปิณฑะแพทย์
จากประวัติศาสตร์
โรงเรียนสร้างขึ้นเพราะเป็นวิธีการเดียวที่มีประสิทธิภาพที่จะทำให้เยาวชนรู้ว่ามีภาระงานที่ต้องทำอีกมากเมื่อก้าวเข้าสู่สังคมอันซับซ้อน
พ่อแม่ต้องการให้ลูกมีการพัฒนาแบบก้าวหน้ากระโดดและพร้อมที่จะจ่ายเงินให้โรงเรียนเพื่อให้ช่วยทำให้พวกเด็ก
ๆ เรียนรู้สิ่งต่าง
ๆ
ที่จำเป็นให้ได้ภายหลังจากจบการศึกษา
ในปัจจุบัน
ทุกคนลงความเห็นว่าเยาวชนจะต้องได้รับการศึกษาให้จบระดับมัธยมไม่ว่าจะต้องการเรียนหรือไม่ก็ตาม
สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา
คือ เด็ก ๆ อาจไม่ได้มองเห็นว่าการศึกษาในระดับนั้นสำคัญสำหรับสำหรับตน
เป็นสิ่งที่น่าคิดสำหรับนักการศึกษา
ว่าจะจัดการอย่างไร
เพราะขณะนี้จุดหมายหลักที่สำคัญคือ
การให้การศึกษาเป็นระยะเวลา 12 ปี และทุกคนทราบดีว่าสังคมในปัจจุบันจะต้องพึ่งพาการศึกษามากขึ้นเรื่อย
ๆ การจ้างงานจึงต้องมีใบประกาศนียบัตรมาแสดง
แม้ว่ามันจะไม่ใช่ตัวความรู้ก็ตาม
ทั้งนี้เพราะแม้แต่ในงานซ่อมแซมเล็ก
ๆ น้อย ๆ
ก็เริ่มมีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง
ช่างซ่อมรถยนต์
ถ้าไม่มีความรู้ในเรื่องเครื่องกลไฟฟ้าก็จะไม่สามารถซ่อมรถยนต์ในสมัยนี้ได้
นอกจากในเรื่องของความต้องการในงานที่ต้องฝึกปฏิบัติแล้ว
ในสังคมยุคปัจจุบันถ้าใครไม่มีวุฒิการศึกษาก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มีความหมาย
และจะไม่มีอำนาจทางปัญญาที่ได้มาอย่างถูกต้อง
จนกว่าจะไปได้รับวุฒิการศึกษา
ซึ่งทำให้กลายเป็นคนสำคัญ
และทุกคนต่างก็อยากเป็นคนสำคัญ
ในบางครั้งจึงพบว่ามีเด็กหนุ่มสาวเป็นจำนวนมากที่มีกิริยาท่าทีโกรธแค้นและหงุดหงิด
และคิดว่าพวกเขาคงจะได้ดีกว่านี้ถ้ามีการศึกษา
แต่ทว่าเมื่อตอนที่พวกเด็กเหล่านี้อยู่ในโรงเรียนเขากลับพบว่าในแต่ละวันไม่มีสิ่งที่น่าพอใจเพียงพอที่จะทำให้อยากอยู่ในโรงเรียน
นักเรียนส่วนใหญ่ที่ไม่ยอมเรียนต่างก็รู้ว่าประกาศนียบัตรเป็นสิ่งที่มีคุณค่า แม้จะรู้ว่าผลที่ได้จากการมีการศึกษานั้นไม่ได้เกิดขึ้นให้เห็นในระยะเวลาอันใกล้
แต่เมื่อเด็กเหล่านี้รู้สึกเสียดายการศึกษาขึ้นมาในภายหลังมันก็สายเกินไปเสียแล้ว
ทฤษฎีการควบคุมการเรียนรู้จึงเป็นหลักคิดของการให้ค่าตอบแทนที่กล่าวว่า
มนุษย์ทุกคนต้องการที่จะได้สิ่งที่ตนพอใจ
การที่นักเรียนต้องใช้เวลามากอยู่ในโรงเรียน
จึงต้องพยายามหาสิ่งที่ทำให้ตนเองพอใจทั้งในและนอกชั้นเรียน
นักเรียนที่เรียนอย่างหนักในชั้นมัธยมและประสบความสำเร็จในการเรียนได้ก็เพราะได้ค้นพบวิธีการสร้างความพอใจให้แก่ตนเองจากงานในเรื่องการเรียนที่ทำในชั้นเรียน
พวกที่ไม่ประสบความสำเร็จก็จะค่อย
ๆ
เลิกเรียนไป
และก็เริ่มที่จะคิดตัดสินใจแบบคนไม่ฉลาดว่าการเรียนไม่เห็นจะให้ในสิ่งที่ต้องการได้
และไม่มีคุณค่าที่พึงพอใจเพียงพอที่จะยึดเหนี่ยวให้มีความพยายามเรียนต่อไป
ปัญหาของการไม่เรียนไม่ค่อยรุนแรงนักกับนักเรียนในระดับประถมศึกษา
เพราะว่าเด็กเล็ก
ๆ
ส่วนใหญ่ต้องการความพอใจแค่เพียงได้รับการตอบสนองด้วยการเอาใจใส่และการยอมรับ
และสิ่งนี้ก็มักจะได้รับจากชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ
มากกว่าในระดับมัธยมที่มีชั้นเรียนแบบหลากหลาย
เด็ก ๆ
โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาจะพยายามที่จะเรียนเพราะรักพ่อแม่และต้องการที่จะทำให้พ่อแม่ชื่นชม
ถ้าเด็กไปโรงเรียนที่มีครูดูแลเอาใจใส่ด้วยแล้วเด็กก็จะได้รับความรักทั้งจากบ้านและโรงเรียน
ทำให้พึงพอใจที่จะเรียน
เมื่อเริ่มเข้าสู่ระดับมัธยม
ครูก็เริ่มห่างเหินและไม่ค่อยได้เข้ามาคลุกคลี
เด็กก็จะสูญเสียความเอาใจใส่จากโรงเรียนโดยทันทีที่เปลี่ยนสภาพมาเป็นนักเรียนชั้นมัธยม
เด็กจึงเริ่มหันมาหาการยอมรับจากเพื่อนมากขึ้นเรื่อย
ๆ
และเมื่อโตขึ้นเรื่อย
ๆ
ก็จะเริ่มพึ่งพาครูและพ่อแม่น้อยลงไปทุกที
ถ้าเพื่อนที่โรงเรียนเป็นเพื่อนที่เรียนหนังสือ
เด็กก็จะถูกชักจูงและจูงใจให้เรียนหนังสือเพื่อที่จะยึดเพื่อนเอาไว้เป็นเพื่อนตน
แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเพื่อนเป็นพวกไม่ยอมเรียนด้วยกัน
และเป็นพวกที่ไม่พึงพอใจโรงเรียน
ทั้งหมดก็จะพากันเกลียดโรงเรียน
การที่จะทำให้พวกไม่เรียนหันกลับมาเรียนก็ต้องมีวิธีจัดการหาแนวทางที่เป็นไปได้เพื่อให้ทั้งสองกลุ่มเข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน
ในขั้นแรกอาจจะต้องใช้ความพยายามมากสักหน่อย
เนื่องจาก
เด็กทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันในด้านการเรียนและสังคม
แต่ถ้าการร่วมมือกันเรียนได้เริ่มขึ้นระดับการแยกตัวออกจากกันก็น้อยลงและจะเป็นตัวนำให้นักเรียนทั้งหมดทำงานด้วยกันได้
และเป็นเพื่อนกันมากขึ้น
นักเรียนที่ไม่เรียนส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่ามันน่าจะดีขึ้นถ้าจะสนใจเรียนมากกว่านี้
สิ่งหนึ่งที่จูงใจให้เรียน
คือ
การได้รับประกาศนียบัตรมากกว่าการได้ความรู้
แต่ก็ไม่ได้ความว่าเด็กเหล่านี้ไม่รู้ว่าการศึกษาก็มีคุณค่าเช่นกัน
เหมือนกับคนอ้วนที่รู้ว่าต้องลดน้ำหนักแต่ก็ไม่ยอมลดการกินอาหารเนื่องจากน้ำหนักไม่ได้ลดลงได้ทันทีอย่างน่าพอใจ
นักเรียนที่ไม่เรียนก็เพราะไม่เห็นผลประโชน์ของการเรียนที่ปรากฏให้เห็นออกมาอย่างน่าพอใจในทันทีทันใดไม่ว่าจะในหรือนอกชั้นเรียน
คนอ้วนก็จะไม่ยอมลดน้ำหนักแต่กลับเพิ่มน้ำหนักขึ้นมาเรื่อย
ๆ
นักเรียนที่เรียนไม่ทันก็จะเรียนล้าหลังไปเรื่อย
ๆ จะยากที่จะตามทันได้
แต่ถึงแม้ว่าจะได้ผลตอบแทนอย่างเพียงพอในทันทีและมีโอกาสที่จะได้แก้ตัวในการเรียน
พวกเด็กเหล่านี้ก็อาจมองเห็นคุณค่าของการศึกษาบ้าง
หรือ
อย่างน้อยประกาศนียบัตรก็ยังมีคุณค่า
บทเรียนที่ต้องเรียนรู้
และสิ่งที่ได้รับการสั่งสอนหรือคำแนะนำ
คือ
สิ่งที่เรียกว่า
ระบบการศึกษา
เป็นระบบที่เสี่ยงถ้าไม่มีการยอมรับในเรื่องการเรียนรู้ที่ว่า
ไม่มีใครสามารถกดดันให้นักเรียนเรียนได้ถ้านักเรียนไม่เชื่อว่าการเรียนจะทำให้ได้ในสิ่งที่ตนพึงพอใจ
โรงเรียนอาจสามารถที่จะบังคับให้นักเรียนอยู่ในโรงเรียนได้
ซึ่งโรงเรียนก็ได้กระทำกันอย่างสุดความสามารถอยู่แล้
แต่ความจริงก็คือ
โรงเรียนไม่สามารถทำให้เขาเรียนได้
เหมือนกับการที่ไม่มีใครสามารถบังคับม้าให้กินน้ำได้แม้ว่าจะกดหน้ามันให้อยู่ในถังน้ำก็ตาม
ปัญหาก็คือ
โรงเรียนอาจจะสนใจกับระเบียบมากเกินไป
โดยมักจะหาวิธีการว่าทำอย่างไรนักเรียนจึงจะทำตามกฏระเบียบแต่กลับไม่สนใจกับสิ่งที่ว่าจะทำอย่างไรให้การเรียนเป็นเรื่องที่น่าพึงพอใจ
โดยไม่ต้องไปสนใจมากนักกับระเบียบในการเรียน
นักเรียนที่ไม่เรียนก็เหมือนกับม้าที่จะต้องดิ้นเมื่อถูกจับให้กดอยู่ทีถังน้ำนานเกินไปและไม่อยากกินน้ำเพราะไม่หิว ระเบียบจะเป็นปัญหาต่อเมื่อนักเรียนถูกบังบังคับให้เข้าชั้นเรียนในชั้นเรียนที่พวกเขามองไม่เห็นความน่าพึงพอใจ
แต่จะไม่มีปัญหากับการเรียนในชั้นเรียนที่นักเรียนเชื่อว่าถ้าเขาพยายามที่จะเรียนก็จะได้รับความพึงพอใจตอบแทนทันที
การที่หันไปสนใจกับกฏระเบียบ
คือ การพยายามไม่สนใจกับปัญหาที่แท้จริง
โรงเรียนคงไม่สามารถทำให้นักเรียนหรือใครก็ตามอยู่ในระเบียบโดยดีได้
ถ้าวันแล้ววันเล่ามีแต่การบังคับให้เขาทำแล้วแต่ไม่เคยให้เขาได้พบกับสิ่งที่น่าพึงพอใจเลย
และถ้าโรงเรียนยืนยันในการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม
ๆ ต่อไป
ก็คงไม่มีรูปแบบการสอนที่น่าพึงพอใจแบบใหม่เกิดขึ้นมา
นับเป็นเวลานานมากที่เชื่อกันว่า
สิ่งเร้าและการตอบสนอง
เป็นข้อสรุปว่าสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นมนุษย์
หรือสัตว์สามารถจูงใจให้ทำงานได้
หรืออยู่ได้ในบริบทที่เราสามารถกระทำต่อเขามากกว่าที่จะเป็นการทำเพื่อเขา
โรงเรียนจึงนำทฤษฎีเช่นนี้มาใช้
ในเรื่องของระเบียบได้อย่างดี แต่การที่โรงเรียนได้นำทฤษฎีนี้มาใช้ในด้านกาจัดการเรียนการสอน
อาจทำให้เกิดสถานการณ์ที่เลวร้ายเพิ่มขึ้น
เพราะความพยายามที่จะกระทำต่อนักเรียนมากกว่ากระทำเพื่อนักเรียน
ตัวอย่างเช่น
โรงเรียนมักลงโทษนักเรียนมากกว่าที่จะให้รางวัล
โดยเฉพาะในโรงเรียนระดับมัธยม
ทั้ง ๆ
ที่รู้ดีว่าตามทฤษฎีควบคุม การให้รางวัลจะทำร้ายนักเรียนน้อยว่าลงโทษ
แต่ด้วยทฤษฎีสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
โรงเรียนมักจะเลือกองค์ประกอบที่มีการทำร้ายมากกว่า
ส่วนใหญ่โรงเรียนจะใช้ทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนองเพราะเชื่อว่านักเรียนที่เกเรต้องการหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดที่มาก
ๆ ถ้าเราพยายามขู่หรือทำให้เขาเจ็บมากพอ
เราก็จะสามารถบังคับให้เขาทำอะไรก็ได้ตามที่เราต้องการเนื่องจากความทรมานที่เกิดจากการลงโทษ
แต่ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นเท่านั้น
แต่มีหลักฐานที่ยืนยันอย่างชัดเจนว่า
การลงโทษไม่ได้เป็นแรงจูงใจระยะยาวสำหรับผู้ใด
แต่กลับเป็นสิ่งที่ยึดถือเป็นรูปแบบระยะยาวที่ต้องการให้มีในโรงเรียน
นักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนที่ไม่ยอมเรียนมักได้รับการทรมานอย่างมากจากการถูกขู่และการลงโทษแลก็มักจะได้สินบนจากทางบ้าน
โดยสัญญาว่าจะให้เงินหรือรถยนต์
หรือของขบัญที่เป็นวัตถุนิยมต่าง
ๆ
ซึ่งเป็นตัวคุ้มกันไว้อีกชั้นหนึ่ง
แต่มันก็เป็นสิ่งที่ดูว่ามีคุณค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับที่เราทำกับเขาหรือทำเพื่อเขามายาวนาน
เพื่อให้เขาเกิดการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลง
เพราะเมื่อการลงโทษค่อนข้างรุนแรง
แรงจูงใจภายนอกก็มักจะใช้ได้แค่เพียงระยะหนึ่ง
และเมื่อการลงโทษมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้น
ผู้ถูกลงโทษก็จะทำในสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพราะต้องการมีชีวิตรอด
แต่ก็คงเป็นการทำอย่างแกน
ๆ
แบบคนไม่มีหัวคิด ในเรื่องของการศึกษาไม่มีการลงโทษใดที่ทำให้นักเรียนเรียนได้ถ้าเขาไม่ต้องการเรียน
และเมื่อมีการให้รางวัลหรือลงโทษรุนแรงเขาอาจจะเพิ่มความพยายามมากขึ้น
แต่ในที่สุดแล้วเขาก็จะเรียนรู้ที่จะเกลียด
หรือเบื่อหน่ายกับการเรียน
ที่เขาไม่เคยเชื่อว่าเลยว่าน่าสนใจ
พ่อแม่ส่วนใหญ่และครูเชื่อว่า
ถ้าไม่นับแรงจูงใจแล้ว
ครูที่ดีจะสามารถสอนนักเรียนได้
แต่ครูก็จะต้องอยู่ภายใต้ข้อสรุปที่ว่านักเรียนทุก
ๆ
คนต้องการเรียนในสิ่งที่ครูสอนในชั้นเรียนเท่านั้น ครูบางคนอาจจะมีทักษะในการจูงใจดีกว่าครูคนอื่น
ๆ
แต่ไม่ว่าจะมีทักษะมากเพียงใด
ก็ยังไม่สามารถสอนนักเรียนได้ถ้านักเรียนไม่อยากที่จะเรียน และไม่ว่าเราจะอยากยอมรับกันหรือไม่ก็ตาม
มีนักเรียนจำนวนมากที่มาโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอแต่มีความปรารถนาเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยที่จะอยากเรียนในสิ่งที่สอนอยู่ในโรงเรียน
ความจริงก็ไม่ใช่ความผิดที่จะนำทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนองมาใช้เพื่อการควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เพียงแต่ว่าจะต้องนำมาใช้เพื่อควบคุมให้ได้พฤติกรรมการเรียนการสอนอย่างถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของการเรียน
สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายของทั้งผู้เรียนและผู้สอนซึ่งผลลัพธ์ก็คือความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย
การควบคุมให้ผู้เรียนได้รับความรู้สึกของความสำเร็จและรู้ว่าสามารถทำได้จะเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ความพึงพอใจที่จะได้รู้สึกเช่นนั้นอีกก็จะก่อให้เกิดความพยายามในครั้งต่อ
ๆ ไป
การให้ความรู้สึกที่ดีควบคู่กันไปด้วยก็เป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้เกิดขึ้นมากขึ้น
ดังนั้นเทคนิคในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับโรงเรียนเสมอถ้าต้องการได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีของนักเรียนและก่อให้เกิดความพึงพอใจในการจ้ดการเรียนการสอนทั้งสองฝ่าย
|