การศึกษาคุณลักษณะของครูผู้มีมนุษยสัมพันธ์ในยุคโลกาภิวัตน์
ผู้ศึกษาวิจัย
ผศ. ดร. สุภัททา
ปิณฑะแพทย์ และนักศึกษา คบ.
3 เอกคณิตศาสตร์
ปีที่ทำการศึกษา
ภาคเรียนที่1
ปีการศึกษา 2547
หลักการและเหตุผล
ยุคปัจจุบันเป็นยุคของข่าวสารที่กระจายอยู่ในทุกหนทุกแห่งการดำเนินชีวิตจำเป็นต้องมีการแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดในขณะเดียวกันความต้องการที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อทำงานในบทบาทหน้าที่ก็ยังมีความจำเป็น
การอยู่ร่วมกันแบบเกื้อกูลโดยไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งในบทบาทและหน้าที่ของตนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
การมองภาพของบุคคลที่ต้องทำหน้าที่เพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติให้สามารถเป็นคนดี
คนเก่งและมีความสุขจึงเป็นปรัชญาของการให้การศึกษา
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาเยาวชนของชาติซึ่งเป็นหน้าที่ร่วมกันของผู้เรียน
ครู และผู้ปกครองซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน
การทำงานที่ประสานกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ต่อกันเป็นอันดี
การศึกษาคุณลักษณะของการเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ในอาชีพครูจึงเป็นแนวทางเพื่อทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อกันที่สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
ในการศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
-
เพื่อเป็นการภาพรวมของความต้องการด้านความสัมพันธ์อันดี ระหว่างนักเรียน
ครู และผู้ปกครอง
-
เพื่อให้ได้กรอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการเป็นครูที่มีมนุษย์สัมพันธ์ดีในสายตาของสังคมในยุคโลกาภิวัตน์
-
เพื่อให้ครูสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่เหมาะสมกับอาชีพครู
-
เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการฝึกพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในด้านการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในบทบาทของครู
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
-
จากการศึกษากรอบคุณลักษณะของการเป็นครูผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจะทำให้ครูได้ตระหนักถึงคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ในบทบาทของครูกับผู้เกี่ยวข้อง
-
ได้ข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นแบบสำรวจคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ตามบทบาทของครู
-
ได้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการจัดฝึกอบรมให้ครูมีคุณลักษณะของผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่พึงประสงค์
การดำเนินการศึกษา
ขั้นตอนในการศึกษา
วิธีการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ จึงใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
โดยใช้การสัมภาษณ์ นักเรียน ครู และผู้ปกครอง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์
การศึกษาวิชามนุษย์สัมพันธ์นี้ ใช้กระบวนการ วิจัยเป็นพื้นฐาน
(Research – Based)
นักวิจัยหลัก คือ
ผศ. ดร. สุภัททา ปิณฑะแพทย์และนักศึกษาครุศาสตร์ วิชาเอก
คณิตศาสตร์ชั้นปีที่ ๓
กระบวนการทำการศึกษาค้นคว้า
-
นักศึกษาทุกกลุ่มได้เค้าโครงงานศึกษาค้นคว้าแบบย่อ
ขอให้ศึกษาเพื่อทำรายงานให้สมบูรณ์ได้ตามกรอบโดยใช้กลุ่มของตน
-
ให้ศึกษาค้นคว้า
ทฤษฎีและเอกสารอ้างอิงเพื่อให้ได้กรอบของการนำไปใช้วิเคราะห์
-
ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น ๕ กลุ่ม ตามความสมัครใจกลุ่มละ ๔ คน
จับฉลากเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเก็บข้อมูล ดังนี้
วิธีการศึกษา
ให้ใช้วิธีการสัมภาษณ์โดยการอัดเทป นำมาถอดเทป เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
หมายเหตุ
:
ข้อคำถามที่ออกแบบเป็นกึ่งโครงสร้าง
นักศึกษาต้องถามทุกข้อแม้ว่าบางข้อจะมีคำตอบที่ถูกพาดพึงไปแล้วก็ตาม
และให้ขยายคำถามออกเพื่อความต่อเนื่องและชัดเจนของข้อมูลยิ่งขึ้น
ให้นักศึกษาช่วยกันตั้งคำถามเพื่อนำไปใช้ ข้อคำถามในประเด็น
-
ท่านคิดว่าในปัจจุบันครูมีบทบาทและหน้าที่อะไร
-
ท่านคิดว่ามนุษย์สัมพันธ์มีความสำคัญต่ออาชีพครูอย่างไร
-
ให้ท่านบอกคุณลักษณะที่ทำให้รู้ว่าครูมีมนุษย์สัมพันธ์ดี มา อย่างน้อย ๑๐
ข้อและให้เรียงลำดับตามความสำคัญมากน้อย
นักศึกษาขอคำปรึกษาได้ตามตารางดังนี้
กลุ่มที่ ๑ และ ๒
วันจันทร์ เวลา ๑๕.๓๐ น. กลุ่มที่ ๓, ๔ และ ๕ วันอังคาร เวลา ๑๕.๓๐
น.ตารางวันพฤหัสเป็นตารางเพื่อการพบเพื่อปรึกษาหารือรวมและให้ข้อมูลการค้นคว้า
ถ้าอาจารย์ไม่สามารถพบนักศึกษาได้จะให้เวลาเพิ่มเติมด้วยการนัดพิเศษ
ในการทำงานชิ้นนี้จะนำไปสู่การวิเคราะห์ความรู้เพื่อการสอบไล่ด้วย
ต้องตั้งใจทำอย่างดีและต้องทำงานเป็นทีมอย่างร่วมมือกัน
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำบทสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แนวคิดและแปลความหมาย เพื่อนำมาสรุปรวมกัน
การส่งงาน
การจัดทำรูปเล่มส่ง รายงานเป็นกลุ่ม มีสรุปและข้อเสนอแนะของกลุ่ม
1
เล่ม
กลุ่มช่วยกันทำรายงานเป็นเล่มรวม สรุปและให้ข้อเสนอแนะของทั้งหมดแบบบูรณาการ
ของทั้งหมด 1
เล่ม |