สุภาษิตเพี้ยน
การพูดของคนไทยมักจะเป็นการแสดงออกถึงความเป็นนักภาษาศาสตร์
ไม่เชื่อคุณลองสังเกตดูการพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อนซิ
จะพบว่ามักจะมีการหยอดคำคม
ซึ่งอาจจะเป็นคำสุภาษิตหรือ
คำพังเพยมาใช้ควบคูไปกับการสนทนาด้วยเสมอ
เช่น
ในช่วงตอนที่สถาบันของฉันจะต้องมีการเลือกตั้งอธิการบดี
เพื่อเข้ามาบริหารงานของสถาบัน
ซึ่งก็มีหลายคนให้ความคิดกันต่าง
ๆ
กัน
เกี่ยวกับการเสนอชื่อผู้บริหารระดับสูงตำแหน่งนี้
จึงมีการจับกลุ่มวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่าง
ๆ
นานา
วันหนึ่งฉันบังเอิญเดินผ่านกลุ่มอาจารย์กลุ่มหนึ่ง
ได้ยินเขาพูดคุยกันเสียงแว่ว
ๆ
ว่า
พวกเรานี้จะเข้าข่าย
เป็นกบเลือกนาย
หรือเปล่านะ
อีกคนก็พูดต่อว่า
ไม่ลองไม่รู้
ไม่ดูไม่เห็น
อีกคนเสริมสติเพื่อนนักปฏิวัติว่า ช้าช้าได้พร้าเล่มงาม
อีกคนเห็นด้วยบอกว่า
ช้าเป็นงาน
นานเป็นคุณ
มีคนแย้งสุภาษิตนี้ใช่
ไดโนเสา
เต่าล้านปี
หรือเปล่า อีกคนไม่สนใจพูดต่อไปอีกว่า
เวลาไม่คอยท่า
แล้วมันเกี่ยวกันไหมเนี่ยะ
คนที่วิตกกังวลก็กล่าวว่า
เราอยู่ใน
ช่วง
หน้าสิ่วหน้าขวาน
มีเพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งเตือนว่าอย่าเอาชื่อแคนดิเดดอธิการมาเล่นกัน
รักดอกจึงหยอกเล่น
อีกคนในกลุ่มชักมัน
กล่าวต่อความอย่างสงสัยว่าจะ
พบไม้งามยามขวานบิ่น
ฉันว่าอาจารย์ท่านนี้คิดแปลก
ๆ
แต่ในวินาทีนั้นท่านอาจารย์คนหนึ่งก็หันขวับมาจิกใส่อย่างมีอารมย์ว่า
ไอ้
องุ่นเปรี้ยว
คนที่รู้ตัวรีบขออโหสิกรรมว่า ข้าน้อยขออโหสิ
ว่าแล้วก็เฮกันทั้งกลุ่ม สงสัยว่ามีอะไรในก่อไผ่แน่เลย
เพราะมีคนหนึ่งเปรยออกมาว่า
เจ้านี่มัน
แกว่งเท้าหาเสี้ยน
อีกคนก็เอออวย
แล้วกล่าวเสริมว่า
พูดดีเป็นศรีแก่ปาก
พูดมากปากจะมีสี
เพื่อนพูดต่อกันจนเป็นเรื่องเล่นเอาฉันเป็นงง
สงสัยว่ามันคงจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันหรือเปล่านะเนี่ย
แต่เนื่องจากเป็นเวลาที่ฉันจะต้องไปสอนพอดี
ก็เลยจำใจต้องออกจากการที่แฝงกายแอบฟังอย่างเสียดาย
ในขณะที่เดินนั้นฉันก็ให้นึกสงสัยว่าคนกลุ่มนี้เขาจะไม่พูดกันด้วยภาษาที่เป็นประโยคธรรมดากันบ้างหรือไงนี่
สงสัยจะเป็นพวกอาจารย์ที่สอนภาษาไทยแน่เลย
จะเห็นว่าการพูดคำประเภทนี้นั้น
ผู้พูดและผู้ฟังจะต้องเข้าใจสำนวนและการใช้จึงจะทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ซึ่ง
บางครั้งการพูดหรือการนำไปใช้ก็อาจทำให้เกิดการสับสนได้เหมือนกัน
เพราะเมื่อไม่นานมานี้พวกเราชาวชมรมกล้วยไม้
ก็เกือบจะถูกพิษภาษาเล่นงานเสียแล้ว
ในงานวันชุมนุมสังสรรค์
เมื่อวันก่อน
ฉันและเพื่อน
ๆ
ได้จัดงานเลี้ยงรุ่น
ชาวกล้วยไม้ชึ้น
คราวนึ้ปรากฏว่ามีเพื่อนฝูงไปร่วมชุมนุมกันมากเป็นพิเศษเพราะมีพรายกระซิบบอกมาว่า
ในงานนี้จะมีการแถลงข่าวใหญ่ของ
ยายอรศรีที่จะละทิ้งคานทองนิเวศน์เพราะได้เกิดไปปิ้งกับหนุ่มวัยใกล้เคียงคนหนึ่งเข้าที่ต่างประเทศที่ยายอรศรีได้ไปทัวร์ทัศนศึกษา
พร้อมกันนี้ข่าวยังแจ้งด้วยว่ายายอรศรีจะพาว่าที่เจ้าบ่าวมาเปิดตัวให้เพื่อน
ๆ
ได้พิจารณา
เพื่อเป็นการทดสอบว่าหนุ่มคนนี้จะสอบผ่านทำให้กลุ่มยอมรับเป็น
ชาวกล้วยไม้ด้วยหรือไม่ไม่รู้ว่ายายอรศรีเธอคิดถูกหรือคิดผิด
แต่ที่แน่
ๆ
เพื่อนเราคนนี้คงอยากให้เพื่อนในกลุ่มได้หมดห่วงในตัวเธอเสียทีในงานนี้
ทุกคนจึงเตรียมพร้อมที่จะพบกับความมันส์ที่จะได้ไล่ต้อนหนุ่มหลงคนนี้เสียให้สุด
ๆ
แต่พอเอาเข้าจริงแล้วผลกลับปรากฏว่าคนที่ถูกไล่ต้อนกลับเป็นพวกเราเสียฉิบ
เพราะพอคุยกันไปพอเพลิน
ๆ
เพื่อนคนหนึ่งซึ่งเป็นคนที่มักจะชอบพูดคำว่า
"อะไรล่ะ
ๆ"
เพราะความแก่นึกจะพูดอะไรก็พูดไม่ออกทำให้เคยปาก
ก็เลยได้รับคำพูดที่แสดงความห่วงใย
ด้วยท่าทีอันแสนจะสุภาพอ่อนโยนและหวังดีว่า
“คุณคง
ฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียด
ใช่ไหมครับ”
เล่นเอาเพื่อนฉันเกิดอาการ
ตาเหลือกอ้าปากค้าง
หุบปากสนิทไปเลย
ก็จะไม่ให้เกิดอาการเช่นว่านี้ได้อย่างไร
ก็สำนวนนี้มันว่ากันชัด
ๆ
แต่เพื่อนคนอื่น
ๆ
ก็ได้แอบขอบคุณ
หนุ่มหลงคนนี้ในใจ
เพราะรำคาญแม่คนนี้อยู่เหมือนกัน
พูดอะไรก็นึกไม่ออก
แล้วยังอย่างเล่าอีก
สมน้ำหน้าเจอคนปราบเสียบ้าง
แต่หนุ่มหลงคนนี้ยังได้แสดงอภินิหารในการใช้ภาษาอย่างดุเดือดต่อไปอย่างที่เรียกว่า
เชือดนิ่มและนุ่ม
ๆ
นั่นแหละ
เพราะไม่ทันไรก็มีเพื่อนฉันที่ยังเป็นสาวโสดคนหนึ่งโกรธแบบหน้าดำหน้าแดงวิ่งมาเล่าให้ฉันฟังอย่างละล่ำละลักว่า
"คนบ้าอะไรก็ไม่รู้
เธอดูซิ
ไอ้เราหรือเห็นว่าเป็นคนใหม่พลัดเข้ามากลัวว่าจะเกรงใจก็เลยอุตส่าห์เข้าไปเพื่อที่จะแสดงความมีน้ำใจไมตรี
ด้วยการพูดว่า
“รับประทานมาก
ๆ
นะคะ
ไม่ต้องเกรงใจ
แฟนยายอร
ย้อนถามฉันกลับมาว่าอย่างไรรู้ไม๊เธอ
เขาถามฉันกลับมาว่า” “คุณคงอยากให้ผมเป็น
พระยาเทครัวใช่ไหมครับ”
เพื่ออรรถาธิบายต่อ
“ฉันฟังแล้วจะบ้า มันเห็นฉันไปให้ท่าหรืออย่างไร” เพื่อนของฉันแหลต่ออีกว่า
“กลัว
ยายอรศรีจะถูกหลอกเอาเมื่อแก่
อุตส่าห์ถนอมเนื้อถนอมตัวมาจนป่านนี้จะมาโดนกินไข่แดงเสียละน้า”
แต่เพื่อนก็บอกว่า
มันก็ชอบกลอยู่เหมือนกันนา
เวลาเขาพูดท่าทางเขาสุภ๊าพสุภาพ
มันดูยังไง
ๆ
อยู่
หรือหนุมหลงคนนี้ประสาทไม่ดี
จากการที่เป็นผู้รักและหวังดีต่อเพื่อนเป็นอันมาก
ด้วยเกรงว่าน้ำตาจะเช็ดหัวเห่าเหี่ยว
ๆ
เพราะไปเจอเจ้าชู้ยักษ์รักไม่เลือกเข้าให้แล้ว
ในที่สุดที่ประชุม
ส
เสือ
ใส่
เกือก
ก็ได้ตกลงว่าจะต้องพยายามให้ยายอรศรีเพื่อนรักได้รู้พฤติกรรมอันไม่ชอบมาพากลนี้ก่อนที่จะสายเกินแก้
ทุกคนจึงพร้อมใจกันขอเวลานอก จัดการให้อรศรีได้เข้ามารับทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเพื่อน
ๆ
ก็ชิงกันเล่าจนฟังไม่ค่อยจะได้ศัพท์จนเหนื่อยหมดแรง
ฝ่ายอรศรีก็เอาแต่หัวเราะชอบใจ
จนเพื่อน
ๆ
พากันสงสัยว่าสงสัยจะเพี้ยนไปด้วยกันเสียแล้ว
แต่ในที่สุดทุกคนก็ถึงบางอ้อ
เพราะความจริงมีอยู่ว่าหนุ่มหลงท่านนี้
ท่านเป็นคนไทยที่ไปเรียนยังต่างประเทศตั้งแต่เด็ก
ๆ
ภาษาไทยนั้นพออ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
แต่พอพูดได้
เขาฝึกภาษาด้วยการจำเอามาพูดบวกกับการใช้วิจารณญาณที่มีอยู่
ดังนั้น
คำว่าพระยาเทครัวนั้น
ท่านหมายความว่า
จะให้กินจนหมดครัวเชียวหรือ
ซึ่งท่านก็บอกอย่างภาคภูมิใจพร้อมทั้งทำตาหวานกับยอดยาหยีอรศรี
เป็นเชิงอวดว่า
"ผมก็รู้เรื่องภาษาไทยดีพอตัวเชียวนะ
ไม่อดหยากปากแห้ง
จนไม่ได้พูดหรอกจะบอกให้"
พวกเราจึงได้รู้ว่าท่านไม่ได้มีเจตนาเป็นอย่างที่เพื่อนหญิงชาวกล้วยไม้โสดของเรากล่าวหา
เมื่อการณ์กลับเป็นเช่นนี้คนโดนรุมสวด
ก็คือแม่เพื่อนตัวดีที่
คิดลึกคิดซึ้งไม่เข้าเรื่อง
ทำเอาเพื่อน
ๆ
พลอยคิดอกุศลไปด้วย
ทีหลังหัดแปลเพี้ยน
ๆ
เสียบ้างก็ได้อยู่หรอก
เหตุการณ์เช่นนี้ก็เคยเกิดกับฉันเช่นกัน เพื่อนร่วมงานของฉันคนหนึ่งเธอจบการศึกษามาจากต่างประเทศ
มาปรารภกับฉันในเรื่องต่าง
ๆ
พร้อมกันนี้เธอขมวดท้ายว่า
"ทำไมคนเรา
จึงชอบ
บอกเก้าเล่าสิบ
ทั้ง
ๆ
ที่ไม่ใช่เรื่องของตัว
เมื่อฟังเธอพูดแล้ว
ฉันต้องย้อนถามเพื่อให้เธออธิบายความหมายให้ชัด
ๆ
อีกที
เธออธิบายว่า "ก็รู้แค่เก้า
แล้วชอบเอาไปเล่าต่อเป็นสิบล่ะ ตีไข่ใส่สีเสียเละ
จนแทบจะทะเลาะกันตาย
คนมีเรื่องกันก็เพราะไอ้พวกนี้
มือถือสากปากถือครกนี่แหละพี่"
เมื่อฉันได้ฟังคำบรรยายแล้ว
ก็ทำให้เกิดความคิดคล้อยตามและเห็นว่าเข้าท่าเหมือนกันแฮะ
และความจริงแม้เธอจะแปลงสาร
แต่เธอก็ได้ใช้เพื่อความหมายที่เธอต้องการทั้งยังฟังดูดีได้ความหมายที่สอดคล้องกันเป็นอย่างดีด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม
ด้วยความเป็นครู
เมื่อเธออารมณ์ดีขึ้น
ฉันจึงค่อย
ๆเลียบเคียงถามเธอว่า
เคยได้ยิน
คำกล่าวที่ว่า
บอกเล่าเก้าสิบ
ไหมซึ่งเธอก็เลยย้อนถามฉันแบบงงว่า
"มีด้วยหรือพี่หนูไม่ยักกะรู้
"
ฉันต้องค่อย
ๆ
อธิบายให้เธอฟังด้วยเกรงว่าเธอจะออกอาการรู้สุภาษิตขึ้นมาอีก
แล้วฉันจะเน่าโดยที่เธอไม่ได้ตั้งใจ
ในที่สุดเมื่อเธอเข้าใจดีแล้วเธอก็รีบถามฉันว่า
“พี่
แล้วหนูผิดไหมที่เอาคำพูดของเขามาแปลงใช้”
เธอคงจะหมายถึงกฎหมายลิขสิทธิ์กระมัง
ฉันจึงตอบเธอว่า
อย่าไปกังวลกับมันเลยแต่พยายามใช้ให้ถูกหน่่อยก็จะดี
เพราะภาษาเป็นสิ่งมีชีวิต
มีความเปลี่ยนแปลงได้
การเกิดของคำในภาษาจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
แต่คำสุภาษิตพังเพยที่แต่งขึ้นมาใหม่นี้ก็อาจจะมีคนนำไปใช้ในโอกาสต่อไปก็ได้
แต่ควรต้องสร้างสรรค์
ในกรณีนี้ฉันได้ให้กำลังใจว่าเธอคือผู้หนึ่งที่ได้สร้างคนพังเพยขึ้นมาบนฐานของภาษาเดิม
เธอยิ้มอย่างอาย
ๆ
แล้วบอกว่า "หนูไม่สงวนลิขสิทธิ์หรอกค่ะถ้าจะมีผู้ใช้ตามบ้าง"
"ขอบคุณค่ะ"
ฉันตอบเพราะฉันเองก็นึกสนุกอยากจะนำไปใช้ด้วยเหมือนกัน
|