ดร.สุภัททา ปิณฑะแพทย์

Dr.Supatta Pinthapataya

email: supattapin@yahoo.com







การจัดการชั้นเรียนคุณภาพ

 

หน่วยที่ 1 บทนำ

ทุกคนต้องรู้จักคำว่าห้องเรียนและชั้นเรียนและเคยใช้มาก่อนในอดีต แม้ในปัจจุบันจะมีการบัญญัติศัพท์คำอื่นมาใช้ เช่นห้องเรียนรู้ ห้องจัดการเรียนการสอน แต่คำว่าชั้นเรียนและห้องเรียนก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ และใช้แทนกันบ้างในบางครั้ง ความจริงแล้วคำว่าชั้นเรียนเป็นคำที่มีความหมายกว้างกว่าคำว่าห้องเรียน เพราะห้องเรียนเป็นเพียงสถานที่ที่จัดไว้สำหรับการเรียน ส่วนชั้นเรียนนั้นมีผู้เรียนที่ถูกกำหนดระดับของผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นบริบทรวมอยู่ด้วย ทั้งยังมีการคาดหวังว่าต้องเกิดสถานการณ์ที่ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่พึงประสงค์และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการเรียนด้วย ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงชั้นเรียนก็จะนึกถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานที่หนึ่งหรือบริเวณหนึ่งที่มีผู้เรียนและผู้จัดการการเรียนทำกิจกรรมร่วมกันจนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ การจัดการชั้นเรียนที่มีคุณภาพนอกจากจะวัดได้จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นที่พึงประสงค์และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ยังต้องวัดระดับประสิทธิภาพของกระบวนการกิจกรรมที่ดำเนินมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการประเมินผล รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาด้วย การจัดการชั้นเรียนเป็นการประมวลความรู้ในด้านต่าง ๆ ของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้เกิดคุณภาพ ผู้จัดการชั้นเรียน จึงเป็นนักออกแบบการเรียนการสอน และออกแบบในเชิงสถาปนิกด้วย การจัดการชั้นเรียนคุณภาพต้องก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้ถึงคุณประโยชน์ที่ตนได้รับ

ศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อการจัดการชั้นเรียนได้แก่ หลักการสอน การพัฒนาการ การให้คำปรึกษาและแนะแนว สุขภาพจิต สุขอนามัย วิศวกรรมการออกแบบ และหลักการและทฤษฎีทางปรัชญา และจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์เหล่านี้ เช่น ปรัชญาการศึกษา ตรรกะแห่งความคิด ชีวิตและโลก  จิตวิทยาทั่วไป จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ  จิตวิทยาสังคม การแนะแนว  เป็นต้น เพราะศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้จัดการชั้นเรียนมีความรู้ในธรรมชาติผู้เรียน มีฐานความคิดเกี่ยวกับผู้เรียนในลักษณะเอกัตตบุคคที่มีความยืดหยุ่นและสามารถพัฒนาได้ และเป็นไปตามธรรมชาติมากกว่าการมองผู้เรียนในลักษณะเป็นกลุ่มและยึดติดกับความคิดเดิม ๆ แบบตายตัว หรือมองเห็นผู้เรียนเป็นวัตถุสิ่งของ เครื่องจักร การคิดเช่นนี้จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนหรือได้แนวทางที่ผิดและบิดเบือนธรรมชาติของความเป็นมนุษย์ ปรัชญา Ontology (The nature of the world and systems) ซึ่งกล่าวถึงธรรมชาติในโลกนี้และระบบที่เป็นอยู่ทางธรรมชาติ การรู้ว่าผู้เรียนคือมนุษย์ที่มีธรรมชาติและระบบที่กำหนดไว้แล้ว และวิธีการมองมนุษย์ให้สอดคล้องกับธรรมชาติด้วยปรัชญา Epistemology (The way to view the world) ก็จะช่วยกำกับแนวความคิดและการปรับเปลี่ยนมุมมองได้

ถ้าผู้จัดการชั้นเรียน คือ ครู การมองความต้องการในเชิงธุรกิจและเศรษฐศาสตร์โดยพิจารณา ความต้องการของตลาด (Demand) พบว่า ความต้องการครูยังมีอยู่เรื่อย ๆ ครูจึงเป็นสินค้าที่ตลาดต้องการ แต่เป็นความต้องการแบบมีก็ได้หรือแบบจำเป็นต้องมีก็ได้ ข้อคิดสำหรับครู คือ ครูต้องการเป็นสินค้าที่ใช้สินค้าอื่นมาแทนได้ (Elastic) เช่น เครื่องสำอางค์ ท่องเที่ยว เป็นต้น หรือ เป็นสินค้าที่ไม่สามารถใช้สินค้าอื่นแทนที่ได้ (Inelastic) เช่น อาหาร ยา เป็นต้น ดังนั้นครูจึงต้องสร้างคุณภาพให้แก่ตนเองให้ตลาดมองเห็นว่าเป็นผู้สามารถควบคุมสินค้าอื่น ๆ ที่เป็นนวัตกรรมต่าง ๆ และองค์ประกอบในจัดการชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิดคุณค่าเพิ่มจนไม่มีสินค้าอื่นใดจะมาแทนที่ได้   

ตราสัญญลักษณ์ CARPETS (ธนาคารกรุงไทย, ปฏิทิน 2551) ซึ่งเป็นนำเสนอบรรษัทภิบาล เมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความเป็นครูทำให้เห็นภาพที่เป็นคุณลักษณะของความเป็นครูได้

                C = Creation of long term value การสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่กิจการในระยะยาว เช่น คิดค้นกิจกรรม ออกแบบการสอน สร้างสรรค์อุปกรณ์เครื่องมือ เป็นต้น

                A = Accountability การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าทั้งภายในและภายนอกรวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้เรียน เพื่อนร่วมอาชีพ ผู้ปกครอง ชุมชน เป็นต้น

                R = Responsibility รู้หน้าที่ รับผิดชอบให้งานสำเร็จ ยึดหลักอิทธิบาท 4

                P = Promotion นำเสนองานที่เป็น Best Practice เพื่อประโยชน์แห่งตนและผู้อื่น ด้วยจิตธรรม พรหมวิหาร 4

E = Equity มีความเสมอภาค ยุติธรรม   ยึดมั่นในคุณธรรม

T = Transparency โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดมั่นในหลัก

แห่งความจริง

                S = Social & Environment Awareness เป็นผู้นำที่เข้าใจสิ่งแวดล้อมตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสังคมและประโยชน์ของสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ครูที่สามารถพัฒนาตนเองและมีหลักคิดที่สอดคล้องกับตราสัญญลักษณ์นี้ก็จะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะของสินค้าอันเป็นที่ต้องการในการจัดการศึกษา ให้เกิดจิตศรัทธาว่า ครู คือ ผู้นำทางปัญญา ศีลธรรมและสังคม ดังปรัชญาที่กล่าวว่า  

 

            ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม นำสังคม คือ ความเป็นครู

 

หน่วยที่ 2 ความสำคัญของผู้เรียน

           2.1 การจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียน

           โรงเรียนได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นแหล่งเผยแพร่ประสบการณ์ด้านความรู้ให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ แนวคิดของการศึกษาซึ่งให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน ดังนี้ 1. เป็นสิทธิของประชาชนผู้เรียนตามรัฐธรรมมูญ (It is a right.) 2. เป็นหน้าที่ของรัฐ (It is a state responsibility.) ที่ต้องจัดการและให้บริการประชาชนผู้เรียน 3. ไม่ใช่สินค้า หรือการค้า (It is not a commodity.) การศึกษาจัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์สูงสุด 4. สำหรับทุกคนไม่เลือกชั้นวรรณะ (It is and should be for all.) ผู้เรียนมีความเท่าเทียมกัน ไม่มีการกีดกันทางการศึกษา 5. เป็นวิทยาศาสตร์ อิสระ วิจารณญาณ และสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่คนส่วนมาก (It is and should therefore be scientific, liberating, critical and oriented to benefit the many.)  

           การจัดการศึกษาจึงต้องจัดให้มีการบริหารจัดการอย่างมีระบบ เรียกว่าระบบการศึกษา ที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก คือ หลักสูตร ผู้สอน และผู้เรียน และเรียกกระบวนการหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการบูรณาการองค์ประกอบเหล่านี้ว่า กิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยยึผู้เรีนเป็นศูนย์กลางและให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนเป็นอันดับแรก

E

 

T

 
 


               

 

 

T : Teacher as Facilitator

S : Students as Active Learners

{(T - S) – P } : Instructional Process, Performance

P : Development, Learning, Thinking, Attitude

O – A: Outcomes Measurement & Evaluation

 

TEACHING & LEARNING

 

จากภาพแผนภูมิ แสดงให้เห็นว่า ครู คือ ผู้กระตุ้นที่อยู่วงนอกของการปฏิบัติการเรียนรู้ คอยดูแลกระตุ้นเตือน สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม สร้างองค์ความรู้ ในขณะที่นักเรียน คือ ผู้ปฏิบัติการ ค้นหา แสวงหา คิด วิเคราะห์เพื่อให้ได้องค์ความรู้ จึงมีพฤติกรรมทั้งครูและนักเรียนร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ สิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนจึงมีทั้งพฤติกรรมภายของครูและทั้งเรียนทั้งที่เป็นพฤติกรรมภายนอก เช่น การพูดบรรยาย อธิบาย ซักถาม  อภิปราย การจดบันทึก และอื่น ๆ ส่วนพฤติกรรมภายใน ได้แก่ อารมณ์และความรู้สึกนึกความคิด การคิดวิเคราะห์ ความอยากรู้ ที่ทำให้การเรียนการสอนในชั้นเรียน มีความสนุกสนาน พึงพอใจ หรือน่าเบื่อ หรือมีความสุข ซึ่งมีผลต่อความราบรื่นและความสำเร็จของการจัดชั้นเรียนของครู

                2.2 หลักการทำความรู้จักผู้เรียน

     การที่ครูทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นผู้เรียนให้ปฏิบัติการจนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สิ่งที่สำคัญ คือ ครูต้องรู้จักผู้เรียนและมีเจตคติเชิงบวกต่อผู้เรียนเป็นฐาน ฐานความคิดเชิงบวกของครูต่อผู้เรียนมีความสำคัญต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

                 2.2.1 การพิจารณาฐานความคิดเบื้องต้นของครูต่อนักเรียน

1)        ผู้เรียนแต่ละคนมีเอกลักษณ์

2)        ผู้เรียนมีพัฒนาการต่างกัน

3)        ผู้เรียนต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียน

4)        ผู้เรียนมีข้อมูลส่วนตัวที่ซับซ้อนและไม่ตายตัว

5)        ผู้เรียนต้องการผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เป็นบวก

6)        ผู้เรียนต้องการครูที่มีจรรยาบรรณต่อผู้เรียน

                         2.2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยฐานความคิดเบื้องต้น

            1) ปัจจัยเกี่ยวกับตัวครู

                                                       1.1) รักและศรัทธาในอาชีพ

                                                       1.2) รู้จักตนเอง

                                                         1.3) รู้จักควบคุมตนเอง

   2) ปัจจัยเกี่ยวกับผู้เรียน

       2.1)  ด้านกายภาพ

2.2) ด้านอารมณ์และสังคม

                                                                2.3) ด้านการรับรู้และการเรียนรู้

การรู้จักผู้เรียนอาจทำได้เป็นรายบุคคล หรือ เป็นกลุ่ม ด้วยข้อมูลด้านประชากร และอัตชีวประวัติ เช่น เพศ ช่วงชั้น ชั้นเรียน สติปัญญา                ความประพฤติ สถานภาพ ความคิด ความต้องการ ฯลฯ

                2.3 วิธีการทำความรู้จักผู้เรียน

                          2.3.1 ด้วยวิธีการธรรมชาติ สอบถามจากเพื่อนพูดคุยสนทนา เยี่ยมบ้านการรวบรวมข้อมูลเช่นนี้จะสร้างความคุ้นเคยกันได้ดี

                           2.3.2 ด้วยวิทยาการทางวิจัย ศึกษารายกรณี รายบุคคล รายกลุ่ม ใช้วิธีการตาสง ๆ เช่น             

1)  สังเกต จดบันทึก ในด้านความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้า การแต่งกาย การเจริญเติบโตทางกาย สภาพจิตใจ อากัปกิริยา พฤติกรรมการเรียน มาเรียน ส่งงาน การตอบ พฤติกรรมทางสังคม การเล่น การพูดคุย

                                        2) สัมภาษณ์ พูดคุย ซักถาม สนทนา ทักทาย ซักถามเรื่องราวต่าง ๆ

ขอความคิดเห็น

3) สำรวจ - แบบสอบถาม ทดสอบ

                        แบบสอบถาม มีระดับเสกล จัดอันดับ

                                                                 5 4 3 2 1 

ใช่   ไม่ใช่

เลือก สังคมมิติ

แบบทดสอบ มีตัวเลือก หรือแบบไม่มีตัวเลือก

ถูก   ไม่ถูก

4 ตัวเลือก

จับคู่

                แต่อย่างไรก็ตามทุกวิธีย่อมต้องมีข้อดีข้อเสีย ดังนั้นการเลือกใช้วิธีการใดขึงต้องให้มีความเหมาะสมและได้ประโยชน์ตามความต้องการ

 

หน่วยที่ 3 ภาระงานและการพัฒนาสมรรถนะของครู

3.1 ภาระหน้าที่ (Job Description) ของงานครู

ภาระงานในอาชีพหมายถึงหน้าที่การทำงานที่ต้องพึงปฏิบัติในอาชีพที่กำหนด อาชีพครูถือได้ว่าเป็นอาชีพที่ต้องการความชานาญและเชี่ยวชาญในการปฏิบัติดังเช่น อาชีพแพทย์ วิศวกร หรือทนายความ เพราะ เป็นหน้าที่ต้องพัฒนาคนให้เป็นประชาชนที่มีคุณภาพของสังคมและเตรียมพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่งานในอาชีพต่าง ๆ มีผู้กล่าวถึงภาระงานในหน้าที่ของครูในฐานะผู้สร้างสังคมว่า ครู คือ วิศวกรสังคม ภาระงานหลักในอาชีพครู ได้แก่

       สอน เป็นหน้าที่หลักของครูที่ต้องบอกความรู้ที่มีอยู่เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นพื้นฐาน ความรู้ที่ถ่ายทอดเป็นความรู้เชิงประจักษ์และความรู้ฝังลึกที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์ นอกจากนี้การสั่งสอนอบรมก็เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่ครูต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง ด้วยหลักการและทฤษฎีที่เหมาะสม

      วิจัยปฏิบัติการ การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อทดลองปฏิบัติการตามแนวคิดและหลักการตามทฤษฎีเพื่อแก้ไขปัญหา หรือเพื่อเพิ่มการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

      บริการวิชาการ เป็นการให้ความรู้และแสวงหาความรู้เพื่อช่วยเหลือสังคม เสนอแนะความรู้ให้แก่สังคมให้ได้รับความรู้ตามที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

      บริการ/บริหารจัดการ เป็นการบริหารหลักสูตร การจัดการเรียนรู้การบริหารชั้นเรียน รวมทั้งการบริหารด้านการเรียนการสอน

3.2 การจัดการความรู้ (Knowledge Management) สำหรับครู  

ความรู้และสมรรถนะของความเป็นครูได้มาจากการได้รับการศึกษาและได้ฝึกฝนเพื่อชำนาญการในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู มีมาตรฐานที่เป็นหลักสูตรทางการศึกษา ซึ่งมีลักษณะที่เป็นอิสระทางวิชาการ การพัฒนางานในอาชีพเกิดจาก การได้รับการความรู้ในระบบการศึกษา ได้รับการฝึกอบรม พัฒนา ศึกษา ดูงาน มีการปฏิบัติจริงในงาน สามารถการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในปัจจุบันการจัดการความรู้ มีความสำคัญสำหรับทุกองค์การโดยเฉพาะองค์การด้านการศึกษามีจำเป็นอย่างยิ่งในพัฒนาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้เป็นแหล่งแรก (Learning Organization) การจัดการความรู้จะทำให้ได้เกิดการโฆษณาประชาสัมพันธ์รูปแบบการเรียนการสอน หรือกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ได้รับการทดลองปฏิบัติแล้วเป็นเลิศ ให้เกิดการถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งสู่บุคคลหนึ่งเพื่อนำไปคิดค้นต่อยอดและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

แนวทางในการจัดการความรู้สำหรับครูมีหลายทาง เช่น         1) ศึกษาด้วยตนเอง โดยการค้นหาจากเอกสารตำรา ค้นคว้าด้วยวิธีการเชิงวิจัย เช่น วิจัยในชั้นเรียน การทดลองภาคสนาม หรือการใช้การสังเกตแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 2) ศึกษาจากวิธีปฏิบัติของครู การพูดคุย อภิปราย และเรื่องเล่าของครูที่ประสบความสำเร็จซึ่งเป็นแนวทางที่นักวิจัยได้ค้นพบว่า มีประสิทธิภาพเพราะเป็นการถ่ายทอด ประสบการณ์ที่เป็นความรู้ฝังลึกจากผู้รู้ผู้ชานาญการโดยตรง

สำหรับความหมายของการจัดการความรู้ คือ การรวบรวมวิธีปฏิบัติขององค์การโดยผู้ปฏิบัติงาน (ธนาคารโลก, 2548) นำความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลและองค์การมาแบ่งปัน ถ่ายทอด ดัดแปลง จัดระบบ เผยแพร่ จัดเก็บ และใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มคุณภาพของคนสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่สอดคล้องกับทิศทางขององค์การ (กุญชรี ค้าขาย, 2551) การจัดการความรู้จึงมีเป้าหมายพัฒนางานและคน (วิจารณ์ พานิช, 2548)

เครื่องมือในการรวบรวมความรู้มีรูปแบบหลากหลาย เช่น  การสนทนา (Dialogue) ซึ่งการพูดคุยกันในองค์การเป็นเรื่องปกติสามัญแต่ในบทสนทนาอาจมีความรู้สอดแทรกลงไป ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งเมื่อพูดคุยกันในเรื่องการมาทำงานที่ยากลำบากเนื่องจากมีการขุดถนนแถวบ้าน ทำให้โยงไปถึงเรื่องที่นักศึกษาไม่มาส่งงานวิจัยและเรื่องการเขียนวิจัยที่ไม่ร้อยเรียงกัน คำพูดของเพื่อนที่กล่าวว่าการเรียบเรียงวรรณกรรมที่ทบทวนมานั้นเปรียบได้เหมือนการร้อยมาลัย ต้องคัดต้องกรองประเภทและขนาดของดอกไม้และร้อยเรียงให้ได้ขนาดพอเหมาะ เจาะจงประเภทของดอกไม้ตามที่ได้ออกแบบไว้ การสนทนากลายมาเป็นการได้รับความรู้ฝังลึกที่เป็นหลักการการเขียนงานวิจัยของเพื่อนจากการสนทนาโดยไม่ตั้งใจ เป็นต้น ในบางครั้งการสนทนาอาจเกิดขึ้นเป็นกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ การสนทนากลุ่มแบบไม่เป็นทางการนี้ กุญชรี ค้าขาย (2551) เรียกว่า วงสภากาแฟ (Knowledge Café) ก็พบว่า ได้ความรู้แฝงอยู่ในการสนทนานั้นด้วย ความรู้จากวงสภากาแฟนี้ส่วนมากจะเป็นความรู้ที่ผู้ร่วมสนทนาต้องนำมาวิเคราะห์แยกแยะและบูรณาการด้วย การจัดมุมกาแฟเพื่อสังสรรค์กันในกลุ่มผู้ทำงาน ก็จะเกิดการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระดมความคิดในการทำงาน ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นการจัดการความรู้ได้วิธีหนึ่ง

ในบางครั้งการลักษณะการทำงานแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน  (Peer Assist) ก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการปรึกษาหารือกันทำให้เกิดความคิดและแนวปฏิบัติใหม่ ๆ เช่นเดียวกันกับ การสอนงานหรือการดูแลช่วยเหลืองาน (Coaching or Mentoring)

สำหรับเครื่องมือการจัดการความรู้ที่มีการใช้ศัพท์ในเชิงวิชาการ เช่น ชุมชนผู้ปฏิบัติ  (CoP = Community of Practices) หมายถึง การรวมตัวกันของผู้ที่จะทำงานเดียวกัน การเล่าเรื่อง ที่เป็นเรื่องราว (Storytelling) เรื่องเล่า เป็นการบอกเล่าวิธีทำงานที่เคยทำและเกิดผลสำเร็จ ที่เป็นเรื่องจริงโดยเล่าเป็นเรื่องสั้นๆ มีชื่อเรื่อง ความนำ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเคล็ดลับและผลที่เกิดขึ้น ส่วนการถอดบทเรียน (Lesson Learned) เป็นการนำความรู้ที่ได้รับการบอกเล่ามาเขียนเป็นบทเรียน ทำให้เกิดบทเรียนที่เป็นความรู้ฝังลึกจากวิธีการทำงานจริงที่ทำสำเร็จลุล่วงไปแล้ว การถอดบทเรียนเช่นนี้จะได้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงบันทึกไว้เพื่อเป็นประสบการณ์องค์การและใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานครั้งต่อไป การถอดความรู้ฝังลึกจะมีลักษณะกระบวนการสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจง (Focus Group) ที่เป็นผู้รู้และชำนาญการอย่างเป็นทางการ ส่วนการถอดความรู้ฝังลึกจากผู้ปฏิบัติก่อนเคลื่อนย้ายงาน (Exit Interview) ก็เป็นการจัดการความรู้ที่สำคัญเพราะไม่เช่นนั้นความรู้ขององค์การก็จะติดตัวบุคคลไปโดยไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์

ส่วนกระบวนการจัดการความรู้ที่เป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในการศึกษาในประเทศไทยมีหลายวิธี เช่น รูปแบบกระบวนการจัดการความรู้ของสำนักงาน กพร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2548) รูปแบบกระบวนการจัดการความรู้ไข่ทั้งฟอง ( LKASA Egg Model) ของโรงพยาบาลบ้านตาก (ฉวีวรรณ ลิ่มสกุล, 2548)  รูปแบบกระบวนการจัดการความรู้ปลาทู (สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อสังคม สคส., อ้างถึงใน ดาวรัตน์ กิตินิรันดร์กูล, 2551) ซึ่งแต่ละกระบวนการมีรูปแบบและวิธีการตลอดจนขั้นตอนที่ต้องศึกษาเพื่อให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพ ปัจจัยนำออกหรือผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดการความรู้อาจเป็น นวัตกรรม เช่น กระบวนการหรือวิธีปฏิบัติงาน หรือ ผลผลิต เช่น ผลิตภัณฑ์ ที่เป็นชิ้น จับต้องได้

การบันทึกความรู้เพื่อเก็บไว้เป็นคลังความรู้ มีการจัดเก็บในหลายรูปแบบ เช่น เก็บฐานความรู้แบบข้อมูลบันทึกโดยจัดทำเป็นเวบไซด์ เอกสาร วารสาร แฟ้มงาน บันทึกรายกรณี  รายงานกรณีศึกษา บันทึกเป็นผังงาน ความหมายและคำจำกัดความและคู่มือปฏิบัติงาน (Dictionary, Manual) เป็นต้น

                การจัดทำคลังข้อมูลอาจทำในรูปแบบทำเนียบผู้ชำนาญในด้านที่องค์การต้องการเพื่อเป็นประโยชน์ในการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารเพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำโดยตรง ซึ่งทำให้สามารถซักถามได้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication)

 

หน่วยที่ 4 องค์ประกอบของชั้นเรียน

องค์ประกอบของชั้นเรียนมีความหลากหลายตามแนวความคิดของนักการศึกษาซึ่งขึ้นอยู่กับการจำกัดความหมายของคำว่าชั้นเรียน Parsons, Hinson& Sado-Brown (2001 Cited in กุญชรี ค้าขาย, 2551) ได้กล่าวถึงความหมายของการจัดชั้นเรียนว่า เป็นกระบวนการกระทำและการตัดสินใจใด ๆ ในอันที่จะอำนวยความสะดวกในกระบวนการเรียนรู้สร้างบรรยากาศการเรียนเชิงบวกและปราศจากพฤติกรรมที่รบกวนกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมีความแตกต่างไปจากความหมายของการจัดการชั้นเรียนในอดีตที่มีภาพลักษณ์เชื่อมโยงกับการควบคุมพฤติกรรมให้อยู่ในระเบียบวินัยของห้องเรียน (กุญชรี ค้าขาย, 2551) ซึ่งครูเป็นผู้กำหนดไว้ เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขให้โรงเรียนคือสถานที่อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย ในปัจจุบันมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดการชั้นเรียนให้เป็นไปในด้านการสร้างลักษณะนิสัยที่สอดคล้องกับวัยหรือช่วงชั้นเรียนและความรู้ด้านวิชาการหรือหลักสูตรที่กำหนดไว้ในแต่ละช่วงชั้นด้วยกระบวนการที่เชื่อมโยงกับคุณลักษณะของผู้เรียน จึงทำให้การจัดการชั้นเรียนมีความซับซ้อนมากขึ้น องค์ประกอบของชั้นเรียนจึงมีความแตกต่างไปจากอดีต การทำความเข้าใจชั้นเรียนจะทำให้ผู้จัดการชั้นเรียนมองเห็นภาพในวงกว้างในทุกมุมมองซึ่งเป็น 360 องศา รวมทั้งมุมมองด้านล่างและด้านบน (Bird –Eye View)  

การพิจารณาการจัดการชั้นเรียนในมุมกว้างเช่นนี้ทำให้มองเห็นองค์ประกอบของการจัดการชั้นเรียนในด้านกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมพื้นที่ เวลา สาระ อุปกรณ์ กฏระเบียบ ข้อตกลง และในด้านจิตภาพ ได้แก่ อารมณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความสัมพันธ์ เป็นต้น

 

หน่วยที่ 5 การจัดการด้านกายภาพของชั้นเรียน

หน่วยที่ 6 การจัดการด้านจิตภาพของชั้นเรียน

บรรณานุกรม

 

 

© Copyright 2010. All rights reserved. Contact: supattapin@yahoo.com