ความชอบ
มิตรภาพและความรัก
ความชอบมิตรภาพและความรักเป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่ดึงดูดให้บุคคลเข้ามาใกล้ชิดกัน
มนุษย์มักจะเอาคำว่า
รัก
มาอธิบายความรู้สึกต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่ตนมีกับบุคคล
กับวัตถุสิ่งของ
และกับ
สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว
จึงทำให้ความรักมีความหลากหลายในขอบข่ายของความสัมพันธ์และมีความแตกต่างอยู่ภายในความสัมพันธ์ที่เหมือนกันด้วย
ความรักมีจุดเริ่มต้นมาจากความรู้สึกชอบ
เกิดเป็นความต้องการที่จะสร้างมิตรภาพขึ้นระหว่างกัน
ปัจจัยที่ชัดเจนที่ทำให้เกิดมิตรภาพ
คือ
ความต้องที่จะมีความใกล้ชิดกันต่อกันในระดับหนึ่ง
ความใกล้ชิดอาจเกิดจากอยู่บ้านใกล้กัน
นั่งทำงานใกล้กัน
อยู่ในงานอาชีพสายเดียวกัน
หรือการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มต่าง
ๆ
ด้วยกัน
สิ่งเหล่านี้จะทำให้บุคคลเกิดการสัมผัสกับบุคคลต่าง
ๆ
ขึ้น
ภายในความใกล้ชิดนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้ว่าคนหนึ่งอาจจะชอบคน
ๆ
นี้
และไม่ชอบคนอื่น
ๆ
แต่เราอาจจะชอบพอคนอื่น
ๆ
แต่ไม่ชอบคน
ๆ
นี้
ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก
เพราะมิตรภาพและความรักมักจะเกิดขึ้นในกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ใกล้กัน
หรือทำงานใกล้ชิดกัน
จากการศึกษาพบว่า
คู่แต่งงานมักจะเป็นบุคคลที่เคยเรียนด้วยกันในโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัยหรือไม่ก็ทำงานในบริษัทเดียวกัน
เป็นต้น
เหตุผลหนึ่งที่ดึงดูดบุคคลให้มีความใกล้ชิดกัน
คือ
ความคุ้นเคย
ซึ่งพบว่าบุคคลจะมีความชอบพอกับคนที่คุ้นเคยมากกว่าคนแปลกหน้าที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน
ดังนั้นยิ่งได้สร้างความคุ้นเคยมากกับคนที่ไม่รู้จักมากเท่าไร
ก็จะทำให้เกิดความรู้สึกชอบในตัวเขามากขึ้น
ความคุ้นเคยดูเหมือนว่าจะทำให้เกิดความดึงดูดใจมากกว่าจะเกิดความรังเกียจ
ความคุ้นเคยจะสร้างความดึงดูดใจได้ 2
กรณีคือ
กรณีแรกถ้าสิ่งเร้าที่เข้ามาสัมผัสนั้นค่อนข้างจะซับซ้อน
และกรณีที่สองถ้าความรู้สึกเริ่มแรกที่มีต่อสิ่งเร้านั้นเป็นกลาง
ซึ่งมักจะเป็นความรู้สึกเมื่อได้พบและรู้จักกันเป็นครั้งแรก
ผลกระทบของความคุ้นเคยนี้ได้ถูกนำมาใช้ด้านการหาเสียงทางการเมืองและการโฆษณา
สินค้า
ชื่อหรือยี่ห้อสินค้าใดที่มีการคุ้นหูมากก็จะมีโอกาสดึงดูดใจผู้คนได้มากกว่า
แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าใครก็ตามที่อยู่ใกล้ชิด
และมีความคุ้นเคยกันจะเกิดความชอบพอกันขึ้นเสมอ
ปัจจัยที่สำคัญที่เป็นข้อพิจารณาการเลือกคบกันคือคุณลักษณะเฉพาะของตัวบุคคลโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์เรามักจะชอบบุคคลที่มีรูปร่างหน้าตาดี
มีความฉลาด
มีปฏิภาณ
ไหวพริบ
บุคลิกภาพดี
และมีคุณสมบัติอื่น
ๆ
ที่น่าดึงดูดใจ
ในการเกิดความรักใคร่กันนั้นพบว่า
หน้าตาเป็นสิ่งที่ดูว่าจะมีความสำคัญมากที่สุด
และเป็นปัจจัยที่ผลต่อจิตใจมากกว่าข้ออื่น
ๆ
มากว่าความฉลาดและบุคลิกภาพเมื่อได้พบกันเป็นครั้งแรก
และเป็นเรื่องแปลกที่มักจะมีการสรุปเอาว่าบุคคลซึ่งมีรูปร่างหน้าตาที่สะสวยเหนือกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป
มักจะมีความสามารถทางด้านสังคม
มี
ความฉลาด
มีสุขภาพจิตดี
และมีความสุขเหนือกว่าคนอื่น
ๆ
ไปด้วย
แม้ว่าจะไม่ได้มีการยืนยันอย่างเป็นวิชาการก็ตามแต่ก็เป็นที่แน่ชัดว่าบุคคลที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นที่ดึงดูดใจคนนั้นมักจะเป็นคนที่มีทักษะสังคมสูงและเป็นที่รู้จักชอบพอของผู้อื่น
ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขามักจะได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กัน
แต่อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือ
การรับรู้ตนเองของเราว่าเป็นบุคคลที่น่าดึงดูดใจหรือไม่นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการแสดงคุณลักษณะส่วนตัวของเราเองมากกว่าความน่าดึงดูดใจที่ตัดสินโดยผู้อื่น
ดังนั้นแม้ว่าเราจะไม่ได้รับการยกย่องว่าสวยเหมือนดารา
แต่การมองภาพตนเองในทางบวกก็จะสามารถช่วยให้เราประสบความสำเร็จในการเข้าสังคมได้เช่นกัน
และข้อสุดท้ายซึ่งมีสำคัญมากก็คือ
การยิ้ม
บุคคลที่มีใบหน้ายิ้มมักจะได้รับการจัดว่าเป็นบุคคลที่น่าดึงดูดใจมากกว่าคนที่ไม่รอยยิ้ม
จากการศึกษาผลกระทบที่ได้รับจากการเป็นบุคคลที่น่าดึงดูดใจ
ซึ่งทำการศึกษากับนักศึกษาที่จบระดับปริญญาโท
สาขาบริหารธุรกิจ
โดยใช้ระยะเวลาของการติดตามผล 10
ปี
พบว่า
ผู้ชายที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีความน่าดึงดูดใจมากในหนังสือรุ่นประจำปีการศึกษามักจะได้รับการจ้างงานที่เริ่มต้นด้วยเงินเดือนที่สูงกว่าและได้รับเงินเดือนสูงกว่าตลอดระยะเวลา
10 ปี
ส่วนผู้หญิงนั้นแม้ไม่ได้รับการจ้างงานด้วยเงินเดือนที่สูงกว่าแต่จะได้เงินเดือนสูงขึ้นในปีต่อ
ๆ
ไป
ในอันดับ
1: 5
ของความน่าดึงดูดใจ
แม้ว่าการศึกษาชิ้นนึ้จะไม่ได้ใช้ความสำคัญเกี่ยวกับกลไกอื่น
ๆ
ที่อาจจะมีผลกระทบได้
แต่สิ่งที่ปรากฏ
คือ
บุคคลที่มีความน่าดึงดูดใจกว่าได้รับการจัดอันดับว่ามีศักยภาพ
สูงกว่า
และในทำนองเดียวกันความมั่นใจในตนเองสูงในส่วนที่รับรู้ตนเองว่ามีความน่าดึงดูดใจมากกว่าได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยแปลความหมายว่าสามารถทำงานได้ดีและน่าประทับใจ
แม้ว่าบุคคลจะเกิดความดึดูดใจกับคนที่มีลักษณะที่น่าดึงดูดใจ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลจะนำเอาสิ่งนี้มาเป็นข้อเลือกในการหาเพื่อนหรือคู่ครองเสมอไป
ตัวเลือกในที่นี้มักจะถูกกำกับโดยธรรมชาติของความเป็นจริงที่ว่า
มนุษย์มีแนวโน้มที่จะเลือกบุคคลที่มีความคล้ายคลึงกับตนด้านความน่าดึงดูดใจทางด้านสรีระ
ความจริงแล้วบุคคลดูเหมือนว่าจะคำนึงถึงมุมมองด้านฐานะและความเป็นอยู่เมื่อต้องเลือกคู่ครองโดยพิจารณาสิ่งต่าง
ๆ
เมื่อคบหากัน
เช่น
สถานภาพทางการเงิน
รายได้การศึกษา
หน้าที่การงาน
และสิ่งต่าง
ๆ
ที่เป็นเรื่องส่วนตัว
ซึ่งบุคคลที่เข้ามาให้เลือกและได้รับเลือกมักจะเป็นบุคคลที่สิ่งต่าง
ๆ
เหล่านี้ใกล้เคียงกัน
แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐีแก่ที่เลือกแต่งงานกับสาวสวยก็เป็นการแลกเปลี่ยนที่ยุติธรรมจากความต้องการที่สอดคล้องกัน
และแน่นอนหลายคนก็อาจจะอยากลองเสี่ยงที่จะเลือกบุคคลที่นอกเหนือไปจากที่ได้ประมาณการเอาไว้บ้างก็ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีถ้ามีโอกาส
นอกเหนือไปจากนี้ยังพบว่า
บุคคลไม่เพียงแต่จะแสวงหาความคล้ายคลึงและตีค่าออกมาเป็นราคาเท่านั้นแต่บุคคลยังถูกดึงดูดใจด้วย
ความคล้ายคลึงกันในด้านค่านิยม
ความคิดเห็นเชื้อชาติ
ชั้นของเศรษฐกิจและสังคม
และบุคลิกภาพ
จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่า
ความชอบระหว่างบุคคลจะทวีเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ
เมื่อมีความคิดเห็นสอดคล้องต่อกัน
การศึกษาเรื่องเพื่อน
คู่รัก
และ
คู้ครองพบว่าความคล้ายคลึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เพื่อนนักเรียนระดับมัธยม
อาจเลือกคบกัน
โดยใช้พื้นฐานของการมีกิจกรรมร่วมกัน
ซึ่งอาจเกินเลยไปถึงการใช้ยาและการเสพของมึนเมาด้วย
สำหรับคู่ครองนั้นมักมีแนวโน้มที่คล้ายคลึงกันในด้านลักษณะทางบุคลิกภาพเช่น
เป็นคนเปิดเผย
หรือเป็นผู้ชอบสั่งการเป็นต้น
ความคล้ายคลึงกันมีความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่น่าพึงพอใจ
จะพบว่าบุคคลมักจะกล่าวว่าสาเหตุของการเบื่อคู่ของตนเกิดจากมีความคิดเห็น
หรือความสนใจไม่ตรงกัน
มีทัศนะในการครองเรือนต่างกัน
หรือมีพื้นฐานทางครอบครัวต่างกัน
ในทางตรงกันข้ามคู่แต่งงานที่ประสบความสำเร็จมักจะเป็นคู่ที่มีหลาย
ๆ
อย่างที่เหมือนกัน
เช่น
อายุ
และการศึกษา
เป็นต้น
ในการนี้ได้มีคำโต้แย้งเกิดขึ้นว่าความตรงกันข้ามจะทำให้เกิดความน่าดึงดูดใจได้หรือไม่
ในเรื่องนี้ได้มีผู้ทำการศึกษาพบว่าความตรงกันข้ามก็ทำให้เกิดความดึงดูดใจและกลายเป็นคู่แต่งงานที่ดีกว่าได้เช่นกัน
ความคิดพื้นฐานก็คือคุณลักษณะที่แตกต่างกันของบุคคลจะช่วยเสริมสิ่งที่ขาดไปของแต่ละฝ่ายทำให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น
ดังนั้นภรรยาที่เงียบเฉยและขี้อายอาจจะเป็นผู้ที่ฉุดรั้งสามีที่ชอบเที่ยวเตร่และออกสังคมให้ต้องปรับตนเองลดลงมา
และในทำนองเดียวกันภรรยาก็อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อให้สามารถออกงานสังคมกับสามีได้บ้าง
แต่พฤติกรรมเช่นนี้ต้องการการเสียสละและอุทิศตน
ความแตกต่างในระดับหนึ่งอาจจะเป็นผลดีต่อความสัมพันธ์และการดำเนินชีวิตคู่
แต่อย่างไรก็ตามพื้นฐานทางด้านสังคมที่แตกต่างกันมักจะเป็นตัวก่อปัญหาในด้านการผูกความสัมพันธ์กันมากกว่าเนื่องจากเป็นความยากลำบากที่จะต้องตกลงกันว่าจะใช้เวลาว่างร่วมกันอย่างไร
ความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพและค่านิยมมักจะนำมาซึ่งความขัดแย้งที่ทำลายสัมพันธภาพ
ความชอบพอ
มิตรภาพและความรักเป็นสิ่งที่จรรโลงโลกให้น่าอยู่และสวยงามทำให้เกิดพละกำลังในการดำเนินชีวิตและฝ่าฟันอุปสรรค
ดังนั้นจงพยายามสร้างความชอบพอ
เพื่อสานต่อมิตรภาพและมองเห็นคุณค่าของความรักเพื่อทำชีวิตให้สดใส
ด้วยการสยบความต่าง
สร้างความเหมือน
ใช้เพื่อนเป็นกำลังใจ
ใช้ความรักเป็นยาชูกำลัง
ที่หลั่งความสุขออกมาจากใจ
แปลและเรียบเรียง
จากตอนหนึ่งของ
หนังสือ
Effective Human Relations: A
Guide to People at Work. By Pualus, B.P. Catherine E. Seta and Robert
A. Baron. Boston: Allyn and Bacon, 1996. |