กินเพื่ออยู่หรืออยู่เพื่อกิน
การกินเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่มนุษย์จะต้องทำตั้งแต่เกิดจนตาย
การกินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเรื่องหนึ่งของมนุษย์
จนมีการใช้คำว่าทำมาหากินเพื่อแสดงว่างานที่มนุษย์ทำอยู่นี้ก็เพื่อการกินนี้เอง
จึงเห็นว่ามนุษย์ต่างหมกมุ่นอยู่กับการทำมาหากิน
คนเรานั้นถ้าไม่กินเสียอย่างก็คงไม่ยุ่ง
แต่ถ้าไม่กินก็จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้
เพราะจะทำให้ไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นเข้าไปบำรุงเลี้ยงร่างกาย ในกรณีที่ร่างกายขาดอาหารก็จะก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลีย
ไม่มีเรี่ยวมีแรงที่จะทำกิจกรรมทำมาหากินใด
ๆ
ทั้งสิ้น
ทั้งยังก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้โดยง่ายเนื่องจากร่างกายไม่มีพละกำลังที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ แต่ถ้ามีอาหารส่วนเกินมากก็เกิดโรคได้อีกเช่นกัน
ดังนั้นคนจึงต้องกินเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด คนส่วนใหญ่จึงกินเมื่อหิว และหยุดกินเมื่ออิ่มซึ่งร่างกายจะเป็นตัวกระตุ้นบอกให้รู้ว่าควรจะเริ่มและหยุดกินเมื่อไหร่
สำหรับการกินเพื่ออยู่นั้น
เป็นการแสดงพฤติกรรมการกินที่เป็นไปตามธรรมชาติ
คือ
เป็นไปตามความต้องการของร่างกายซึ่งแสดงความต้องการอาหาร พฤติกรรมการกินจึงเป็นไปอย่างเรียบง่ายและกินพอดีไม่มากหรือน้อยเกินไป
ขอแต่เพียงให้อาหารที่กินเข้าไปนั้นมีความสะอาดและมีคุณค่าของสารอาหารที่มีประโยชน์และไม่เป็นพิษต่อร่างกายก็พอ
แต่อย่างไรก็ตามปัญหาอยู่ที่ว่ามนุษย์ไม่ได้กินเพื่อให้มีชีวิตอยู่แต่เพียงเท่านั้น
ยังต้องการมีชีวิตที่กินดีด้วยจึงมีความพยายามที่จะหาความสุขในระหว่างการกินอยู่เสมอ
เช่น
มีการปรุงรสให้อร่อย
มีการจัดเรียงตกแต่งให้สวยงาม น่ารับประทาน
รวมทั้งมีการสรรหาของแปลกใหม่มาลองลิ้มชิมรสอีกด้วยจึงทำให้จุดมุ่งหมายของการกินแปรเปลี่ยนไปจาก
“กินเพื่ออยู่มาเป็นอยู่เพื่อกิน”
นอกจากนี้เราก็พบว่าคนเรานั้นอาจจะต้องกินเพื่อตอบสนองความต้องการทางจิตวิทยาด้วย เพราะมีคนจำนวนไม่น้อยที่มักจะนำเอาสัญชาตญาณของการกินที่ธรรมชาติให้มานี้มาใช้เพื่อหาความสุขให้แก่ตนเอง โดยคิดว่าเกิดมาชาตินี้ขอกินให้สะใจ
และสำหรับคนบางคนบางครั้งก็อาจจะใช้พฤติกรรมนี้เป็นกลไกการปรับตัวทางจิต
คนประเภทนี้เมื่อเกิดความเครียดเมื่อใดก็จะกิน
กิน
และกิน
อย่างไม่บันยะบันยัง
กว่าจะรู้ตัวก็อาจจะต้องกลับมาเครียดเรื่องใหม่อีก
เพราะได้พบว่าตัวเองกลายเป็นไหกระเทียมต่อขาไปเสียแล้วโดยไม่ทันตั้งตัว
ต้องมาแก้ไขปรับปรุงร่างกายกันต่อไปอีก
แล้วอ้ายเรื่องความอ้วนนี้นอกจากจะเผลอไม่ได้แล้ว
มันยังมักจะอ้วนแล้วอ้วนเลย
กว่าจะลดได้ทีละขีดเลือดตาแทบกระเด็น
เนื่องจากนัยในการกินแบ่งออกเป็นสองแบบจึงมักจะมีคนตั้งคำถามว่า
“รู้ได้ไงว่าฉันอยู่เพื่อกิน”
ก็ขอตอบว่าพฤติกรรมของการอยู่เพื่อกินนั้นสังเกตได้ไม่ยาก
เพราะคนที่ทำพฤติกรรมนี้จะมีให้เห็นมากกว่าคนที่กินเพื่ออยู่อยู่แล้ว
อาจจะเป็นเพราะมีสิ่งแวดล้อมหลาย
ๆ
อย่างชักพาไปจนเกิดเป็นนิสัยเคยชินให้ทำพฤติกรรมอยู่เพื่อกินนี้ได้ง่าย
ๆ
เสียด้วย
ตัวอย่างที่พอจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนก็มักจะเกิดขึ้นในงานสังคมที่มีการจัดเลี้ยงอาหารนั่นไง
ถ้าจะพิจารณาว่าแขกของคุณคนไหนมีพฤติกรรมการอยู่เพื่อกินก็ขอให้สังเกตการแสดงออกของการกินซึ่งจะปรากฏให้เห็นในรูปแบบต่าง
ๆ
กัน
เช่น
1..
พวกกินแบบข้ามาคนเดียว
คือ
การกินแบบเนื้อ
ๆ
ไม่เหลือให้ใคร
ดังนั้นพอได้ถืออาวุธตักอาหารละก็เป็นควานเอาแต่เนื้อ
น้ำไม่เอา
อาหารบางชนิด
เช่น
แกงจืด
หรือแกงเผ็ด
ถ้าได้เจอมือควานอันดับหนึ่งแล้วละก็รับรอง
แกงทั้งหม้อ
จะเหลือก็แต่น้ำโจ๋งเจ๋งทีเดียว
ทำให้คนมาทีหลังต้องกินแกงวิญญาณเนื้อไปตามระเบียบ
ความจริงถ้าควานเอาแต่เนื้อแล้วกินหมด
ก็คงจะไม่น่าเกลียดสักเท่าไหร่
แต่ในกรณีที่เอาแต่ของดี
ๆ
ไปแล้วแต่เหลือทิ้งคาถ้วยชาม
ให้คนที่ไม่ได้กินนั่งมองนี่สิ
น่าจับมาตีนัก
2.
พวกกินแบบไม่เกลี้ยงไม่เลิก
คือ
การกินแบบกลัวเหลือ
ทั้ง
ๆ
ที่อิ่มแล้วแต่ก็ยังไม่ยอมหยุดกิน
ด้วยเสียดายอาหารที่เหลือแม้ว่าคนที่เห็นแก่กินในกลุ่มนี้จะไม่เป็นพิษเป็นภัยแก่ผู้อื่น
เพราะอย่างไรเสียของก็ต้องเหลือทิ้งอยู่แล้วแต่ผลที่ตามมาสำหรับผู้ที่ตะกละแบบนี้ก็คือ
ทำให้เจ้าตัวคนกินเกิดอาการอึดอัด
อาหารอาจไม่ย่อย
ทำให้เกิดท้องอืดเฟ้อ
บางคนถึงขั้นจุกตาตั้งก็มี
ที่นี้พอเกิดอาการต่าง
ๆ
ที่ทำให้ร่างกายต้องทุกข์ทรมานก็จะเริ่มคิดได้ว่า
รู้อย่างนี้อิ่มเสียก็จะดีหรอก
คนบางคนกินอิ่มมากจะนั่งจะนอนก็ไม่ได้
จนในที่สุดก็ถึงกับต้องไปล้วงคอให้อาเจียนออกมาเสียบ้าง
เพื่อบรรเทาอาการแน่นท้อง
แล้วอย่างนี้จะเรียกว่าได้หรือเสียกันแน่
3.
พวกกินแบบกลัวอาหารหมด
คือ
กินแบบรวดเร็วแทบจะไม่ต้องเคี้ยวเลยทีเดียวด้วยเกรงว่าจะกินไม่ทันเพื่อน
และกลัวว่าเพื่อนจะแย่งกินหมดเสียก่อน
คนประเภทนี้บางทีก็ไม่รอให้อาหารในจานหมดเสียก่อนแล้วคอยตักต่อไปหรือเอามาเติมใหม่แต่จะเลือกตักเอามาใส่จานจนดูน่าเกลียด
และถ้าเป็นของที่หยิบถือได้ก็มักจะหยิบมาจนเต็มสองมือเลยทีเดียว
ถ้านึกภาพไม่ออกก็ลองนึกภาพคนที่ถือขนมไว้สองมือและคาบอีกก้อนหนึ่งไว้ด้วย
ถ้าเกิดเป็นไอศกรีมก็คงไหลเลอะเทอะ
ถ้าเคยเห็นภาพนี้ก็คงพอจะเข้าใจว่าคนนั้นเขากินเพื่ออยู่หรืออยู่เพื่อกินกันแน่
4. พวกกินแบบตื้อ
คือ
การกินที่ยืดเยื้อ
พยายามอยู่ที่งานเลี้ยงให้นาน
ๆ
คอยดูว่าจะมีอะไรออกมาให้กินได้อีก
และมักจะสั่งให้เจ้าภาพจัดหาอาหารหรือเครื่องดื่มมาเติมอย่างเอาจริงเอาจัง
พวกนี้จะกินยันเช้าก็ได้
บางครั้งเจ้าภาพอาจจะต้องหาเสื่อหาหมอนมาให้นอนกินกันเลยทีเดียว
กว่างานเลี้ยงจะเลิกลากันได้เจ้าภาพคงเข็ดไปนานยิ่งถ้าเป็นการเลี้ยงแบบกันเองด้วยแล้วละก็สามวันสามคืน
ไม่ยอมเลิก
5.
พวกกินแบบโฮโซ
คือ
พวกที่ต้องกินพร้อมบรรยากาศ
พวกนี้มักจะต้องกินอาหารคำบรรยากาศคำ
ราคาบรรยากาศยิ่งแพงยิ่งกินอร่อย
ฉิบหายไม่ว่าต้องการบรรยากาศ
พวกนี้มักจะเป็นพวกเศรษฐีใหม่
หรือไม่ก็พวกเคยรวยมาก่อนแต่กลัวคนจะรู้ว่าเริ่มกลวงโบ๋
จึงต้องเต๊ะท่าวางมาดกันหน่อย ต้องกินร้านหรู
ๆ
บรรยากาศแพง
ๆ
ชื่ออาหารเรียกยาก
ๆ
พวกนี้อาจจะเป็นพวกเดียวกันกับพวกที่ต้องการกินอาหารที่แปลกใหม่
หายาก
เช่น
อุ้งตีนหมี
สมองลิงหรือ
อาหารประเภทสัตว์ป่าต้องห้าม
เช่น
เก้ง
กวาง
ชะมด
กระต่าย
งู
เป็นต้น
ถ้าจะหันมามองในมุมของนักกินบ้างก็จะพบว่า
คนเหล่านี้นอกจากจะทำให้ตัวเองต้องเหน็ดเหนื่อยกับการกินและต้องเสียเวลาในการแสวงหาของกินแล้วยังเป็นการนำโรคภัยไข้เจ็บมาสู่ตนเองโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
โรคต่าง
ๆ
ที่มักจะเข้ามาเป็นเพื่อนสนิทได้แก่
โรคกระเพาะ
โรคลำไส้
และโรคที่เรียกว่า
โรคของการกินดีอยู่ดี
เช่น
โรคเก๊า
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจ
โรคไขมันในเส้นเลือด โรคเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่เกิดจากการอยู่เพื่อกินทั้งสิ้น
เหมือนของแถมที่ได้มาแบบโปรโมชั่นที่เป็นสิ่งที่คนไทยชอบมาก
เพราะมันเหมือนซื้อยาสีฟันแถมกาละมัง
ยังไงยังงั้น
ความจริงแล้วการกินมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนด้วย
จะเห็นได้ว่าคนที่เคยกินอาหารประเภทใด หรือชนิดใดก็มักจะพอใจและเลือกกินอาหารที่ตัวเคยกินอยู่อย่างนั้น
และการกินอาหารนั้นเมื่อกินจนเคยชินก็จะเกิดเป็นนิสัยของการกินอย่างสืบเนื่องและชัดเจน
การกินอาหารของคนต่างวัฒนธรรมกันจะแตกต่างกันทั้งในด้านพฤติกรรมการกินและการปรุงอาหารเพื่อกิน
เช่น
คนเอเชียนั้นจะกินข้าวจ้าวหุงเป็นเม็ดเป็นอาหารหลัก
ส่วนคนอเมริกันหรือคนแถบยุโรปจะกินขนมปังปอนด์ที่ทำจากข้าวสาลีเป็นอาหารหลัก
เป็นต้น
ดังจะสังเกตเห็นว่าคนไทยไปเที่ยวที่ประเทศไหนก็จะร้อง
“กินข้าว
กินข้าว”
ไม่ค่อยยอมที่จะกินอาหารของประเทศอื่น
ๆ
เลย
ทั้ง
ๆ
ที่ตอนอยู่เมืองไทยมักจะดัดจริตชอบเข้าไปกินอาหารต่างประเทศของฝรั่งมังค่าอยู่เสมอ
ๆ
และการกินยังเป็นพฤติกรรมหนึ่งที่สามารถบ่งบอกพื้นฐานของวัฒนธรรมแล้วยังสามารถแสดงวิวัฒนาการความเจริญของยุคสมัยได้ด้วย
แต่ไม่ว่ามนุษย์จะสรรหาวิธีการกิน
ประดิษฐ์ภาชนะเพื่อมาใส่อาหาร
สร้างเครื่องมือเพื่อจัดการกับวัสดุที่นำมาใช้ปรุงอาหารให้มีความแปลกใหม่เพื่อความสุขสนุกกับการกินอย่างไม่หยุดยั้ง
ก็น่าที่จะหันมาพิจารณาการกินเพื่ออยู่บ้างเพื่อลดความเหน็ดเหนื่อยที่จะมัวยุ่งอยู่แต่เรื่องกินเท่านั้น
เพื่อจะได้มีโอกาสการทำประโยชน์ในเรื่องอื่น
ๆ
ได้บ้าง
ในเขิงจิตวิทยาแล้ว
การกินยังเป็นตัวบ่งชี้กระบวนการของการอบรมเลี้ยงดูได้อีกด้วย
คนที่กินมูมมาม
ตะกละ
ตะกราม
กินพร่ำเพรื่อ
กินเลียงดัง
จั๊บ
ๆ
คล้ายหมู
หรือมีเสียงช้อนกระทบฟัน
รวมทั้งมารยาทที่ทรามในการกินร่วมกับผู้อื่น
สิ่งเหล่านี้นอกจากจะเป็นตัวบ่งบอกภูมหลังของการอบรมสั่งสอนเรื่องมารยาทการกินในวัยเด็กแล้ว
ยังสามารถบ่งบอกถึงความขาดหรือความเกินของการได้รับความสุขในการกินในวัยเด็กได้อีกด้วย
นักจิตวิทยากล่าวว่าเด็กที่เมื่อหิวแต่ไม่ได้รับการตอบสนองอาหารที่ดีอย่างเพียงพอ
หรือเมื่ออิ่มแล้วก็ยังถูกยัดเยียดให้กินด้วยซึ่งอาจเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้เลี้ยงดูก็อาจจะมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในเรื่องการกินได้เสมอ
แม้ว่าการกินจะเป็นสัญชาตญาณที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
และจะคงอยู่กับมนุษย์ไปจนวันตายตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่มนุษย์ก็จะต้องทำพฤติกรรมการกินไปเรื่อย
ๆ
แต่อย่างไรก็ตามการกินคนเดียวก็มักจะไม่สนุกเท่ากับกินกันหลาย
ๆ
คน
จึงเป็นพฤติกรรมที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย
ดังนั้นถ้าอยากจะใช้การกินเพื่อหาเพื่อนและถ้าอยากที่จะมีเพื่อนมาร่วมวงกินละก็จงพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมของการอยู่เพื่อกินให้ดี
เพราะเพื่อนคงจะเบือนหน้าหนีและเกิดการเอือมระอา จงอย่าให้ความอยากอยู่เพื่อกินมาเกาะติดกับตัวเราจนทำให้เราขาดเพื่อนกินไป
สมัยนี้เพื่อนกินก็หายากเหมือนกันนะจะบอกให้
|