ดร.สุภัททา ปิณฑะแพทย์

Dr.Supatta Pinthapataya

email: supattapin@yahoo.com







บทที่ 5

ภาพรวมของธุรกิจทั่วไป

ในการดำรงชีวิตของมนุษย์จำเป็นจะต้องมีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อในชีวิตประจำวันเสมอ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยความต้องการของมนุษย์ทั้งที่เกิดจากความต้องการทั้งทางด้านร่างกาย เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และความต้องการทางด้านจิตใจเพื่อจรรโลงจิตใจทำให้เกิดความสุขใจทำให้รู้สึกสดชื่น มีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องแสวงหาด้วยซื้อขาย หรือด้วยการแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นพื้นฐานที่มาของธุรกิจ    

 ความหมายของธุรกิจ

ธุรกิจ หมายถึงกิจที่ต้องมีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องมีการเคลื่อนย้ายตัวบุคคลหรือ วัตถุสิ่งของที่เป็นสินค้าที่ต้องการ ด้วยการแลกเปลี่ยน ซึ่งถ้าเป็นไปเพื่อการค้าเรียกว่า เป็นการซื้อ- การขาย มาดูรา (Madura, 2004) กล่าวถึงความหมายของธุรกิจ ในความหมายที่เป็นสากลของการประกอบการว่า หมายถึง การค้าที่มีผลผลิตหรือการบริการที่ลูกค้าต้องการ (It is an enterprise that provides products or services desired by customers.) สินค้าทั้งประเภทผลิตภัณฑ์หรือบริการจึงเป็นความปรารถนาของผู้ซื้อหรือลูกค้าโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเอาประโยชน์จากการกระทำการแลกเปลี่ยนนั้น ๆ ด้วย

 

จุดมุ่งหมายของการดำเนินการธุรกิจ

ในด้านการดำเนินธุรกิจนั้นจุดมุ่งหมายก็เป็นสิ่งที่มีควมสำคัญ เพราะธุรกิจก็เหมือนการดำเนินชีวิต มีการเคลื่อนไหว มีแรงผลัก และแรงดัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

1.      จุดมุ่งประสงค์ของการดำเนินธุรกิจ

จุดประสงค์โดยทั่วไปของการทำธุรกิจ คือ แลกเปลี่ยนสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพราะลูกค้าคือผู้ที่จะเข้ามาแลกเปลี่ยนเป็นค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น การแลกเปลี่ยนก่อให้เกิดคำศัพท์ 3 คำ คือ 1) การลงทุน (Investement) 2) ผลกำไร (Profit) 3) การขาดทุน (Deficit)

2. จุดมุ่งหมายของการทำธุรกิจ

ในการทำธุรกิจมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การรักษาธุรกิจของตนไว้ให้มีส่วนแบ่งทางการตลาด ทางการตลาดจนเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว  เป็นค้น ดังนั้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญ ไม่ใช่เพื่อการทำธรกิจแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

2.1 จุดมุ่งหมายที่ต้องการความอยู่รอดของธุรกิจ ซึ่งหมายความว่า ธุรกิจนั้น ๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น และทรงตัวอยู่ได้ในทุกสภาวะทางด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่การที่จะต่อเนื่อง

2.2 จุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ในการทำธุรกิจนั้น จำเป็นต้องมองภาพของธุรกิจในอนาคต สร้างความเจริญให้อก่ธุรกิจของตน จึงทำให้มีการขยายกิจการต่อยอดเพื่อให้ครอบคลุมธุรกิจนั้น ๆ นอกจากนี้จะพบว่า ในปัจจุบันการอยู่รอดเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอเนื่องจากมีการแข่งขันสูง จึงต้องพิจารณาในด้านความเจริญรุ่งเรืองและการพัฒนาของธุรกิจอย่างทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

2.3 การสร้างยี่ห้อสินค้าให้เกิดขึ้นในตลาด เป็นจุดมุ่งหมายที่ผู้ทำธุรกิจพยายามสร้างความจงรักภักดีของผู้บริโภคต่อยี่ห้อของสินค้าขึ้นมาได้ เช่น เมื่อจะซื้อรถยนต์นั่งก็จะนึกถีง โตโยต้า เป็นอันดับแรก และเมื่อไม่นานมานี้ ฮอนด้าก็ได้เข้ามาใรส่วนแบ่งในคลาดเป็นอย่างมาก 

อย่างไรก็ตามการวางจุดมุ่งหมายของธุรกิจนั้นจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบอย่างรอบคอบทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งเป็นปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่อาจควบคุมได้เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดก็อาจกลัมาทำความเสียหายแก่ธุรกิจได้ด้วยเช่นกัน

 ประเภทของธุรกิจ

การจำแนกประเภทของธุรกิจนั้นขึ้นอยู่กับทัศนะและมุมมองของบุคคลที่มีต่อธุรกิจ จึงพบว่า มีผู้กล่าวถึงประเภทของธุรกิจต่าง ๆ ไว้ เช่น

1. ธุรกิจแบ่งตามประเภทของผลผลิต

อุดมศักดิ์ ชัยสนิท และ สุนี เลิศแสวงกิจ (2005) ได้จำแนกประเภทธุกิจที่แยกย่อยตามการดำเนินงานธุรกิจเป็น 6 ประเภท ได้แก่

1.1  ธุรกิจการเกษตร (Agricultural) เป็นธุรกิจที่สร้างผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ การทำนา  ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และการประมง การทำการเกษตร เป็นธุรกิจหลักของประชากร เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีดินฟ้าอาการและสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตรจึงมีธุรกิจการเกษตรเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

1.2  ธุรกิจการอุตสาหกรรม (Manufacturing) เป็นธุรกิจการแปรรูป โดยการนำวัตถุดิบทางการเกษตรมาผลิตเป็นสินค้าใหม่เพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค

1.2.1 ธุรกิจอุตสาหกรรมในครัวเรือน (Industrial Homemade Business) เป็นการผลิตที่เป็นงานอดิเรกของครอบครัว หรือของชุมชนอาจทำการผลิตเป็นรายครอบครัว หรือรวมกลุ่มกันผลิตก็ได้ และในบางชุมชนจะมีการวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านเพื่อผลิตวัสดุสิ่งของประเภทจักสานหรืองานฝีมือ  

1.2.2 ธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงาน (Industrial Factory Business) สินค้าอุตสาหกรรมแม้ว่าจะทำรายได้มากแต่ก็มีการลงทุนที่สูงมากเช่นกัน ธุรกิจด้านอุตสาหกรรมยังต้องพึ่งพาเครื่องจักรและอุปกรณ์เฉพาะบางประเภทซึ่งอาจต้องสั่งซื้อและนำเข้ามาจากต่างประเทศ

1.3  ธุรกิจการเงิน (Financial) เป็นธุรกิจที่ระดมเงินเพื่อจัดสรร์เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ที่ต้องการนำเงินไปทำธุรกิจ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทกองทุนต่าง ๆ เป็นต้น

1.4  ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial) ได้แก่ การทำการค้าสินค้า อุปกรณ์ต่าง ๆ

1.5  ธุรกิจการก่อสร้าง (Construction) ได้แก่ การก่อสร้างที่อยู่อาศัย ถนน สะพาน

1.6  ธุรกิจการบริการ (Services) ได้แก่ ธุรกิจที่อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้า เช่น ธุรกิจสปา ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม

2. การแบ่งประเภทตามระบบการดำเนินการ

2.1 สมยศ นาวีการ (2002) แบ่งประเภทของธุรกิจในลักษณะที่เป็นหลักใหญ่ ออกเป็น 2 ประเภท คือ

      2.1.1 ธุรกิจอุตสาหกรรม

      2.1.2. ธุรกิจพาณิชยกรรม

2.2  ระวิง เนตรโพธิ์แก้ว (อ้างถึงใน ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. 2005) กล่าวว่า Michael J. Jueius ได้แบ่งประเภทอาชีพในธุรกิจไว้ ดังนี้

      2.2.1 ธุรกิจอุตสาหกรรม

      2.2.2 ธุรกิจพาณิชยกรรม

      2.2.3 ธุรกิจวิชาชีพเฉพาะ 

2.3 นงเยาว์ ชัยเสรี (อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. 2004) ซึ่งสอดคล้องกับ สมคิด บางโม (อ้างถึงใน ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. 2005) ว่าประเภทของธุรกิจอาจแบ่งได้ตามลักษณะของการดำเนินธุรกิจ ดังนี้

2.3.1 การพาณิชย์ หรือการค้า

2.3.2 การอุตสาหกรรม

2.3.3 การบริการ

2.4 ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (1998) มองว่าธุรกิจน่าจะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ดังนี้

      2.4.1 ธุรกิจการผลิต

      2.4.2 ธุรกิจเหมืองแร่

      2.4.3 ธุรกิจค้าส่ง

      2.4.4 ธุรกิจค้าปลีก

      2.4.5 ธุรกิจบริการ

จะเห็นได้ว่า มีการแบ่งประเภทของธุรกิจตามการดำเนินการอย่างหลากหลาย แต่ไม่ว่าจะมีการแบ่งประเภทธุรกิจอย่างไร การดำเนินการธุรกิจก็ยังครูปแบบที่มีความหมายเฉพาะในธุรกิจนั้น ๆ

            3. การแบ่งประเภทตามการกระจายสินค้าทางธุรกิจ

            การแบ่งประเภทของธุรกิจตามการกระจายสินค้าทางธุรกิจ เป็นการแบ่งที่บ่งชี้พฤติกรรมการจัดการสินค้าสู่ตลาดเพื่อให้ถึงมือลูกค้า เนื่องจากการกระจายสินค้าสู่ตลาดมีในด้านกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบที่แตกต่างกัน

3.1  การค้าปลีก

       3.1.1 ชนิดที่มีร้านค้าที่เป็นคนกลาง เป็นประเภทการค้าที่ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าที่ยี่ห้อพึงประสงค์ได้ ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าจากราคา ปริมาณ กลิ่น สี และรูปลักษณะอื่น ๆ ทั่เป็นุณสมบัติของสินค้านั้น ๆ

       3.1.2 ชนิดที่ไม่มีร้านค้า  การค้าที่ไม่ได้อาศัยร้านค้าแต่อาศัยคนกลางขายตรง เช่น สินค้าขายตรงแบบ ประกันชีวิต แอมเวย์ เอวอน มิสทีน หรือกิฟฟารีน เป็นต้น สินค้าเหล่านี้สร้างความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าที่ต้องการคำปรึกษา ก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายได้เป็นอย่างดี

3.2  การค้าส่ง

การค้าส่ง หมายถึง การซื้อขายสินค้าจำนวนมาก จากโรงงาน หรือจากร้านค้าที่เป็นตัวแทนแบบขายส่ง บริโภคหรือลูกค้าต้องการสินค้ประเภทหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมาก และการค้าประเภทนี้มีต้นทุนในด้านการส่งสินค้า   จึงต้องคำนึงถึงราคาที่ตั้งจากต้นทุนการผลิตไว้เป็นโหล หรือ เป็นกุรุส หรือเป็นลัง เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้ร้านค้านำไปขายปลีกได้ในราคาท้องตลาด

 องค์ประกอบของธุรกิจ

            ในการประกอบธุรกิจมีองค์ประกอบหลักที่ต้องเตรียมความพร้อมซึ่งได้แก่ องค์ประกอบ   6 M ได้แก่

1.      บุคคล บุคลากร ผู้ร่วมงาน (M1 = Man) บุคคลเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีแรงงาทั้ง

ทางด้านร่างกายและแรงงานทางด้านการใช้สมองเพื่อการคิดสร้างสรร์ทางธุรกืจและการวางแผน

2.      การเงิน เพื่อการลงทุน (M2 = Money) เงินเป็นสิ่งสำคัญสำหรับใช้เพื่อการเตรียม

ความพร้อมทางธุรกิจ

3.      วัสดุอุปกรณ์เพื่อการผลิตออกมาเป็นสินค้า (M3 = Material)

4.      เครื่องมือ หรือเครื่องจักร รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่อการผลิต  (M4 = Machine)

5.      การบริหารจัดการธุรกิจ (M5 = Management)

6.      จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบการ (M6 = Moral) เป็นสิ่งที่สังคมให้ความ

สนใจเป็นอย่างมากมากถึงเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ในอดีต ยาชื่อ ธาลิโดไมด์ ซึ่งเมื่อมารดาผู้ตั้งครรภ์บริโภคเข้าไปมีผลทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นแขนและขาของทารกในครรภ์หยุดการพัฒนา ทำให้ทารกพิการแขนและขา เป็นต้น ซึ่งบริศัทขายยาก็ต้องออกมารับผิดชอบ หรือ เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวในเรื่องของสารเมลานีน ปนเปลื้อมากับนม และขนม หรือ สารเคมีที่นำมาใช้ในการผลิตของเล่นเด็ก เป็นต้น การออกมารับผิดชอบแค่เพียงเก็บสินค้า เหล่านั้นออกจากตลาด หรือจ่ายเงินชดเชยความพิการให้แก่เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายคงไม่สามารถเทียบได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นแก่ชีวิตของผู้บริโภคที่ต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานด้วยการกระทำที่ผิดพลาดของผู้ผลิต

 แหล่งทรัพยากรด้านความรู้และสนับสนุนธุรกิจ

การเข้าสู่ธุรกิจในฐานะเป็นผู้ประกอบการควรจะศึกษาหาความรู้ในเรื่องการทำธุรกิจให้เข้าใจกระบวนการอย่างแน่ใจในกลวิธีการดำเนินการธุรกิจเสียก่อน ในส่วนที่เป็นแหล่งความรู้และเงินทุนสนับสนุนด้านธุรกิจนั้น ในปัจจุบันธนาคารภาครัฐ และเอกชน กรมการส่งเสริมการค้าภายใน  สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment = BOI) สำนักงานเพิ่มผลการผลิต สภาอุคสาหกรรม ศุนย์บ่มเพาะในมหาวิทยาลัย ต่างก็มีข้อมูลธุรกิจและสามารถให้คำแนะนำตลอดจนให้ความรู้และการฝึกอบรมที่ทำให้สามารถเปิดกิจการธุรกิจได้

 ประโยชน์ของธุรกิจ

ธุรกิจมีประโยชน์ต่อบุคคล และสังคมโดยรวม ดังนี้

1. ธุรกิจทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้า ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ประโยชน์แก่บุคคลทั้งในฐานะผู้ประกอบการ และในฐานะผู้บริโภค ถ้าไม่มีผู้ทำกิจการผลิตสินค้าหรือให้บริการแล้ว มนุษย์ทุกคนคงต้องลงมือทำกิจกรรมเพื่อให้ได้ผลผลิตต่าง เพื่อการดำรงงชีวิต เช่น ต้องปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า สร้างบ้าน ทำยารักษาโรค เก็บขยะ และทำอื่น ๆ ด้วยตนเอง ถ้าทุกคนต้องทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดก็คงทำให้เกิดความวุ่นวายและเหน็ดเหนื่อย

2. ธุรกิจก่อให้เกิดการพัฒนางานในอาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มบุคคลละสังคม เพราะทำให้เกิดอาชีพเพื่อนำรายได้จากการประกอบอาชีพเพื่อการยังชีพของตนเองและครอบครัว เป็นค่าใช้จ่ายแลกเปลี่ยนกับวัตถุสิ่งของหรือบริการที่ได้รับจากผู้บริโภค ขึงอาจกล่าวได้ว่า ธุรกิจก่อให้เกิดอาชีพ สร้างรายได้

3. ธุรกิจก่อให้เกิดการจ้างงาน การจ้างงานเป็นการช่วยให้บุคคลที่ไม่สามารถสร้างงานให้แก่ตนเองได้ดำเนินอาชีพภายใต้การดูแลและสอนงานของผู้ที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญ เป็นการสอนงานเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในงานนั้น ๆ ซึ่งอาจถูกนำไปใช่ประโยชน์ได้ในอนาคต

4. ธุรกิจก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและทันต่อความต้องการ อาจเรียกได้ว่า เป็นช่องทางในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาดทำให้ถึงมือผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น                  

5.  ธุรกิจช่วยพัฒนาประเทศชาติ  การทำธุรกิจก่อให้เกิดรายได้ให้แก่รัฐ การเสียภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของธุรกิจ ทำให้รัฐบาลมีเงินไปพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ  และถ้าการผลิตสินค้าและบริการมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี เป็นที่ต้องการและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคภายนอกประเทศด้วยแล้วก็สามารถนำออกไปจำหน่ายต่างประเทศ   ทำให้มีรายได้เข้าประเทศมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นด้วย
                6.  ธุรกิจช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี เช่น มีการผลิตเครื่องจักรที่ช่วยให้การผลิตสินค้ามีมาตรฐาน ทำให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือเพื่อข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต  เป็นต้น

 

คุณธรรมขริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ

            ในการทำธุรกิจนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องจรรยาบรรณเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายหนึ่งของการทำธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม การทำการค้าที่ไม่ซื่อสัตย์ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือซึ่งไม่สามารถลบล้างได้ ดังเช่นเคยมีข่าว การปลอมปนสินค้า ที่มีร้านค้าขายอาหารใส่กระดาษทิชชูลงไปในน้ำยาชนมขีนเพราะต้องการประหยัดเนื้อปลา หรือการเอาตะกั่วผูกที่หัวกุ้งที่เป็นสินค้าส่งออกเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่ม การกระทำเช่นนี้เรียกได้ว่าไม่มีจริยธรรม และเมื่อไม่นานมานี้จะพบว่าทีสินค้าที่ผลิตจากประเทศหนึ่งมีการตรวจสอบพบสารเคมีปนเปลื้อนมากับสินค้าประเภทอุปโภคและบริโภคของเด็กซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์ อันเป็นสิ่งที่ร้ายแรงมากที่สุด

            การให้การศึกษาเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่อาชีพ จึงต้องเน้นในเรื่องของคุณธรรมจริยธรรมให้มาก การที่นักคอมพิวเตอร์จะกลายมาเป็นแฮกเก้อร์เข้าไปล้วงขโมยข้อมูลของผู้อื่นก็ถือว่าเป็นอาชีพที่ไม่สุจริต หรือนักวิทยาศาสตร์สร้างระเบิดปรมาณูเพื่อการล้างเผ่าพันธุ์ หรือทำร้ายมนุษย์ด้วยกันเองก็ถือได้ว่า ไร้คุณธรรม พระคุณเจ้า ปยุต ปยุตโต ทีปรัชญาว่าการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อสันติภาพ โดยได้นำเงินที่ได้รับรางวัลจากสหประชาชาติมาตั้งมูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพขึ้น ก็เป็นตัวอย่างของความคิดที่ต้องการให้ทุกคนรับผิดชอบในการพัฒนามนุษย์ให้ใช้ความรู้เพื่อประโยชน์สุขของสังคม

สรุป

            การทำธุรกิจมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ บุคคล เงิน วัสดุ เครื่องจักร การบริหารจัดการและจริยธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ที่ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้ ธุรกิจก่อให้เกิดการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคจึงเกิดอาชีพต่าง ๆ ขึ้นมาเป็นธุรกิจของชึวิตเพื่อแลกเปลี่ยนกัน ก่อให้เกิดวงจรของการพึ่งพาอาศัยกัน หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้ประกอบการและผู้บริโภค ทำให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน คือ ได้ประโยชน์ในฐานะผู้ประกอบการธุรกิจการที่จะทำธุรกิจต้องศึกษาและแสวงหาแหล่งทรัพยากรที่ทำให้มีความรู้และสามารถให้การสนับสนุนด้านการลงทุนได้ ธุรกิจสามารถสร้างให้บุคคลเป็นได้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค เพราะต่างคนต่างทำธุรกิจในอาชีพของตนเพื่อการแลกเปลี่ยน

 

© Copyright 2005. All rights reserved. Contact: supattapin@yahoo.com