ดร.สุภัททา ปิณฑะแพทย์

Dr.Supatta Pinthapataya

email: supattapin@yahoo.com







วิจัยเสนอแนะเรื่องที่ 1

แนวทางในการแก้ไขและสร้างระบบป้องกันภัยแล้งแบบยั่งยืน

ในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งวิกฤติ จังหวัดพะเยา

ผศ. ดร. สุภัททา ปิณฑะแพทย์

                       

จังหวัดพะเยาได้ทำการสำรวจพื้นที่ที่เป็นเขตภัยแล้ง และได้จัดทำแผนที่จังหวัดไว้  ซึ่งจากการสำรวจนี้จังหวัดสามารถกำหนดเป็นเขตภัยแล้งในระดับวิกฤติไว้ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 31 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่บ้าน ………อำเภอ ……….

 (ให้บอกชื่อหมู่บ้านและอำเภอมาทั้งหมดเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาเอกสาร)

            ในการที่จะดำเนินการแก้ไขและป้องกันภัยแล้งอย่างยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจในเรื่องสภาพภูมิอากาศ ความเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน ทั้งในด้านการดำรงชีวิตและในด้านอาชีพ นอกจากนี้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยชุมชนเป็นผู้ร่วมมือกันเพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมที่จะทำให้ชุมชนอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยจากภาวะภัยแล้งด้วยจิตสำนึกของความเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกันก็เป็นสิ่งที่สำคัญ คำว่ายั่งยืนจะใช้ระยะพันธกิจเท่าไร

 

1. วิธีดำเนินการ      

ตอนที่ 1

1. 1 ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Research) แหล่งน้ำและปริมาณน้ำที่มีอยู่ในแต่ละหมู่บ้านที่ทำการศึกษา

                        1. 2 สัมภาษณ์ทุกหมู่บ้าน แบบ Focus Group เพื่อศึกษาสาเหตุและแนวคิดในการวางแผนร่วมกันเพื่อป้องกันภัยแล้งของประชากรในแต่ละหมู่บ้านที่ทำการศึกษา (ต้องอัดเทป การสัมภาษณ์และถอดเทป เพื่อการวิเคราะห์)

1.2.1 ผู้ใหญ่บ้าน

1.2.2 สมาชิก อบต.

1.2.3 ลูกบ้าน

                        1.3 ศึกษาสำรวจพฤติกรรมการใช้น้ำ โดยใช้แบบสอบถาม (จำนวนประชากร = 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรในหมู่บ้าน)

1.3.1 พฤติกรรมการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมการใช้น้ำในอาชีพของประชากร

1.3.2 พฤติกรรมการรักษาแหล่งน้ำ

1.3.3 พฤติกรรมการเก็บกักน้ำ

1.3.4 แนวความคิดเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำ

1.4    จดรวบรวมจำนวนปริมาตรน้ำที่นำไปให้หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้านที่มีภัยแล้งในปี 2549 นี้ เพื่อเป็นข้อมูลประมาณการความต้องการน้ำเพิ่มเติมจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ของแต่ละหมู่บ้าน เพื่อนำมาจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำตามความต้องการของประชากรในหมู่บ้านนั้น ๆ

ตอนที่ 2

            ใช้ข้อมูลในจากการศึกษาใน ตอนที่ 1 เพื่อสรุป โดยการจัดประชุมเพื่อให้ได้มติจากชุมชนในการดำเนินการต่อไป

1.      แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการอนุรักษ์แหล่งน้ำ

2.      แสวงหารูปแบบของการพัฒนาแหล่งน้ำที่ประชาชนต้องการตามสภาพพื้นที่

2. เครื่องมือวิจัย

2.1 คำถามสัมภาษณ์  Focus group แบบ Semi structured

2.2 แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้น้ำ

3. การรายงานผลการวิจัย

การรายงานให้รายงานผลการศึกษาการแก้ปัญหาภัยแล้งของแต่ละหมู่บ้าน เพราะ

3.1  แต่ละหมู่บ้านมีสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน

3.2  ประชากรในแต่ละหมู่บ้านมีความต้องการการใช้น้ำที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของอาชีพ

 

เสนอแนะหัวข้อเรื่องที่ควรถามและตัวอย่างคำถาม ให้เลือก

(หมายเหตุ : ยังไม่ได้รับการตรวจสอบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ)

 

ด้านความรู้และการใช้ทรัพยากรน้ำ

  • ในหมู่บ้านมีแหล่งเก็บน้ำของชุมชนที่ไหน กี่แห่ง

  • แหล่งน้ำที่ใช้อยู่  ใช้ประโยชน์ทำอะไรบ้าง

  • ที่บ้านมีที่เก็บน้ำหรือไม่ เพื่อการบริโภค การเกษตร

  • เก็บไว้ใช้ได้ถึงเวลาไหน

ด้านความคิด

  • ความรู้สึกที่เป็นผลกระทบจากภัยแล้ง ในด้านใด

  • คิดว่ามีหรือไม่มีความลำบากเนื่องจากการขาดน้ำ เพราะ………..

  • ทำอย่างไรจึงจะให้ชุมชนมีน้ำใช้เพียงพอ

  • มีความคิดในการจัดการเรื่องน้ำอย่างไร

  • คิดว่าชุมชนควรร่วมมือกับรัฐในการจัดการน้ำอย่างไร

  • ฯลฯ

ด้านการรักษาแหล่งทรัพยากรของชุมชน

  • การตัดไม้ทำลายป่าของชาวบ้าน

  • การปลูกป่าทดแทน

  • การรักษาระบบนิเวศน์

  • การดูแลขุดลอกคูคลอง

  • การทิ้งขยะ

  • การระบายน้ำเสีย

ด้านสังคม

  • การร่วมกันคิดร่วมกันทำ

  • การสร้างความปรองดอง

  • ความเสียสละเพื่อส่วนรวมมองเห็นประโยชน์ร่วมกัน

  • การพึ่งพาตนเองของชุมชน

  • ฯลฯ

ประโยชน์การวิจัยที่ต้องการ

  • เพื่อการจัดทำแผนระยะยาวในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและในขณะเดียวกันป้องการน้ำท่วมในลักษณะที่สมดุล

  • และให้ทำแผนกลยุทธด้วย

  • ฯลฯ

 ข้อความรู้ที่วิเคราะห์ได้จากงานวิจัย

  • จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในทุกด้านเพื่อสร้างกลยุทธในการปฏิบัติการต่อสู้ภัยแล้ง

  • วิเคราะห์การเกิดน้ำแล้งและน้ำท่วมในอนาคต ต้องนำสถิติพยากรณ์มาใช้เพื่อคาดการณ์ด้วย

  • การปลูกป่า ต้องบอกได้ว่าปลูกอะไร เท่าไร จะเกิดผลระยะยาวในกี่ปี

  • สร้างแหล่งน้ำต้องสร้างเพิ่มหรือปรับปรุงขนาดเท่าไร  ทำที่พื้นที่ไหน ห่างจากชุมชนเท่าไร

  • น้ำเพื่อการบริโภคเท่าไร เพื่อการเกษตร / อุตสาหกรรมเท่าไร  

 

© Copyright 2006. All rights reserved. Contact: supattapin@yahoo.com