หน่วยการเรียนรู้ที่
2
คุณธรรม
จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา
แนวคิด
ในการบริหารจัดการสถานศึกษาหรือองค์การทางการศึกษานั้น
ปัจจัยที่สำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ถือเป็นหลักใหญ่คือ
การมีผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษาที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
พฤติกรรมด้านจริยธรรมในการบริหารจัดการ
คือ
พฤติกรรมที่ไม่ใช่เพียงแต่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นแต่ยังต้องเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องภายในกรอบของคุณธรรมและจริยธรรมที่บุคคลในสังคมโดยทั่วไปยอมรับได้
นอกจากนี้คุณธรรมและจริยธรรมนั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะสร้างศรัทธาซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดความสามัคคีร่วมมือกันปฏิบัติงานเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้
ทำให้ผู้ร่วมงานทุกคนในองค์การเกิดความเชื่อถือและเชื่อมั่นในตัวผู้นำ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
·
อธิบายและวิเคราะห์ความหมายของคำว่า
คุณธรรมและจริยธรรมของนักการศึกษา
ผู้นำทางการศึกษาและจรรยาบรรณวิชาชีพนักบริหารการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
·
บอกคุณลักษณะของนักบริหารการศึกษามืออาชีพในด้านคุณธรรมและจริยธรรมได้
·
สามารถวิเคราะห์และตัดสินพฤติกรรมตามหลักคุณธรรมและจริยธรรมได้
·
สามารถนำแนวปฏิบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงานในอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
·
บอกจรรยาบรรณของนักการศึกษา
ผู้นำทางการศึกษาและนักบริหารและแนวทางในการปฏิบัติตนตนตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนดได้
·
อธิบายแนวทางและวิธีการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมได้
ตอนการเรียนรู้
ตอนการเรียนรู้ที่
1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม
ตอนการเรียนรู้ที่
2
กฎและทฤษฎีทางจริยธรรม
ตอนการเรียนรู้ที่
3
หลักการพิจารณาพฤติกรรมทางคุณธรรมและจริยธรรม
ตอนการเรียนรู้ที่
4
จรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษาและมาตรฐานการปฏิบัติตน
ตอนการเรียนรู้ที่
5
การพัฒนาและการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม
แนวการจัดการเรียนรู้
-
ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนศึกษาตอนการเรียนรู้ทุกตอน
พร้อมทำใบงานมาล่วงหน้า
และใช้เวลาในการบรรยายสรุป
5
ครั้ง
และให้คำปรึกษา
3
ชั่วโมง
-
จัดประชุมปฏิบัติการเพื่อศึกษาแนวทางในการประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักการศึกษาและนักบริหารการศึกษามืออาชีพ
-
ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้นำทางการศึกษาและนักบริหารการศึกษา
ตอนการเรียนรู้ที่
1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรมและจริยธรรมเป็นเสมือนบทบัญญัติของความดีและความงามของจิตใจที่ส่งผลให้บุคคลประพฤติดีประพฤติชอบ
คุณธรรมและจริยธรรมจึงเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญต่อการประกอบการในวิชาชีพของบุคคลในทุกสาขาอาชีพ
การทำความเข้าใจกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมจะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความตระหนักถึงคุณประโยชน์และโทษที่เป็นผลสืบเนื่องจากการมีคุณธรรมจริยธรรมและการขาดคุณธรรมและจริยธรรม
นักจริยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ให้ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรมทั้งที่เป็นพื้นฐานของความคิดและความหมายที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับพฤติกรรมในด้านอื่น
ๆ
ด้วย
ดังที่
อาริสโตเติล
(Aristotle)ได้กล่าวถึงความหมายของธรรมชาติและคุณธรรมจริยธรรมว่าเป็นคุณลักษณะที่ทำให้ปัจเจกชนทั้งหลายอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
(
จำเริญรัตน์
เจือจันทร์,
2548)
ความสุขจึงมีความเชื่อมโยงกับคุณธรรมและจริยธรรมด้วยเช่นกัน
จากผลการศึกษาและงานวิจัยคุณธรรมและจริยธรรมในหลายสถานการณ์ที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพนั้น
ๆ
ได้
1.
1
ความหมายของคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรม
ประกอบด้วยคำสองคำ
คือ
คำว่า
คุณ
แปลว่า
ประโยชน์
และคำว่า
ธรรม
ในทำนองเดียวกันกับคำว่า
จริยธรรม
ก็ประกอบด้วยคำว่า
จริย
แปลว่า
ความประพฤติที่พึงประสงค์
ทั้งคุณธรรมและจริยธรรม
มีคำว่า
ธรรม
เป็นคำร่วม
ซึ่ง
พระเทวินทร์
เทวินโท
(2544)
อธิบายความหมายของคำว่าธรรม
ว่า
หมายถึง
ความจริง
ความประพฤติดี
ความถูกต้อง
คุณความดี
ความชอบ
คำสั่งสอน
ดังนั้นเพื่อความเข้าใจในความหมายของทั้งสองคำนี้จึงควรพิจารณาคำนิยามตามแนวทัศนะของจริยศาสตร์และสังคมศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย
คำว่า
คุณธรรม
(Moral)
และจริยธรรม
(Ethics)
ในทัศนะของจริยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความหมายดังต่อไปนี้
คุณธรรม
หมายถึง
หลักจริยธรรมที่สร้างความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
มีคุณงามความดีภายในจิตใจอยู่ในขั้นสมบูรณ์จนเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความยินดี
(ประภาศรี
สีหอำไพ,
2543)
คุณธรรม
หมายถึง
สิ่งที่บุคคลยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงามมีประโยชน์มากมายและมีโทษน้อย
(ดวงเดือน
พันธุมนาวิน,
2538)
จริยธรรม
หมายถึง
ความประพฤติปฏิบัติที่มีธรรมะเป็นตัวกำกับ
จริยธรรมก็คือ
ธรรมที่เป็นไป
ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
ศีลธรรม
กฎศีลธรรม
(
พระเทวินทร์
เทวินโท,
2544)
จริยธรรม
ในความหมายของ
สุนทร
โคตรบรรเทา
(2544)
กล่าวว่า
ถ้าจะตีความแคบ
ๆ
จริยธรรมคงหมายถึง
ศีลธรรมประการหนึ่งและคุณธรรมอีกประการหนึ่งรวมเป็นสองประการด้วยกัน
นอกจากนี้
วริยา
ชินวรรโณ (2546)
ได้ประมวลความหมายของคำว่า
จริยธรรม
ตามที่บุคคลต่าง
ๆ
ได้กล่าวไว้
ดังนี้
พระราชชัยกวี (ภิกขุพุทธทาส
อินทปัญโญ)
กล่าวว่า
จริยธรรมเป็นสิ่งพึงประพฤติ
จะต้องประพฤติ
ส่วนศีลธรรม
นั้น
คือสิ่งที่กำลังประพฤติอยู่หรือประพฤติดีแล้ว
วิทย์
วิศทเวทย์
อธิบายว่า
จริยธรรมคือความประพฤติตามค่านิยมที่พึงประสงค์
สาโรช
บัวศรี
ให้ความหมายของจริยธรรมว่า
คือ
หลักความประพฤติที่อบรมกิริยาและปลูกฝังลักษณะนิสัยให้อยู่ในครรลองของของคุณธรรมหรือศีลธรรม
สุลักษณ์
ศิวรักษ์
กล่าวว่า
จริยธรรม
คือสิ่งที่คนในสังคมเกิดความเชื่อถือซึ่งมีตัวตนมาจากปรมัตถสัจจะ
ก่อ
สวัสดิพาณิชย์
กล่าวว่า
จริยธรรม
ประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งที่ดีงามและเหมาะสม
ดวงเดือน
พันธุมนาวิน
(2538)
กล่าวว่า
คำว่า
จริยธรรม
นั้น
หมายถึง
ระบบการทำความดี
ละเว้นความชั่ว
ซึ่งเป็นระบบที่หมายถึงสาเหตุที่บุคคลจะกระทำหรือไม่กระทำ
และผลของการกระทำและไม่กระทำ
ตลอดจนกระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเหล่านี้ด้วย
สำหรับความหมายของจริยธรรมในการทำงาน
ดวงเดือน
พันธุมนาวิน
(2538)
กล่าวว่า
คือ
ระบบการทำความดีละเว้นความชั่ว
ในเรื่องซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบและเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติ
เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การทำงาน
เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน
และผลงานตลอดจนเกี่ยวข้องกับผู้รับผลประโยชน์หรือโทษจากผลงานนั้น
ๆ
จากความหมายของทั้งสองคำดังกล่าว
พบว่ามีความใกล้เคียงกันเป็นอย่างมากจึงมักเป็นคำที่ใช้คู่กัน
แต่อย่างไรก็ตามสรุปได้ว่าการมีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลทั้งในการดำรงชีวิตประจำวันและในการทำงานหรือการประกอบวิชาชีพจะส่งผลให้บุคคลมีความสุขในการอยู่ร่วมกันในสังคม
1.
2
แหล่งกำเนิดคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรมและจริยธรรม
เป็นหลักการที่มนุษย์ในสังคมควรยึดถือปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดคุณธรรมและจริยธรรมขึ้นในสังคมตลอดมา
เนื่องจากมีความพยายามที่ต้องการสร้างหลักคุณธรรมและจริยธรรมที่เป็นสากลให้บุคคลเกิดความรู้สึกในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรมในแนวทางที่สอดคล้องกับพฤติกรรม
แหล่งก่อกำเนิดของคุณธรรมจริยธรรมอาจแบ่งออกได้เป็น
2
ประการ
คือ
1.2.1
แหล่งกำเนิดภายในตัวบุคคล
อริสโตเติล
(Aristotle)
ได้แยกแยะแหล่งที่เกิดของคุณธรรมว่าเป็นคุณธรรมอันเกิดจากปัญญา
และคุณธรรมอันเกิดจากศีลธรรมและจริยธรรมว่า
คุณธรรมอันเกิดจากปัญญา
เป็นคุณธรรมในระดับปัจเจกบุคคล
กล่าวคือ
ผู้ที่มีสติปัญญามักจะสามารถพัฒนาจริยธรรมได้ด้วยหลักของการคิดไตร่ตรอง
ส่วนคุณธรรมอันเกิดจากศีลธรรมและจริยธรรมนั้น
เป็นคุณธรรมที่เกิดจากการปฏิบัติจริงด้วยการเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกัน
เป็นการแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้องซึ่งนำไปสู่สภาวะของความเป็นสุข
(จำเริญรัตน์
เจือจันทร์.
2537)
แหล่งกำเนิดนี้กล่าวถึงพื้นฐานของมนุษย์ที่ได้มาจากธรรมชาติเป็นตัวกำหนด
ซึ่งแบ่งแยกออกเป็น
2
ประการ
คือ
1)
ตัวกำหนดมาจากพันธุกรรมที่ส่งทอดมาจากบรรพบุรุษ
มนุษย์เกิดมาพร้อมด้วยคุณภาพของสมองที่จะพัฒนาขึ้นเป็นความเฉลียวฉลาดด้านปัญญาโดยได้รับการถ่ายทอดส่วนนี้มาจากบรรพบุรุษโดยผ่านกระกระบวนการทางพันธุกรรม
การพัฒนาของสมองจะดำเนินไปตามรหัสพันธุกรรมที่กำหนดไว้ตั้งแต่เกิด
แม้ว่าการพัฒนาด้านการคิดและสติปัญญาจะเจริญพัฒนาต่อมาภายใต้อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูและสิ่งแวดล้อม
แต่คุณภาพของสมองที่บุคคลได้รับจะเป็นพื้นฐานเบื้องต้น
ดังเช่น
ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้ธรรมได้ด้วยตนเองด้วยปัญญาของพระองค์
แต่การเกิดมโนธรรมในมนุษย์
พระองค์ได้ทรงแบ่งประเภทของบุคคลออกเป็นดอกบัวประเภทต่าง
ๆ
บุคคลที่เป็นประเภทดอกบัวที่อยู่บานชูช่อเหนือน้ำ
คือ
บุคคลที่สามารถเรียนรู้และประจักษ์ในความดีและความชั่วด้วยปัญญานั่นเอง
ส่วนบุคคลที่เป็นประเภทดอกบัวประเภทอื่น
ๆ
ก็อาจสามารถรู้ผิดชอบชั่วดีได้ด้วยการอบรมสั่งสอนตามระดับความสามารถของสติปัญญา
นอกจากนี้
สัญชาตญาณแห่งชีวิต
(Life
instinct)
ของมนุษย์
ทำให้มนุษย์คิดหาแนวทางในการที่จะมีชีวิตอยู่รอด
และการมีสติปัญญาในระดับที่สูง
ทำให้มนุษย์สามารถคิด
พิจารณา
และแยกแยะเหตุและผลได้เพื่อมีชีวิตอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
2)
ตัวกำหนดมาจากสภาพจิต
จากแนวความคิดที่ว่าจริยธรรมมีแหล่งกำเนิดจาก
ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
ซึ่งเกิดขึ้นจากมโนธรรมที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิด
ดังนั้น
แหล่งกำเนิดของคุณธรรมและจริยธรรมจึงเป็นคุณภาพของสมองในการคิด
และคุณภาพของจิตที่สามารถแยกแยะความถูก
ความผิดได้เป็นพื้นฐาน
สภาพของจิตนั้นทำให้บุคคลจดจำสิ่งที่เป็นเคียดแค้น
บาดหมางใจ
หรือรู้สึกผิดตลอดเวลากับการตัดสินที่พลาดพลั้งไป
ดังนั้นสภาพจิตก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่อาจนำไปสู่การมีคุณธรรมและจริยธรรมและการขาดคุณธรรมและจริยธรรมได้เท่า
ๆ
กัน
แต่อย่างไรก็ตามคุณธรรมและจริยธรรมมีความสัมพันธ์กับสติปัญญา
นักบริหารการศึกษาที่มีคุณสมบัติด้านสติปัญญาย่อมได้เปรียบในด้านความคิดและการแสวงหาเหตุผล
และสามารถพิจารณาผลที่จะบังเกิดขึ้นจากการกระทำของตนได้
นักบริหารที่มีสติปัญญาในระดับสูงจะเป็นผู้ที่สามารถคิดแก้ปัญญาโดยยึดหลักเหตุผลที่ให้ประโยชน์สุขแก่ตนเองและไม่ทำให้ตนเองได้รับความเดือดร้อนในภายหลังได้
ซึ่งกล่าวได้ว่าเกิดเป็นผลประโยชน์ที่ยังความสุขมาให้อย่างยั่งยืน
1.2.2
แหล่งกำเนิดภายนอกตัวบุคคล
ส่วนสาเหตุภายนอกตัวบุคคล
ดวงเดือน
พันธุมนาวิน
(2538)
กล่าวว่า
ในการที่บุคคลนั้นจะทำความดี
หรือละเว้นการกระทำที่ไม่น่าพึงปรารถนามากน้อยเพียงใดนั้น
สาเหตุที่สำคัญ
คือ
คนรอบข้าง
กฎระเบียบ
สังคม
วัฒนธรรมและสถานการณ์ที่บุคคลประสบอยู่
นอกจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน
การมีหรือการขาดแคลนสิ่งเอื้ออำนวยในการทำงาน
ตลอดจนบรรยากาศทางสังคมในที่ทำงาน
กลุ่มเพื่อนและวัฒนธรรมในองค์กร
จะมีผลต่อพฤติกรรมการทำงาน
และสุขภาพจิต
ตลอดจนความสุขความพอใจในการทำงาน
วริยา
ชินวรรโณ
(2546)
ได้อธิบายถึงอิทธิพลที่เป็นผลต่อการเกิดคุณธรรมและจริยธรรมในประเทศไทยซึ่งเริ่มมีขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นรากฐานของแหล่งคุณธรรมจริยธรรม
ซึ่งสามารถนำมาอธิบายได้
ดังนี้
1)
อิทธิพลของคำสาบานกฎหมาย
ระเบียบและวินัย
หลักจริยธรมที่ได้จากคำสาบาน
ถือเป็นราชประเพณีที่ผู้บริหารบ้านเมืองต้องกระทำ
นอกจากกฎหมายที่ระบุไว้เป็นจริยธรรมหรือวินัยของผู้ปฏิบัติงาน
การให้คำสาบานจึงเป็นการกำหนดพฤติกรรมที่เป็นคุณธรรมจริยธรรมซึ่งเป็นเงื่อนไขผูกมัดด้วยวาจาที่เชื่อมโยงกับความศักดิ์ของพิธีกรรม
ซึ่งทำให้เกิดเป็นข้อกำหนดแนวทางความประพฤติซึ่งมีวัฒนธรรมเป็นตัวกำกับอยู่ด้วยและอาจกลายมาเป็นกฎเกณฑ์ในที่สุด
ส่วนในเรื่องของกฎหมายในปัจจุบัน
นักบริหารต้องคำนึงถึงหลักกฎหมายอย่างเป็นธรรม
กฎหมายบ้านเมืองเป็นตัวกำหนดคุณธรรมและจริยธรรมในด้านการกระทำต่อกันในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ
เพื่อขจัดความขัดแย้งระหว่างประชาชนในประเทศนั้น
ๆ
ประชาชนจำเป็นจะต้องเรียนรู้และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เป็นเป็นกฎหมายสำหรับประชาชนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม
ดวงเดือน
พันธุมนาวิน
(2538)
พบว่า
การที่บุคคลรู้ว่าอะไรดีอะไรเหมาะสมและสำคัญนั้นไม่เพียงพอ
ที่จะทำให้เขามีพฤติกรรมตามนั้นได้
เพราะคนที่ทำผิดกฎหมาย
เช่น
ไปลักทรัพย์หรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น
ไม่ได้ทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์
แต่ทำไปทั้ง
ๆ
ที่รู้ว่าผิด
เพราะหลังจากที่กระทำลงไปแล้วก็จะหลบหนีซ่อนตัวเพราะกลัวถูกจับมาลงโทษนั่นเอง
นักบริหารก็เช่นกัน
เมื่อรู้ตัวว่ากระทำผิดมักจะรู้แก่ใจและมักจะแสดงพฤติกรรมอื่น
ๆ
เพื่อกลบเกลื่อน
2)
อิทธิพลของศาสนา
ทุกศาสนาย่อมมีคำสั่งสอนเป็นศีลและธรรมให้บุคคลผู้นับถือและศรัทธาให้การยอมรับและเชื่อฟัง
พร้อมที่จะปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไง
ดังเช่น
พุทธศาสนาซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย
ได้กล่าวแถลงธรรมในการบริหารจัดการและการปกครองแผ่นดินของพระมหากษัตริย์
อันได้แก่
ทศพิธราชธรรม
จักรวรรดิวัตร
ราชสังคหวัตถุ
และราชวสดีธรรม
เป็นต้น
(วริยา
ชินวรรโณ,
2546)
ธรรมเหล่านี้อันที่จริงแล้วเป็นหลักธรรมที่ข้าราชการ
ผู้บริหารและผู้ประกอบวิชาชีพต่าง
ๆ
ควรยึดถือปฏิบัติตามด้วย
ทศพิธราชธรรม
คือ
ธรรมของพระราชา
มีข้อปฏิบัติรวม
10
ประการ
ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ได้
กับหลักการบริหารอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมได้
ดังนี้
(1)
ทาน
คือ
การให้ทานทรัพย์สินสิ่งของ
(2)
ศีล
คือ
ความประพฤติที่ดีงาม
(3)
ปริจจาคะ
คือ
การบริจาค
การยอมสละผลประโยชน์ส่วนตน
เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
(4)
อาชชวะ
คือความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
มีความเป็นกลาง
คือ
ความไม่ลำเอียงหรือมีอคติ
(5)
มัททวะ
คือ
ความสุขภาพอ่อนโยนต่อปวงชนทั้งปวง
มีสัมมาคารวะ
(6)
ตบะ
คือ
มีความเพียร
ไม่เกียจคร้าน
มีความพยายามแสวงหาแนวทางสู่ความสำเร็จ
(7)
อักโกธะ
คือ
ความไม่โกรธ
การทำจิตใจให้ผ่องใส
มีสติและรู้เหตุผลอยู่ตลอดเวลา
(8)
อวิหิงสา
คือ
ความไม่เบียดเบียนข่มเหง
ความไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น
(9)
ขันติ
คือ
ความอดทน
ความคงสภาพให้สามารถต่อสู่กับอุปสรรคได้โดยไม่ท้อถอย
(10)
อวิโรธนะ
คือ
ไม่ประพฤติผิดในธรรม
ไม่ผิดพลาด
เป็นผู้ที่ทำแต่ความดีและได้ผลลัพธ์ของการกระทำที่ดี
จักรวรรดิวัตร
คือ
หลักธรรมที่พระมหากษัตริย์และข้าราชการของพระองค์ใช้ในการดำเนินนโยบายทางการบริหารบ้านเมือง
มีหลักปฏิบัติ
12
ประการ
ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ให้ตรงตามกับบทบาทหน้าที่ได้
ดังนี้
(1)
การอบรมผู้ปกครองให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
(2)
การผูกสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ
(3)
การให้รางวัลอันสมควรแก่ผู้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
(4)
การเกื้อกูลผู้ทรงศีล
เครื่องพรต
และไทยธรรม
และอนุเคราะห์คหบดี
ด้วยความช่วยเหลือให้สิ่งที่จำเป็นสำหรับอาชีพ
(5)
การอนุเคราะห์ให้เลี้ยงชีพได้ตามควรแก่อัตภาพ
(6)
การให้ความอุปการะแก่ผู้ทรงศีลที่ประพฤติชอบ
(7)
การห้ามการเบียดเบียนสัตว์
(8)
การชักนำให้บุคคลทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรม
ขจัดการทำบาปทำกรรม
และความไม่เป็นธรรม
(9)
การให้การสงเคราะห์แก่ผู้ที่ขัดสนไม่พอเลี้ยงชีพ
(10)
การเข้าหาผู้ทรงศีลในโอกาสอันควร
เพื่อศึกษาถึงบุญบาป
(11)
การตั้งวิรัติจิตไม่ให้เกิดธรรมราคะดำกฤษณา
(12)
การระงับความโลภ
ห้ามจิตใจไม่ให้ปรารถนาลาภที่ไม่ควรได้
ราชวสดีธรรม
คือ
ธรรมที่เป็นหลักในการปฏิบัติราชการ
ซึ่งมีสาระสรุปได้เป็น
3
หลักใหญ่
รวม
49
ข้อปฏิบัติ
หลักใหญ่
3
ประการ
ได้แก่
(1)
หลักธรรมที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อพระราชาโดยตรง
(2)
หลักธรรมที่เกี่ยวกับการควบคุมตนเอง
(3)
หลักธรรมที่เกี่ยวกับการทำงาน
3)
อิทธิพลที่ได้จากหลักธรรมตามแนวพระราชดำริและพระบรมราโชวาท
รวมทั้งโอวาทของผู้นำระดับสูงในอดีต
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองโดยพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นที่รักเคารพอย่างยิ่ง
ดังนั้นพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ทุกประองค์เป็นเสมอนหลักธรรมในการครองตน
ครองคนและครองงาน
ดังเช่น
พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ให้ไว้เมื่อ
วันที่
8
กรกฎาคม
2520
ที่จะขออัญเชิญมาแสดงไว้
ณ
ที่นี้
ความว่า
“...การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา
คือที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น
จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้
จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต
ความบริสุทธิ์ใจและความถูกต้องเป็นธรรม
ประกอบด้วย
เพราะเหตุว่า
ความรู้นั้นเป็นเหมือนเครื่องยนต์
ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว
ส่วนคุณธรรมดังกล่าวเป็นเหมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ
ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำพาให้ยวดยานดำเนินไปถูกทาง
ด้วยความสวัสดี
คือ
ความปลอดภัย
จนบรรลุถึงจุดหมายที่พึงประสงค์…”
พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ให้ไว้เมื่อ
วันที่
15
มีนาคม
2526
ที่จะขออัญเชิญ
มา
แสดงไว้
ณ
ที่นี้
มีข้อคิด
4
ประการ
ความว่า
“
การกระทำการงานสร้างเกียรติยศชื่อเสียง
และความเจริญก้าวหน้า
นอกจากจะต้องใช้วิชาความรู้ที่ดีแล้ว
แต่ละคนยังต้องมีจิตใจที่มั่นคงในความสุจริต
และมุ่งมั่นต่อความสำเร็จเป็นรากฐานรองรับ
กับต้องอาศัยกุศโลบายหรือวิธีการอันแยบคาย
ในการประพฤติปฏิบัติเข้าประกอบอีกหลายประการ
ประการแรก
ได้แก่
การสร้างศรัทธาความเชื่อถือในงานที่ทำซึ่งเป็นพละกำลัง
ส่งเสริมให้เกิดความพอใจ
และความเพียรพยายามอย่างสำคัญในอันที่จะทำการงานให้บรรลุผลเลิศ
ประการที่สอง
ได้แก่
การไม่ประมาทปัญญา
ความรู้ความฉลาด
ความสามารถทั้งของตนเองทั้งของผู้อื่น
ซึ่งเป็นเครื่องช่วยทำงานให้ก้าวหน้ากว้างไกล
ประการที่สาม
ได้แก่
การรักษาความจริงใจทั้งต่อผู้อื่นและต่อตัวเอง
ซึ่งเป็นเครื่องทำให้ไว้วางใจร่วมมือกัน
และทำให้งานสำเร็จโดยราบรื่น
ประการที่สี่
ได้แก่
การกำจัดจิตใจที่ต่ำทราม
รวมทั้งสร้างเสริมความคิดจิตใจที่สะอาด
เข้มแข็งที่จะช่วยให้ฝักใฝ่แต่ในการที่จะปฏิบัติดี
ให้เกิดความก้าวหน้า
ประการที่ห้า
ได้แก่
การรู้จักสงบใจ
ซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้ยั้งคิดได้
ในเมื่อมีเหตุทำให้เกิดความหวั่นไหวฟุ้งซ่าน
และสามารถพิจารณาแก้ไขปัญหาได้โดยถูกต้อง...”
นอกจากนี้พระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ที่ทรงกล่าวถึง
คนดี
ก็เป็นพระราชดำรัสที่มีอิทธิพลต่อการเกิดจิตสำนึกในคุณธรรมและจริยธรรม
ดังความว่า
“คนดีของฉันรึ
จะต้องเป็นคนไม่พูดปด
ไม่สอพลอ
ไม่อิจฉาริษยา
ไม่คดโกงและไม่มีความทะเยอทะยานอย่างบ้า
ๆ
แต่พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีในขอบเขตของศีลธรรม”
สำหรับคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพทางการศึกษานั้น
สุภัทร
ปัญญาทีป
(2546)
กล่าวว่า
องค์ความรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมตะวันออกและสังคมตะวันตกมีอิทธิพลต่อคุณธรรมจริยธรรมของไทย
โดยเฉพาะในวงการการศึกษาว่า
เมื่อนำมาพิจารณาถึงกรอบขององค์ความรู้อาจมาจาก
3
แหล่ง
คือ
1)
แหล่งศาสนา
ซึ่งเป็นแหล่งของคำว่า
จริยธรรม
ศีลธรรมและคุณธรรม
จนกลายเป็นบทบัญญัติที่เป็นกฎระเบียบ
–
จรรยาบรรณ
ในวิชาชีพต่าง
ๆ
2)
แหล่งปรัชญา
โดยเฉพาะสาขาที่เป็นคุณค่าวิทยา
ซึ่งได้แก่
จริยศาสตร์
ศีลธรรม
สุนทรียศาสตร์
และปรัชญาการศึกษา
3)
จากแหล่งจริยธรรม
ประเพณีทางสังคม
เช่น
กฎหมาย
ภูมิปัญญา
วิถีประชา
ค่านิยม
ภาษา
และ
วัฒนธรรม
เป็นต้น
แหล่งองค์ความรู้เหล่านี้ล้วนเป็นกรอบความประพฤติที่นำมาสู่การวางแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานของวิชาชีพและนำไปสู่การกำหนดไว้เป็นจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.2.3
ปัจจัยทั้งภายนอกและภายในร่วมกัน
การที่คนเราจะทำความดีหรือไม่
มากน้อยเพียงใดนั้น
ขึ้นอยู่กับสาเหตุทั้งภายนอกและภายในตัวบุคคล
สาเหตุภายในคือลักษณะจิตต่าง
ๆ
เช่น
การไม่เห็นแก่ตัว
แต่เห็นแก่ส่วนรวม
การมุ่งอนาคตและความสามารถในการควบคุมตนเอง
ความเชื่อที่ว่าทำดีจะนำไปสู่ผลดี
และการทำชั่วต้องได้รับโทษ
นอกจากนั้นการมีความพอใจและเห็นด้วยกับความดีต่าง
ๆ
และเห็นความสำคัญของความดีเหล่านั้น
เช่น
ความซื่อสัตย์
การเคารพกฎระเบียบละกฎหมาย
ความสามัคคี
เป็นต้น
ลักษณะทางจิตเหล่านี้มีความสำคัญมาก
(ดวงเดือน
พันธุมนาวิน,
2538)
บุคคลแต่ละคนจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของจิตใจของตนและสภาพแวดล้อมภายนอกไปพร้อม
ๆ
กัน
ในการที่จะกล่าวว่าการทำหรือไม่ทำพฤติกรรมต่าง
ๆ
นั้น
จิตใจหรือสภาพแวดล้อมจะมีอิทธิพลมากกว่ากัน
ในการที่บุคคลนั้น
จะทำความดีละเว้นความชั่วก็ตอบได้ว่าใครจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพแวดล้อมมากหรือน้อยนั้น
ย่อมขึ้นอยู่กับคุณภาพทางจิตใจของบุคคลนั้น
คนที่จิตใจยังไม่พัฒนาไปสู่ขั้นสูง
เช่น
เด็ก
หรือคนที่มีจิตใจต่ำแม้ว่าจะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ตาม
จะเป็นผู้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพแวดล้อมภายนอก
บุคคลนั้นจะทำความดีละเว้นความชั่ว
ในสถานการณ์ที่มีคนออกคำสั่งคอยสอดส่อง
และควบคุมบังคับเท่านั้น
และจะทำความดีเพราะต้องการรางวัล
หรืองดเว้นการกระทำที่ไม่ดีเพราะกลัวถูกลงโทษ
กลัวคนอื่นเห็น
กลัวโดนจับได้เท่านั้น
ส่วนผู้ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของสภาพแวดล้อมน้อยจะกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดจึงมักขึ้นอยู่กับการพิจารณาโดยตนเองอย่างรอบคอบโดยไม่เห็นแก่ตัว
แต่ทำตามกฎระเบียบ
ทำงานเพื่องานอย่างเต็มความสามารถด้วยใจรัก
และทำเพื่อหน่วยงานและส่วนรวมเป็นสำคัญ
ผู้ที่มีจิตใจแกร่งไม่พ่ายแพ้ต่อสถานการณ์ที่ยั่วยุให้ทำชั่ว
มีระเบียบวินัย
ควบคุมบังคับตนเองได้
ทำความดีเสมอ
แม้จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้อื่นก็ตาม
บุคคลประเภทนี้มีจิตใจสูง
จากการพิจารณาพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมของ
สุนทร
โคตรบรรเทา
(2544)
ซึ่งกล่าวว่า
จริยธรรม
คือ
ค่านิยมในระดับต่าง
ๆ
ซึ่งสังคมและบุคคลจำเป็นต้องยึดมั่นถือมั่นในการที่จะศึกษาเรื่องค่านิยมให้ลึกซึ่งต้องศึกษาเรื่องค่านิยมให้กว้างขวางออกไป
แสดงว่าสิ่งที่มีความสำคัญต่อการเกิดคุณธรรม
คือ
ค่านิยม
เพราะค่านิยมหมายถึงสิ่งที่บุคคลยอมรับว่ามีความสำคัญมากซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มบุคคลและวัฒนธรรม
เช่น
ค่านิยมในการมีการศึกษาระดับสูง
ความกตัญญูต่อบิด
มารดาและครูอาจารย์นั้น
ในบางสังคมเห็นว่าสองสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
แต่ในบางกลุ่มอาจเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ
เพราะอาจไม่ใช่สิ่งที่จำเป็น
หรือความกตัญญูอาจจะมีความสำคัญในระดับที่ต่ำเพราะยังมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่าความกตัญญู
เช่น
ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและความเสียสละ
เป็นต้น
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
คุณธรรมและค่านิยมของบุคคลนั้น
คือ
การยอมรับว่าสิ่งใดดี
สิ่งใดชั่ว
สิ่งใดสำคัญสิ่งใดไม่สำคัญ
สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่
การเห็นผิดเป็นชอบ
ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ซึ่งเป็นประสบการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
นอกจากนั้นการที่บุคคลจะมองเห็นว่าสิ่งใดสำคัญมากหรือน้อยก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้
ตามสถานการณ์และยุคสมัยด้วย
เช่น
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาตินั้น
เป็นคุณธรรมและค่านิยมที่มีความสำคัญมากกว่าในอดีต
เป็นต้น
คุณธรรมและค่านิยมต่าง
ๆ
นั้นจึงเป็นสาเหตุของการทำดีละเว้นความชั่ว
การที่บุคคลมีคุณธรรมและมีค่านิยมที่เหมาะสมแล้วน่าจะเป็นผู้ที่มีจริยธรรมที่เหมาะสมด้วย
1. 3
ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง
คุณธรรม
จริยธรรมและศาสนา
เนื่องจาก
คำว่า
คุณธรรมและจริยธรรมมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
เพราะทุกศาสนามีคำสั่งสอนที่เป็นแนวปฏิบัติทางธรรมที่นำไปสู่การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ศาสนาจะกำหนดว่าสิ่งใดควรทำและควรละเว้น
เพื่อให้ผู้นับถือและศรัทธาในศาสนาปฏิบัติตามศีลและธรรมที่กำหนดไว้
เนื่องจากศาสนามีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต
ศาสนาจะเป็นเสมือนคำสอนที่สร้างความเข้าใจในสภาพที่เป็นเงื่อนไขทางธรรมชาติที่ไม่อาจแสวงหาคำตอบที่ชัดเจนได้
คุณธรรม
จริยธรรมและศาสนาจึงมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
โดยเฉพาะคำว่า
คุณธรรมนั้นมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่าศีลธรรมเป็นอย่างยิ่ง
ดังที่
ประภาศรี
สีหอำไพ
(2543)
กล่าวว่า
คุณธรรม
จะเป็นของหลักจริยธรรมที่สร้างความรู้สึกผิด
ชอบชั่วดี
มีคุณงามความดีภายในจิตใจอยู่ในขั้นสมบูรณ์จนเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขความยินดี
ดังตารางการแสดงการเปรียบเทียบ
(ประภาศรี
สีหอำไพ,
2543
หน้า
28)
ดังนี้
ตารางที่ 1
แสดงการเปรียบเทียบความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่าง
จริยธรรม
คุณธรรมและศาสนา
จริยธรรม (Ethic) |
คุณธรรม (Moral) |
ศาสนา (Religion) |
มาจากภาษากรีก
ethos
แปลว่าหลักความประพฤติหรือลักษณะนิสัย
(character) |
มาจากภาษาละตินว่า
mores
แปลว่าขนบธรรมเนียมประเพณี
(custom) |
มาจากภาษาละติน
ว่า
religo
แปลว่า
คือปรัชญาที่ผูกมัดให้เกิดความเชื่อสูงสุด
(ultimate
metaphysical belief) |
เป็นความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์เกี่ยวกับการกำหนดคุณค่าหรือค่านิยม
|
เป็นเครื่องชี้ความประพฤติ |
เป็นหลักเกณฑ์ของพฤติกรรม |
เป็นปรัชญาของคุณธรรม |
เป็นผลผลิตทางสังคม |
เป็นสื่อนำคุณธรรมสูงสุด |
เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา |
เป็นวินัย
สังคมและความเป็นอิสระซึ่งแสดงออกเป็นค่านิยมอย่างชัดเจน |
มีกฎของสังคม
มโนทัศน์
อารมณ์และการฝึกปฏิบัติ
มีอำนาจศักดิ์เป็นข้อผูกมัดทางจริยธรรม |
ที่มา
ประภาศรี
สีหอำไพ,
2543,
หน้า
28
คุณธรรม
จริยธรรมและศาสนา
จึงมักจะถูกนำมาใช้อธิบายความหมายของพฤติกรรมที่ดีร่วมกัน
ตลอดเวลา
เนื่องจากไม่สามารถแยกส่วนความคิด
ความเชื่อและการกระทำของบุคคลออกจากกันได้อย่างชัดเจน
ผู้ที่มีจริยธรรมก็
คือ
ผู้ที่มีคุณธรรม
และผู้ที่มีคุณธรรมก็
คือ
ผู้ที่มีจิตสำนึกในด้านจริยธรรมและทั้งสองสิ่งนี้จะถูกควบคุมด้วยความเชื่อศรัทธาในศาสนา
การเป็นผู้มีคุณธรรม
คือ
เป็นผู้ปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบที่ดีงาม
มีความเข้าใจในเรื่องของการกระทำดี
ส่วนคำว่าศีลธรรมนั้น
เป็นข้อพึงปฏิบัติอันเป็นผลผลิตทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องในการปฏิบัติตนต่อกัน
เป็นการวางมาตรการที่กำหนดขอบเขตของปรัชญาคุณธรรม
การปฏิบัติตามหลักศีลธรรมจะขจัดความขัดแย้งและในทางกลับกันจะส่งเสริมความสัมพันธ์ในสังคมอีกด้วย
นอกจากนี้ยังทำให้บุคคลได้แสดงตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ข้อปฏิบัติหรือหลักศีลธรรมในสังคมหนึ่ง
มักจะสืบเนื่องมาจากศาสนาที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในสังคมนั้นเป็นส่วนใหญ่
1. 4
ความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมกับอาชีพ
คุณธรรมและจริยธรรม
มีความสำคัญอยู่ที่การให้คุณค่าของบุคคลจนเกิดเป็นความประทับใจอย่างลึกซึ้งเรียกว่าเป็นค่านิยมเฉพาะของบุคคลต่อสิ่งนั้น
ๆ
จริยธรรมที่เกิดจากค่านิยมอาจแบ่งออกได้เป็น
2
ประการ
ประการแรก
คือ
ค่านิยมพื้นฐาน
เป็นค่านิยมที่ทำให้บุคคลมีคุณธรรมประจำใจ
มีธรรมเนียมประเพณีที่ดี
กฎหมาย
และกฎระเบียบที่ควบคุมสังคม
และ
ประการที่
2
คือ
ค่านิยมวิชาชีพ
ทำให้บุคคลมีอุดมการณ์ประจำวิชาชีพ
มีจรรยาบรรณวิชาชีพหรือมีพระราชบัญญัติวิชาชีพ
เป็นต้น
(จำเริญรัตน์
เจือจันทร์,
2548)
ซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพในตอนต่อไป
ความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรมอาจแบ่งออกได้เป็น
3
ระดับ
คือ
1.4.1
ระดับการดำรงชีวิต
คุณธรรมและจริยธรรมจะเป็นตัวนำที่ทำให้บุคคลได้กำหนพฤติกรรมของตนเอง
เพื่อทำให้เกิดความสุข
1.4.2
ระดับสังคม
ความสุขของบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเพื่อนและสังคม
คือ
การได้รับการยอมรับ
บุคคลต้องอาศัยคุณธรรมและจริยธรรม
เพื่อรักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและส่งเสริมชื่อเสียง
เกียรติคุณของบุคคล
และในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ
เช่น
จริยธรรมจะเป็นอุดมการณ์หรือจุดมุ่งหมายอันสูงสุดสำหรับวิชาชีพนักกฎหมายในอันที่จะให้ความยุติธรรม
การดำรงไว้ซึ่งความสุขของสังคม
และการใช้เหตุผลยิ่งกว่าการกระทำตามอำเภอใจ
(วิชา
มหาคุณ,
2546)
1.4.3
ระดับโลก
คุณธรรมและจริยธรรมอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักธรรมที่คุ้มครองโลกให้อยู่รวมกันได้อย่างสันติสุข
โดยเฉพาะในโลกยุคโลกาภิวัตน์
ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมก่อให้เกิดการแพร่กระจายในด้านข้อมูลข่าวสาร
รวมทั้งการไหลของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
ในยุคนี้เป็นยุคของการแข่งขันและท้าทายความสามารถในการดำเนินการบริหารทุกสาขารวมทั้งธุรกิจการค้าในระบบโลกสากล
การดำรงชีวิตตามปกติสุขของมนุษย์จะมีปัญหาถ้ามนุษย์เกิดความวิตกกังวลและสับสนในเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม
และเรียกร้องสิ่งนี้เพื่อความอยู่รอดร่วมกันอยู่ตลอดเวลา
จะพบว่าความไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมของประเทศหนึ่งอาจทำลายล้างสันติสุขของทุกประเทศในโลกนี้ได้
แต่ทว่าความีคุณธรรมและจริยธรรมต้องได้รับการปลูกฝังด้วยการอบรมสั่งสอนให้คิดแน่นอยู่ในระบบความคิด
ซึ่งต้องใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร
ตอนการเรียนรู้ที่
2
กฎและทฤษฎีทางจริยธรรม
ทฤษฎีทางจริยธรรมมีรากฐานมาจากองค์ความรู้ด้าน
จริยศาสตร์
(Ethics)
หรือ
ปรัชญาจริยะ
(Moral
philosophy)
ซึ่ง
จำเริญรัตน์
เจือจันทร์
(2548)
อธิบายว่า
เป็นศาสตร์ที่พยายามจะทำการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจระบบแนวคิดหรือสังกัปทางจริยธรรม
รวมทั้งตัดสินหลักการและทฤษฎีทางจริยธรรมโดยการวิเคราะห์แนวความคิด
เช่น
วิเคราะห์ความถูกต้อง
ความผิด
ความพอเหมาะพอควร
ความดี
หรือความเลว
กฎและทฤษฎีทางจริยธรรมที่จะกล่าวถึงในตอนการเรียนรู้ที่
2
นี้
จะเป็นหลักที่นักบริหารสามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในด้านการบริหารงานได้อย่างผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม
2.1
สัมพันธ์ระหว่างกฎกับทฤษฎี
กฎ
คือ
สิ่งที่เป็นสากลที่ทุกคนในสังคมยอมรับได้
เป็นข้อตกลงที่ยอมรับร่วมกันเป็นเหตุเป็นผลที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง
กฎ
อาจเกิดได้ใน
สองลักษณะด้วยกัน
คือ
เกิดจากการอุปมานข้อเท็จจริง
โดยการรวบรวมจากข้อเท็จจริงทั้งหลาย
ๆ
ข้อเท็จจริง
หรือจากการอนุมานทฤษฎี
โดยการดึงเอาส่วนย่อย
ๆ
ของทฤษฎีมาสังเคราะห์เป็นกฎ
กฎที่ดีต้องเป็นหลักที่เน้นความสำคัญระหว่างเหตุผลและกฎมีความเป็นจริงในตัวของมันเอง
มีความเป็นปรนัยและสามารถพิสูจน์ทดลองได้ผลตรงกันทุกครั้งและถ้าหากมีผลการทดลองใดที่ขัดแย้งกับกฎแล้ว
กฎนั้นต้องยกเลิกไป
แต่กฎไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ว่า
ทำไมเหตุกับผลจึงมีความสัมพันธ์กันเช่นนั้น
สิ่งที่สามารถอธิบายได้ระหว่างเหตุกับผลในตัวกฎ
กฎและทฤษฎีจึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน
เช่น
กฎของพุทธจริยศาสตร์
คือ
หลักของทฤษฎีพุทธศาสตร์
เพราะเกิดจากการอุปมานข้อเท็จจริง
โดยการรวบรวมจากข้อเท็จจริงทั้งหลาย
ๆ
ข้อเท็จจริงของพุทธจริยศาสตร์มาสังเคราะห์
เป็นมโนคติแล้ว
เอามโนคติทั้งหลายมาสังเคราะห์เป็นหลักการ
2. 2
ทฤษฎีทางจริยธรรม
ทฤษฎีทางจริยธรรมมีความหลากหลายทั้งจากมุมมองของนักปรัชญา
นักจิตวิทยา
และนักจริยศาตร์
เป็นต้น
ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพิจารณาหลักคุณธรรมและจริยธรรม
2.2.1
ทฤษฎีทางจริยธรรมเชิงจริยศาสตร์
ในแต่ละทฤษฎีจริยธรรมเชิงจริยศาสตร์มีสาระสำคัญซึ่ง
จำเริญรัตน์
เจือจันทร์
(2548)
ได้นำมาสรุปเป็นแนวทางเพื่อประยุกต์ใช้
ดังนี้
1)
ทฤษฏีจริยศาสตร์ของ
อริสโตเติล
(Aristotle)
อริสโตเติล
มองว่า
คุณธรรมจริยธรรมทำให้มนุษย์มองเห็นแต่สิ่งที่มีคุณค่าเป็นลักษณะคุณธรรมเชิงพุทธิปัญญา
ซึ่งเกิดจากการเรียนการสอน
การได้รับการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรม
และคุณธรรมจริยธรรมที่เกิดจากพฤติกรรมที่อยู่ในธรรมชาติของมนุษย์
ต้องอาศัยการอยู่ร่วมกัน
ประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องร่วมกันคุณธรรมจริยธรรมจะต้องมีลักษณะสภาวะความเป็นกลาง
ความดีหรือลักษณะทางสายกลางเป็นสิ่งที่ทำได้ยากเพราะต้องสลัดสิ่งที่ติดอยู่ที่ปลายทั้งสองด้านที่เป็นความเข้มข้นและความอ่อนด้อยออกเสียก่อน
การทำได้ก็จะเข้าถึงความดี
ความดีที่
อริสโตเติล
กล่าวถึง
คือ
การอยู่ดี
ทำดีและชีวิตประสบความสุขโดยมุ่งหวังให้ทุกอย่างเป็นไปตามสภาวการณ์หรือเป็นไปตามธรรมชาติอย่างแท้จริง
หลักทฤษฎีทางจริยธรรมของ
อริสโตเติล
สามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารการศึกษาได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะหลักการว่าด้วยความดี
ความสุขและทางสายกลาง
เป็นต้น
การนำมาใช้เพื่อปลูกฝังให้
นักเรียน
ครู
อาจารย์
ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ฝักใฝ่ในความดีก็จะทำให้สังคมมีความสงบสุข
2)
ทฤษฎีสัมพัทธนิยมทางจริยธรรม
ยึดถือว่าหลักการทางจริยธรรมทั้งหลายขึ้นอยู่กับการยึดถือของสังคมที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่
กลุ่มบุคคลในสังคมอื่นอาจจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง
การยึดถือของคนในสังคมมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรม
ประเพณี
วิถีประชา
วิถีทางการชีวิต
ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา
ช้านานดังนั้นจริยธรรมของสังคมนั้นจึงเป็นเรื่องปรากฏต่อสายตาของผู้ยึดถือซึ่งเป็นสิ่งที่ในสังคมนั้นยึดถือร่วมกัน
ดังเช่น
การที่ภรรยาหม้ายต้องกระโดดกองไฟตายตามสามี
เป็นพฤติกรรมที่แสดงความรักและซื่อสัตย์ต่อสามีของคนในสังคมหนึ่งซึ่งสังคมอื่น
อาจมองว่าเป็นความโหดร้าย
การยึดถือจริยธรรมแบบสัมพัทธนิยมอาจจะมีลักษณะของการตัดสินใจด้วยตนเองหรือให้กลุ่มคนในสังคมเป็นผู้ตัดสินซึ่งถือว่าเป็นข้อยุติไม่สามารถโต้แย้งได้
ซึ่งไม่อาจนำเอาแนวความคิดของสังคมอื่น
ๆ
มาเป็นข้อโต้แย้งได้
เพราะการตัดสินใจของกลุ่มคนในสังคมเป็นความตั้งใจ
แม้ว่าจะเกิดจากความไม่เข้าใจหรือก่อให้เกิดอันตรายก็ตามก็ถือว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของสังคมนั้นในเวลานั้น
นักบริหารจึงต้องมีความระมัดระวังที่จะต้องมีจริยธรรมบนฐานความคิดที่ถูกต้อง
3)
ทฤษฎีอัตนิยม
เป็นทฤษฎีทางจริยศาสตร์ที่มีหลักการในการมุ่งเน้นตนเองเห็นหลักหรือยึดถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นประการสำคัญ
และถือว่าเป็นหลักการที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมแม้จะไม่เป็นที่ยอมรับเพราะถือว่าไม่สมเหตุสมผลของอีกฝ่ายหนึ่ง
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าทฤษฎีอัตนิยมจะสึดตนเองเป็นสำคัญแต่ก็มีลักษณะของความสมเหตุสมผลในเชิงความคิดด้านจริยธรรมในมุมมองที่เป็นการส่งเสริมตนเองซึ่งมีส่วนเกี่ยวโยงกับการส่งเสริมความดีให้แก่คนส่วนใหญ่ด้วย
อัตนิยมมีการประเมินทางเลือกไว้ว่าจะยึดถือในสิ่งที่ตนเองชอบใจและทำในสิ่งที่ตนชอบถ้าไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมจริยธรรมอันดี
และเลือกที่จะไม่ทำในสิ่งที่ตนไม่ชอบ
การได้รับความสุขจากสิ่งที่ตนทำและการช่วยเหลือผู้อื่นเนื่องจากเกิดความต้องการที่จะช่วยเหลือซึ่งเป็นแรงผลักดันให้ทำพฤติกรรมนั้นก็เป็นหลักการของอัตนิยมเช่นกัน
ดังนั้นอัตนิยมจึงมีลักษณะที่ยึดถือตนเองเป็นหลักเพื่อเลือกแนวทางซึ่งแนวทางที่เลือกก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและในทางกลับกันตนเองได้รับประโยชน์จากการให้ประโยชน์แก่สังคมด้วย
นักบริหารที่ยึดอัตนิยมจะมีความเชื่อว่าทุกคนมีความคิดเห็นเป็นของตนเอง
และยึดถือความคิดเห็นของตนเองในการตัดสินปัญหาต่าง
ๆ
โดยคิดว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ซึ่งอาจจะทำให้ขาดความเคารพในความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน
แต่อย่างไรก็ตามการบูรณาความคิดที่พึ่งพาตนเองและการเปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจจึงเป็นหัวใจสำคัญของทฤษฎีอัตนิยม
4)
ทฤษฎีอรรถประโยชน์เชิงการกระทำและเชิงระเบียบ
อรรถประโยชน์เชิงการกระทำ
แถลงว่า
การกระทำจะถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าผลของการกระทำนั้นก่อให้เกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใด
การกระทำที่ถูก
คือการการทำที่ก่อให้เกิดความสุขหรือหลุดพ้นจากความทุกข์และเป็นการกระทำที่ให้ผลแห่งความสุขแก่คนจำนวนมากด้วย
เรียกการกระทำที่ถูกต้องนี้ว่าเป็นความดี
การกระทำที่ผิด
คือ
การกระทำที่นำความทุกข์ความเดือดร้อนมาสู่คนจำนวนมาก
การวัดการกระทำดังกล่าวต้องพิจารณาจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาคำนวณค่าของความสุขและความทุกข์เป็นเชิงปริมาณ
ดังนั้นการกระทำทั้งหลายย่อมมีผลเป็นประโยชน์หรือโทษแก่ผู้ทำตามมาเสมอ
ทฤษฎีอรรถประโยชน์เชิงระเบียบ
เป็นการมองถึงการจัดระเบียบทางสังคมโดยใช้กฎระเบียบทางสังคม
กฎหมายบ้านเมืองมาใช้เพราะสิ่งเหล่านี้จะให้ความสำคัญของรูปแบบการกระทำที่ต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมโดยมีกฎระเบียบรองรับ
ซึ่งต้องเป็นกฎระเบียบที่ต้องได้รับการยอมรับตามหลักตรรกวิทยาด้วย
นักบริหารอรรถประโยชน์ต้องคำนึงถึงหลักการที่จะนำมาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
แต่นักจริยศาสตร์ยังเชื่อว่า
กฎระเบียบจะเกิดผลดีต่อสังคมในลักษณะของการประนีประนอมอีกด้วย
5)
ทฤษฎีสุขนิยม
เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าความสุขเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ดังนั้น
สิ่งที่ดีคือสิ่งที่พาไปสู่ความสุข
และแนวทางในการนำไปสู่ความสุขตามทัศนะของสุขนิยมนี้เน้นไปที่ความสุขที่สัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรม
บุญมี
แท่นแก้ว
(2541)
กล่าวว่า
ความสุขที่เป็นจุดหมายของชีวิตตามความเชื่อนี้แบ่งออกเป็น
2
ประการ
คือ
ประการที่หนึ่ง
ความสุขส่วนตน
ได้แก่
ความสุขที่เน้นตัวเองเป็นสำคัญ
และให้คุณค่าของสิ่งนั้นมากที่สุด
ความสุขส่วนนี้ได้จากการสัมผัสถูกต้องด้วยอวัยวะรับสัมผัส
เช่น
ตาดู
หูฟัง
จมูกได้กลิ่น
ลิ้นรับรส
และผิวหนังรับความรู้สึก
ประการที่สอง
ความสุขส่วนรวม
ได้แก่
ความสุขที่เน้นคนส่วนรวมเป็นสำคัญ
การแสดงพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่กระทำจึงเป็นสิ่งที่ดี
เพราะเป็นการช่วยให้สังคมมีความสุขด้วย
หลักธรรมที่สุขนิยมนำเสนอว่าเป็นความดีสูงสุดและเป็นแนวทางที่นำไปสู่ความสุขหลายประการ
เช่น
ทางสายกลาง
อริยทรัพย์
เบญจศีลเบญจธรรม
มงคลชีวิต
บุญกิริยาวัตถุ
อิทธิบาท
อริยทรัพย์
เป็นต้น
โดยเฉพาะธรรมที่เป็นอริยทรัพย์นั้น
จำเริญรัตน์
เจือจันทร์
(2548)
กล่าวว่า
นักบริหารการศึกษาสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกประเด็น
ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ดังนี้
(1)
ศรัทธา
การมีความเชื่ออย่างมีเหตุผล
(2)
ศีล
การควบคุมพฤติกรรมทางกาย
วาจา
ใจให้อยู่ในกฎระเบียบอันดีงามของสังคมซึ่งได้แก่การมีศีล
(3)
หิริ
การมีความละอายต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
เช่น
คิดฉ้อราษฎร์บังหลวง
(4)
โอตัปปะ
การมีความอดกลั้นโดยเกรงกลัวที่จะไม่ทำชั่ว
(5)
พาหุสัจจะ
การรอบรู้
รู้ลึกโดยใช้หลักการรับฟังข้อเสนอแนะ
รู้จักโต้แย้งด้วยหลักการที่เป็นเหตุเป็นผล
รู้จักวิธีการวิเคราะห์
สังเคราะห์
และนำไปสู่การบูรณาการเป็นข้อมูล
สำหรับการบริหารจัดการการศึกษา
(6)
จาคะ
การมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
มีความเสียสละ
มีน้ำใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้อื่น
(7)
ปัญญา
การมีความรู้ที่กว้างและเห็นจริง
มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเหตุผล
รู้ว่าอะไรดี
อะไรชั่ว
ถูก
ผิด
มีคุณ
มีโทษ
มีประโยน์หรือไม่มีประโยชน์
เป็นต้น
นักบริหารหากว่าต้องการจะประสบความสำเร็จและมีความสุขทั้งในส่วนตนและในส่วนรวม
จะต้องเป็นผู้ที่มีอริยทรัพย์ในตน
โดยมุ่งยึดหลักการแห่งวิชาชีพของตนว่าองค์กรทางการศึกษาเป็นองค์กรที่บ่มเพาะภูมิปัญญา
ตลอดจนมุ่งสร้างและสั่งสมความดี
เป็นแหล่งปลุกฝังคุณธรรมเพื่อความสุขในการดำรงชีวิต
6)
ทฤษฎีจริยธรรมของคานท์
(Kant)
เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามหลักจริยธรม
ว่าต้องเป็นเจตนาที่ดีและเกิดจากความตั้งใจจริง
หรือมีมูลเหตุที่จูงใจให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
โดยเริ่มจากเหตุการณ์จูงใจที่ดีจะเป็นเงื่อนไขในการกระทำดีและผลจากการกระทำดีนั้นจะเป็นผลดีและมีประโยชน์
การกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นหลักสากล
เป็นลักษณะของการกระทำตามหน้าที่และการให้ความเคารพยำเกรง
มีเงื่อนไขและมีความเด็ดขาด
โดยใช้
คติบท
(Maxim)
เป็นลักษณะการบรรยายการกระทำเชิงอัตนัยโดยมีพื้นฐานที่ดี
และมีความรู้สึกแฝงด้วยเจตนาดีเสมอ
ตามหลักการของ
คานท์
ผู้บริหารจะต้องทำตามหน้าที่บริหารการศึกษาให้ก่อประโยชน์ต่อบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องในด้านการศึกษา
และสิ่งที่สำคัญที่สุด
คือ
ต้องรู้ว่าหน้าที่ของตนคืออะไร
7)
ทฤษฎีอภิจริยศาสตร์
เป็นหลักการที่กล่าวถึงความหมายในรายละเอียดด้วยการวิเคราะห์เชิงลึกในสิ่งที่ปรากฏว่าคืออะไร
เพื่อนำมากำหนดให้ชัดเจน
เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญญาและความไม่เข้าใจที่ตรงกัน
โดยเฉพาะในความหมายของคำว่า
ความดี
ความเลว
ความถูกต้องและความผิด
การกำหนดนิยามที่เฉพาะลงไปให้ชัดเจนตรงกันโดยเฉพาะในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่ปรากฏใน
ขณะนั้น
แต่ตามหลักการแล้ว
ธรรมชาติ
คือความจริงและความดีความงามเป็นคุณสมบัติของธรรมชาติและมีคุณค่าอยู่ในตัวเองอยู่เสมอ
จำเริญรัตน์
เจือจันทร์
(2548)
อ้างถึงนักจริยศาสตร์
มัวร์
(Moore)
ว่าได้กล่าวถึงคุณค่าทางจริยธรรมว่าไม่อาจนิยามได้ด้วยสิ่งที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนไม่ว่าจะเป็นวัตถุสิ่งของหรือปรากฏการณ์
และความดีไม่อาจนิยามได้เพราะเป็นคุณสมบัติที่ไม่ใช่เป็นธรรมชาติ
ความดีเป็นความจริงที่อยู่ในตัวมันเอง
สามารถรับรู้จินตนาการและสัมผัสได้จากจิตสำนึก
ทฤษฎีนี้ยังมีความคิดที่ลึกซึ้งในเรื่องของธรรมชาติจึงเกิดเป็นหลักในการศึกษาขึ้น
เรียกว่า
ทฤษฎีธรรมชาตินิยมในอภิจริยศาสตร์
เนื่องจากนักธรรมชาตินิยมไม่ได้มองธรรมชาติในแง่ดีเสมอไป
เพราะความดีและความไม่ดีของธรรมชาติมีอยู่ในตัวเองและแยกออกจากกันไม่ได้
ดังนั้น
มนุษย์จึงมองสิ่งที่เป็นวัตถุสิ่งเดียวกันไม่เหมือนกัน
บางคนอาจจะมองว่าดีและบางคนอาจจะมองว่าไม่ดีก็ได้
นักบริหารการศึกษาต้องเรียนรู้ในเรื่องธรรมชาติของคน
เพราะการรู้ธรรมชาติเป็นกลยุทธของการบริหารอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
8)
ทฤษฎีแบบแผน
จากแนวความคิดของ
รอสส์
(Ross)
กล่าวว่า
จากหลักของพหุนิยมนั้น
คุณลักษณะที่หลากหลายสามารถก่อให้เกิดความถูกต้องได้
ดังนั้นแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่จึงเป็นหลักเด่นสำคัญที่ต้องพิจารณาก่อน
โดยกำหนดให้หน้าที่เป็นเงื่อนไขซึ่งผูกพันกับข้อเท็จจริง
ถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
เช่น
ความซื่อสัตย์
การชดใช้
ความกตัญญู
ความยุติธรรม
เป็นต้น
นอกจากนี้ยังต้องมีการจัดลำดับความสำคัญและตรวจสอบการกระทำว่าตกอยู่ในรายการใด
ดังตัวอย่างเช่น
(1)
หน้าที่ที่ต้องรักษาคำมั่นสัญญา
(2)
หน้าที่ที่ต้องชดใช้หรือชดเชย
(3)
หน้าที่ที่ต้องกตัญญูรู้คุณ
(4)
หน้าที่ที่ต้องให้ความยุติธรรม
(5)
หน้าที่ที่ต้องได้รับประโยชน์
(6)
หน้าที่ที่ต้องปรับปรุงตนเอง
(7)
หน้าที่ที่ไม่ประทุษร้ายคนอื่น
ดังนั้น
การได้ประโยชน์จากการกระทำ
การพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรมการมีเจตนาที่จะไม่ทำร้ายผู้อื่น
ความมีเมตตา
กรุณา
และความพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไห้ผู้อื่นได้รับความทุกข์
ดังนั้นการกระทำที่ถูกต้อง
คือ
การกระทำตามหน้าที่
โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีทางเลือก
แต่ถ้ามีทางเลือกก็จะต้องจัดลำดับทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงสุดเป็นอันดับแรกในการกระทำ
(จำเริญรัตน์
เจือจันทร์,
2548)
9)
ทฤษฎีอาเวค
เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึง
จริยภาษา
เนื่องจากมนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสะท้อนความคิดและอารมณ์
ความสำคัญของจริยภาษาจึงเป็นภาษาที่แสดงถึงจริยธรรม
การออกคำสั่ง
คำขอร้อง
ทั้งที่เป็นภาษาเขียนและภาษาพูดต่างแฝงด้วยอารมณ์ทั้งสิ้น
ดังนั้นการแสดงออกจึงเป็นความรู้สึกของผู้สื่อสารซึ่งอาจจำไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและไม่ยังสามารถแยกภาษาและการกระทำออกจากกันได้
ดังนั้นผู้บริหารต้องตระหนักว่า
อารมณ์ของบุคคลต่อสถานการณ์ในขณะนั้น
จึงมีทั้งทางบวกและทางลบในประเด็นเดียวกัน
ถ้าเห็นเหตุการณ์ในทางลบ
การตัดสินจริยธรรมโดยอาศัยภาษาที่แสดงอารมณ์
ก็จะใช้ภาษาแสดงอารมณ์ชักขวนให้คนอื่นหยุดการกระทำนั้น
แล้วผลของการกระทำก็เป็นความดี
การแสดงอารมณ์ในทางบวกต่อสิ่งใดก็จะเกิดอารมณ์ดีต่อสิ่งนั้น
เพราะความเชื่อและความรู้สึกทางอารมณ์เป็นสิ่งแยกกันไม่ออกจึงทำให้เกิดอารมณ์ที่รุนแรงต่อสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งที่ดีได้เสมอ
ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละบุคคล
หรือกลุ่มบุคคล
10)
ทฤษฎีบัญญัตินิยม
เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงเรื่องการสื่อสารด้วยการใช้ภาษา
การบัญญัติความใด
ๆ
ต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ
เป็นการกำหนดหรือชี้แนะที่เป็นแนวทางเลือก
ผู้บริหารต้องตระหนักว่า
ข้อบัญญัติไม่ใช่เป็นข้อห้ามแต่เป็นข้อเสนอแนะว่าไม่ควรทำ
เพื่อให้การใช้ลักษณะของการบัญญัติเป็นข้อกำหนดต่าง
ๆ
ที่ถือเป็นกติกาขององค์กรหรือสังคมที่จะต้องรับรู้ร่วมกัน
เนื่องจากแนวทางเลือกอาจมีมากมายหลายประการ
การมองมุมมองในเชิงเปรียบเทียบอย่างหลากหลาย
และประเมินให้ได้ว่าแนวทางที่เลือกแล้วนี้ดีกว่าแนวทางทางเลือกอื่น
ๆ
มนุษย์มีอิสรภาพในการเลือกเป็นอำนาจที่อยู่ในตนเอง
นอกจากการรู้จักตนเองแล้ว
มนุษย์ยังมี
จินตนาการสามารถที่จะพาตนเอง
ให้หลุดไปอยู่ในสภาพวาดที่สร้างขึ้นด้วยตนเอง
ซึ่งอาจจะห่สงไกลจากความเป็นจริงก็ได้
แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดของมนุษย์
คือ
การมีมโนธรรม
การตระหนักรู้ล้ำลึกที่อยู่ในจิต
การแยกแยะความผิดชอบชั่วดี
และหลักของการควบคุมมโนพฤติกรรม
และการปรับแนวทางของความคิดให้สอดคล้อง
กับมโนธรรมที่ตนยึดถือและสังคมยอมรับได้
(Covey, 2004)
2.2.2
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวศาสนา
ศาสนาเป็นแหล่งกำเนิดด้านจริยธรรม
ทุกศาสนามีคัมภีร์ที่ให้ผู้นับถือศรัทธายึดถือไว้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนตามศาสนกิจและตามวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมด้วย
ศาสนาที่ใหญ่
ๆ
มีผู้คนนับถือเป็นจำนวนมาก
ได้แก่
ศาสนาพุทธ
คริสต์
และศาสนาฮินดูและอิสลาม
1)
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวพุทธศาสตร์
พระเทวินทร์
เทวินโท
(2544
หน้า
346-349)
กล่าวว่า
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวพุทธศาสตร์นี้เรียกว่า
ทฤษฎีพุทธจริยศาสตร์ซึ่งเป็นสัจจทฤษฎีแห่งธรรม
โดยประกอบด้วยเหตุผลและผล
เป็นการศึกษาธรรมที่มีความเป็นธรรมชาติซึ่งหมายถึงสิ่งที่เป็นจริง
การศึกษาด้านทฤษฎีทางจริยศาสตร์นี้เป็นการศึกษาด้วยการสังเกต
ทดลองด้วยการปฏิบัติจริงและนำผลมาเป็นองค์ความรู้ของศาสตร์
ดังนั้น
การศึกษาด้านจริยศาสตร์จึงเป็นการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์
จากองค์ประกอบในด้าน
ธรรมชาติของสสาร
การรวมตัวและการแยกสลายออกจากกันจนไม่มีตัวตนที่แน่นอน
คือ
พระอภิธรรมปิฎก
ข้อประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ต่อธรรมชาติที่จะทำให้สังคมมีความสงบสุขและวิธีการที่จะทำให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ซึ่งได้แก่
เกิด
แก่
เจ็บ
ตาย
คือ
พระสุตตันตปิฎก
และข้อห้ามไม่ให้มนุษย์ทำ
ได้แก่
ศีล
กฎ
ระเบียบ
คือ
พระวินัยปิฎก
ทฤษฎีนี้ได้กล่าวถึงสัจจธรรมที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์
ไว้
3
หลักธรรม
คือ
หลักธรรมที่
1
ได้แก่
อรูปธรรมและ
รูปธรรม
ซึ่งอธิบายได้ว่า
ธรรมชาตินั้นมีอยู่สองสภาวะ
สภาวะหนึ่ง
คือ
สภาวะที่ยังไม่รวมกันเป็นธาตุ
เป็นสารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง
มีสภาวะเป็นกลาง
เป็นอยู่อย่างอัตตพิสัย
ไม่มีปฏิกิริยาไม่พลังในตัวเอง
และสภาวะสอง
คือ
สภาวะของธรรมชาติที่เป็นอัตตพิสัยแล้ว
ได้รวมตัวกันเป็นปรพิสัย
คือ
เป็นธาตุ
เป็นสารเคมีต่าง
ๆ
จนมีปฏิกิริยามีพลังงานอยู่ในตัวเอง
หลักธรรมที่
2
ได้แก่
อสังขตธรรมและ
สังขตธรรม
อธิบายได้ว่า
ธรรมชาติที่ยังไม่มีปัจจัย
ยังไม่ธาตุ
ยังไม่มีสารเคมีใด
ๆ
มาปรุงแต่ง
ให้เป็นสังขาร
ให้เป็นสิ่งที่มีชีวิตใดชีวิตหนึ่ง
ยังอยู่ในสภาพที่เป็นอากาศ
เป็นธาตุที่บริสุทธิ์อยู่
ซึ่งในอีกธรรมชาติหนึ่งคือธรรมชาติที่มีการปรุงแต่งของปัจจัยต่าง
ๆ
ธาตุชนิดต่าง
ๆ
จนรวมกันเป็นพืชเป็นสัตว์
เป็นมนุษย์เป็นสังขาร
มีชีวิต
และจิตใจ
มีวิญญาณ
เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นไปตามปกติวิสัยของธรรมชาติทั้งที่ดีและไม่ดี
หลักธรรมที่
3
ได้แก่
โลกิยธรรมและโลกุตตรธรรมอธิบายได้ว่า
ธรรมที่ทำให้มนุษย์
สัตว์
พืช
ต้องเป็นไปตามโลกธรรม
มีการเวียนว่ายตายเกิด
มีความไม่เที่ยง
มีความทุกข์
ความสุขตามปกติวิสัยไม่มีที่สิ้นสุด
มีความเป็นอนัตตา
และตกอยู่ใต้อำนาจการครอบงำของธรรมชาติที่เลวซึ่งเป็นสภาวะหนึ่งของธรรมชาติ
ในอีกซีกหนึ่งของธรรมในหลักนี้
คือ
ธรรมที่ทำให้มนุษย์และสัตว์ได้พ้นจากสภาวะปกติของโลกธรรมและโลกิยธรรม
ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิด
เมื่อบรรลุถึงสภาวะสูงสุดของโลกุตตรธรรม
ก็จะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจการครอบงำของธรรมชาติที่เลวที่ดำรงอยู่เหนือความชั่วร้ายทั้งปวง
2)
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวศาสนาคริสต์
ตามความเชื่อของศาสนาศริสต์
นิกายโรมันคาทอลิก
มีความเชื่อในความจริงหนึ่งเดียว
คือ
สิ่งศักดิ์
มีพระเจ้า
อยู่ในหนึ่งเดียวนั้น
ความเชื่อหรือพระสัจจธรรม
คือ
ยึดมั่นในพระเจ้าองค์เดียว
ว่าทรงเป็นจิตล้วนดำรงอยู่ในนิรันดรภาพ
ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งที่เห็นและมิอาจแลเห็น
พระเจ้าองค์เดียวนั้นประกอบด้วย
พระบิดา
พระบุตรและพระจิตรวมแรกว่า
ตรีเอกภาพ
หลักสูงสุดที่เป็นเกณฑ์ค่านิยมทางศาสนาอยู่ที่ความรัก
รู้ที่จะรักการมีชีวิตอยู่
ถ้าไม่มีความรักก็จะไม่มีค่าอะไร
ผู้ที่อยู่กับความรัก
คือ
ผู้ที่อยู่กับพระเจ้า
พิธีกรรมทางศาสนา
ประกอบด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์
7
ประการ
คือ
(1)
ศีลล้างบาป
หมายถึงการลบล้างบาปต่างๆ
ของมนุษย์ทั้งหมดทำให้มนุษย์กลับเป็นบุตรพระเจ้า
เป็นสมาชิกในศาสนจักร
วิญญาณเกิดมีชีวิตเหนือธรรมชาติด้วยศีลล้างบาป
(2)
ศีลอภัยบาป
หมายถึง
การลบล้างบาปที่เรากระทำตั้งแต่รู้ความจนตลอดชีวิต
เป็นการได้รับอภัยบาปจาพระเจ้า
ทำให้สามารถคืนดีกับเพื่อน
พี่น้องหรือแม้กระทั่งกับศัตรู
(3)
ศีลมหาสนิท
เป็นศีลที่ได้รับในพิธีรำลึกหรือเข้าร่วมในวันสิ้นพระชนม์
ของพระเยซู
ทำให้ได้รับพรอย่างสมบูรณ์
(4)
ศีลกำลัง
หมายถึง
การได้รับพละกำลังจากพระจิตเจ้า
เพื่อให้สามารถชนะต่อการประจญล่อลวง
มีความเข้มแข็งเชื่อมั่นที่จะเอาชนะบาป
กิเลส
ตันหาและความชั่วร้ายต่าง
ๆ
(5)
ศีลบรรพชา
หมายถึง
การทำให้บุคคลกลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์โดยการบวช
ได้รับพระพรพิเศษจากพระเจ้าให้ประกอบศาสนกิจและพิธี
กรรม
สั่งสอนพระคัมภีร์
โปรดศีลสิทธิ์ต่าง
ๆ
ปกครองสัตบุรุษในความรับผิดชอบ
ให้ความช่วยเหลือทางกายและจิตใจ
(6)
ศีลสมรส
คือ
การรับพรจากพระเจ้า
โดยชายหญิงให้คำมั่นสัญญากันว่า
จะรักและซื่อสัตย์ต่อกัน
ทั้งในยามสุขและในยามทุกข์
ทั้งในเวลาป่วยและเวลาสบาย
เป็นการให้เกียรติยกย่องกัน
จนตลอดชีวิต
ห้ามการหย่าร้าง
รวมทั้งการทำหมันและการทำแท้ง
(7)
ศีลเจิมคนป่วย
หมายถึงการเพิ่มพูนพละกำลังทั้งกายและใจให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่ดี
ถ้าสิ้นใจก็ขอให้สิ้นใจในศีลในพรของพระเจ้า
ทำให้ไปสู่สวรรค์
วิญญาณได้รับการบรรเทาเมื่อถึงคราวลาโลก
3)
ทฤษฎีจริยธรรมในศาสนา
อิสลาม
ศาสนาอิสลามมีข้อปฏิบัติที่ต้องยึดถือ
5
ประการ
คือ
ประการที่หนึ่ง
การปฏิญาณตน
เพื่อยืนยันความเชื่อถือในเอกภาพของอัลเลาะฮ์
และเป็นการให้คำมั่นสัญญาว่า
จะเคารพภักดีต่ออัลเลาะฮ์องค์เดียว
ไม่นำสิ่งใดมาเป็นภาคีกับพระองค์
และให้คำมั่นว่าศาสดามูฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์
ทั้งเป็นสัญญาโดยปริยายว่าจะปฏิบัติตามคำสอนของอัลเลาะฮ์
และศาสดาของพระองค์ด้วย
ประการที่สอง
การทำนะหมาศ
คือ
ทำนมัสการวันละ
5
ครั้ง
การมนัสการการวันละ
5เวลา
ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนั้น
เป็นการยืนยันว่าบุคคลนั้นตั้งอยู่บนหลักศรัทธา
คำว่านะหมาศหรือละหมาด
แปลว่า
การขอแสดงความจงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าทั้งกายและใจเป็นกุญแจสู่สรวงสวรรค์
เหมือนชำระร่างกายวันละ
5
ครั้ง
ย่อมหมดสิ่งโสมม
จุดมุ่งหมายของการทำนมัสการ
5
เวลา
คือ
(8)
ให้เกิดการอ่อนน้อมถ่อมตน
(9)
ขัดเกลาจิตใจและยอนให้รู้จักมารยาทในการแสดงความภักดี
(10)ให้ตรงต่อหน้าที่และตรงต่อเวลา
(11)ให้ตระหนักถึงความเสมอภาค
เคียงบ่าเคียงไหล่
ไม่แบ่งชั้นวรรณะ
(12)ให้เกิดความยำเกรงต่อความเกรียงไกรของพระผู้เป็นเจ้า
รักษาสัจจะ
ซื่อตรง
ไม่โลภ
มีความเป็นธรรม
(13)เคร่งครัดต่อระเบียบ
และเคารพกฎหมาย
(14)รักษาความสะอาดทั้งสถานที่และร่างกาย
มีการอาบน้ำนะหมาศ
ผู้ใดละทิ้งนะหมาศผู้นั้นไม่ใช่มุสลิม
การทำนะหมาศต้องหันหน้าไปจุดเดียวกันเพื่อให้เกิดเอกภาพ
ประการที่สาม
การบริจาคทาน
ชะกาต
คือทรัพย์สงเคราะห์ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่
ของผู้มีฐานะบริจาคให้แก่ผู้ยากจนและอื่น
ๆ
ตามบัญญัติรวม
6
ประเภท
(1)
ผู้ยากจน
(2)
ผู้ขัดสนอนาถา
(3)
ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ชะกาต
(4)
ผู้เข้ารับอิสลามใหม่
ๆ
(5)
ปลดปล่อยทาส
(6)
ผู้ที่มีหนี้สินล้นพ้นที่เกิดจากการทำดี
(7)
ให้วิถีทางแห่งอัลเลาะห์
(8)
ผู้เดินทางที่ขาดทุนรอน
ประเภททรัพย์สินที่ต้องบริจาค
ชะกาต
(1)
รายได้จากพืชผล
(2)
รายได้จากปศุสัตว์
(3)
ทองคำ
เงิน
(4)
ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการค้า
ประการที่สี่
การถือศีลอด
การถือศีลอด
คือ
การงดกินงดดื่ม
งดประพฤติตามอารมณ์
ฝ่ายต่ำในช่วงเวลาระหว่างรุ่งอรุณไปจนถึงกระทั่งตะวันลับฟ้าโดยให้ถือศีลอดนี้ทุกวันเป็นเวลาหนึ่งเดือน
เต็มในเดือนรอมมาฎอน
หรือเดือนที่เก้าของปฏิทินอิสลาม
จุดประสงค์ของการถือศีลอด
คือ
(1)
เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์
(2)
ให้รู้จักควบคุมจิตใจและละกิเลส
(3)
ให้รู้รสของการมีขันติ
อดกลั้น
หนักแน่นและอดทน
(4)
ให้รู้จักสภาพของคนยากจน
อดอยาก
หิวโหย
จะทำให้เกิดเมตตาแก่คนทั่วไป
ประการที่ห้า
การประกอบพิธีฮัจย์
การประกอบพิธีฮีจย์
คือ
การเดินทาง
ไปประกอบพิธีตามศาสนบัญญัติ
ณ
อัลกะอบะ
เรือปัยตุลลอฮ์
ในนครมักกะห์
มนประเทศซาอุดิอารเบีย
(ประภาศรี
สีหอำไพ
(2543)
จุดมุ่งหมายของการประกอบพิธีฮัจย์
คือ
(1)
เพื่อมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์
และแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน
(2)
เพื่อแสดงให้เห็นถึงเอกภาพและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ที่มาจากส่วนต่าง
ๆ
ของโลก
(3)
เพื่อแสดงให้เห็นว่าแม้จะมีฐานันดรของสังคมต่างกัน
แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าพิธีของพระเจ้าแล้ว
ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกัน
ซึ่งจะนำมาซึ่งความง่ายต่อความเข้าใจกัน
ทฤษฎีจริยศาสตร์เชิงศาสนา
เป็นทฤษฎีที่ใช้กุศโลบายเพื่อให้เกิดความศรัทธาต่อพระผู้เป็นศาสดาซึ่งเป็นตัวนำที่ทำให้มีความเคร่งครัดในการปฏิบัติตนตามศาสนกิจและตามคำสอนของพระธรรมในศาสนานั้น
ๆ
ซึ่งให้หลักเพื่อนำไปประกอบคุณงามความดี
ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นละเว้นความชั่ว
เป็นต้น
2.2.3
ทฤษฎีจริยธรรมเชิงจิตวิทยา
นักจิตวิทยาศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งที่เป็นพฤติกรรมภายนอกที่มนุษย์แสดงออกและพฤติหรรมภายในซึ่งเป็นพฤติกรรมทางจิต
ทฤษฎีจริยธรรมเชิงจิตวิทยาจึงมุ่งเน้นที่พฤติกรรมทางจิตของมนุษย์ที่ส่งผลให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อก่อให้เกิดความสมดุลของของกายและจิต
ฟรอยด์
(Freud)
นักจิตวิทยาผู้นำทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ได้ให้แนวคิดในการวิเคราะห์จิตซึ่ง
ฟรอยด์
และกลุ่มผู้ทำการศึกษาได้พื้นฐานความคิดมาจากพฤติกรรมการวางเงื่อนไขและปฏิกิริยาสะท้อนซึ่งเป็นผลงานการเรียนรู้แบบคลาสสิกของ
พาฟลอฟ
ฟรอยด์
กล่าวว่าสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิดการกระทำดีและชั่วมาจากความดิ้นรนพยายามระหว่าง
พลังแรงขับและสัญชาตญาณของตัวตนที่จะสร้างความพึงพอใจโดยได้รับสิ่งที่พึงปรารถนา
และสิ่งที่เป็นความจำเป็นสำหรับการสร้างสังคมของตัวตนด้วยความพยายามควบคุมและเก็บกดสิ่งทีเป็นกระแสความต้องการไว้เพื่อให้ตนเองสามารถทำหน้าที่ในสังคมได้
แม้ว่าอิทธิพลทางความคิดของ
ฟรอยด์
จะไม่ได้แทรกซึมลงสู่ความคิดเชิงจริยธรรมอย่างสมบูรณ์
แต่จิตวิทยาของฟรอยด์ในส่วนลึกได้แสดงถึงเรื่อง
ความรู้สึกผิด
โดยเฉพาะในเรื่องของเพศที่เป็นสิ่งที่ได้รับการเน้นหนักในเรื่องของความดีและความเลว
ซึ่งมีผลกระทบในด้านความคิดเชิงจริยธรรมของบุคคลในปัจจุบัน
เจมส์
(James)
ซึ่งเป็นนักปรัชญาและนักจิตวิทยาที่เป็นนักปฏิบัตินิยมก็กล่าวว่า
คุณค่าของแนวคิดต่าง
ๆ
จะเกิดขึ้นเมื่อมีผลลัพธ์ของการกระทำตามมา
ดังนั้น
หลักจริยธรรมมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ที่หลากหลายที่เกิดขึ้นในโลกนี้
จริยธรรมตามแนวความคิดของนักจิตวิทยาเหล่านี้ยังไม่ได้ลงรากฐานสู่พฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมอย่างชัดเจน
จนกระทั่ง
โคห์ลเบอร์ค
(Kohlberg)
ได้ทำการศึกษาด้านจริยธรรม
จากพื้นฐานการพัฒนาการด้านความคิดและความเข้าใจ
ของเพียเจท์
(Piaget)
ซึ่งได้ศึกษาและอธิบายการแสดงพฤติกรรมตามแนวทางของคุณธรรมและจริยธรรมของเด็กในด้าน
เจตคติของเด็กที่มีต่อกฎ
การตัดสินใจของเด็กเกี่ยวกับความถูกต้องและความผิด
และการประเมินค่าความยุติธรรมในการตัดสิน
เพียเจท์
สรุปว่า
คุณธรรมประกอบขึ้นด้วยระบบของกฎและความคงอยู่ของคุณธรรมจะค้นหาได้จากความเชื่อถือซึ่งแต่ละบุคคลจะพยายามที่จะรับกำนั้นไว้
(ประภาศรี
สีหอำไพ,
2543)
1)
ทฤษฎีจริยธรรมของ
โคห์ลเบอร์ค
(Kohlberg)
มีจุดเริ่มต้นของการเกิดคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ที่ตัวตนของบุคคล
(Self)
โดยเริ่มจากผลประโยชน์ส่วนตนเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ที่เอื้อต่อมวลชนในระดับที่มากขึ้นเรื่อย
ๆ
ตามลำดับ
การศึกษาจริยธรรมจากพฤติกรรมที่ความรู้ความเข้าใจระดับคุณธรรมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสมได้
เมื่อต้องเลือก
การตีค่าและการอธิบายคุณค่าหรือตัดสินใจอย่างไร
หลักจริยธรรมของโคลเบอร์ค
มี
6
ขั้น
ได้แก่
ขั้นที่
1
การลงโทษและการเชื่อฟัง
ที่รับรู้เฉพาะตน
ดังนั้น
บุคคลจะแสดงพฤติกรรมทางจริยธรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ
ขั้นที่
2
ความแตกต่างระหว่างบุคคลและการอลกเปลี่ยนกันเพื่อแสวงหารางวัล
ขั้นที่
3
ความสัมพันธ์และการกระทำตามรูปแบบตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ
ขั้นที่
4
ระบบสังคมและความมีสติรับผิดชอบ
ขั้นที่
5
สิทธิและความผูกพันในสังคมที่จะทำตามคำมั่นสัญญา
ขั้นที่
6
การยึดมโนธรรมตามหลักสากล
อย่างไรก็ตามในแนวความคิดทางจริยธรรม
การยึดอัตตาที่เข้มข้นเป็นลักษณะของบุคคลและการกระทำที่เห็นแก่ตัวก็เป็นจุดศูนย์กลางที่ทำให้บุคคลเกิดความพึงพอใจเสมอ
เป้าหมายของมนุษย์
คือการให้ประโยชน์แก่ตนเองทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
2)
ทฤษฎีจริยธรรมของบรอนเฟรนเรนเนอร์
(Bronfenbrenner)
บรอนเฟรนเรนเนอร์
(Bronfenbrenner)
ได้ทำการศึกษาจริยธรรมของเด็กในโรงเรียนโดยการศึกษาเปรียบเทียบในวัฒนธรรมที่หลากหลาย
(Boeree,
2003)
และสรุปนำเสนอเป็นทฤษฎีพัฒนาการด้านจริยธรรมในอีกแนวคิดหนึ่งโดยอธิบาย
ดังนี้
รูปแบบที่
1
จริยธรรมโดยยึดถือตนเอง
(self-oriented morality)
คือ
การยึดถือและให้ความสนใจอยู่ที่ความพึงพอใจของตนเองและจะพิจารณาสิ่งอื่น
ๆ
ออกไปจากตนเองในบริบทว่าตนได้รับประโยชน์
หรือถูกขัดขวางผลประโยชน์
รูปแบบที่
2
จริยธรรมโดยยึดถือผู้มีอำนาจ
(authority-oriented morality)
ในขั้นนี้เด็กรวมถึงผู้ใหญ่จะมีจุดที่ตกลงร่วมกันอยู่ในตัวตนของอำนาจนับจากพ่อแม่จนถึงหัวหน้างานและผู้มีอำนาจระดับประเทศ
ศาสนา
มาเป็นตัวอธิบายความถูกต้องหรือความผิด
รูปแบบที่
3
จริยธรรมโดยยึดเพื่อน
(peer-oriented morality)
เป็นจริยธรรมที่ยึดถือ
ความสอดคล้องกับกลุ่ม
ไม่ใช่ด้วยอำนาจจากใครแต่ด้วยเพื่อนเป็นผู้ตัดสินว่าถูกหรือผิด
ส่วนใหญ่จริยธรรมในระดับนี้จะพบมากในวัยรุ่นเนื่องจากเป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
รูปแบบที่
4
จริยธรรมโดยยึดถือกลุ่ม
(collective-oriented morality)
เป็นจริยธรรมที่ยืนอยู่ข้างกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่บุคคลนั้นดำเนินชีวิตอยู่โดยไม่ได้คำนึงถึงตัวบุคคลหน้าที่ของบุคคลในสังคมนั้นเป็นเกณฑ์ที่กำหนดให้เป็นจุดยืนที่ต้องคำนึงถึง
รูปแบบที่
5
จริยธรรมโดยยึดถือจุดมุ่งหมาย
(objectively-oriented morality)
เป็นจริยธรรมที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ใด
หรือกลุ่มสังคมใด
แต่จะเป็นจริยธรรมที่เป็นจริงในตัวเอง
โดยสรุปแล้วกฎและทฤษฎีทางจริยธรรมจะเป็นหลักให้นักบริหารการศึกษาได้เข้าใจแนวความคิดของคนในสถานภาพที่แตกต่างกัน
กฎและทฤษฎีทางจริยธรรมเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลากับในสถานการณ์ที่หลากหลายจึงขึ้นอยู่ว่าจะใช้รูปแบบใดเป็นพิจารณาจริยธรรม
ตอนการเรียนรู้ที่
3
หลักการพิจารณาพฤติกรรมทางคุณธรรมและจริยธรรม
ในการบริหารจัดการการศึกษาที่ดีและเป็นธรรมนั้น
จะวางแนวทางปฏิบัติให้ผู้อยู่ในภายใต้การนำของผู้นำให้ตระหนักรู้และสามารถนำไปปฏิบัติให้ตนเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมได้
รวมทั้งกำกับตนเองให้เป็นผู้นำทางด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วย
ซึ่งประภาศรี
สีหอำไพ
(2543)
กล่าวว่า
คุณค่าทางจริยธรรมชี้ให้เห็นความเจริญงอกงามในการดำรงชีวิตอย่างมีระเบียบแบบแผนตามวัฒนธรรมของบุคคลที่มีลักษณะทางจิตใจที่ดีงาม
3. 1
ธรรมชาติของจิตสำนึกของมนุษย์กับการกระทำที่ถูกต้อง
มนุษย์มี
จิตสำนึก
คือ
สติที่รู้ตัวอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังทำสิ่งใดอยู่
มนุษย์จึงมีความแตกต่างจากสัตว์ประเภทอื่น
ๆ
คือ
ไม่ได้การกระทำสิ่งต่าง
ๆ
ส่วนใหญ่ด้วยสัญชาตญาณ
แต่จะมีสติที่เป็นจิตสำนึกในการกระทำและตัดสินการกระทำนั้นด้วยความรู้สึกผิด
ชอบ
ชั่วดี
และมีความละอายที่จะทำในสิ่งที่ไม่ดี
มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดที่ทำให้สภาพทางด้านจิตใจ
มีความรู้สึกที่กระสับกระส่าย
ใจกวัดแกว่งซึ่งสามารถรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดการแปรเปลี่ยนเป็นสภาพของอารมณ์
บางครั้งการเคลื่อนไหวเกิดจากอารมณ์ที่เป็นสุขแต่ในบางครั้งการเคลื่อนไหวก็ก่อให้เกิดอารมณ์ที่เป็นทุกข์
ทุก
ๆ
ครั้งที่มีการเคลื่อนไหวทางอารมณ์
แสดงว่า
จิตรู้ตัวว่ามีสิ่งกระตุ้นเร้าเกิดขึ้น
แต่การควบคุมจิตให้สามารถรู้ตัวอยู่ได้ตลอดเวลาที่ถูกกระตุ้น
และสามารถกำกับพฤติกรรมการตอบสนองต่อการถูกกระตุ้นนั้นได้ดีเพียงใด
ในส่วนที่เป็นจิตสำนึกที่เรียกว่า
มโนธรรม
พระเทวินทร์
เทวินโท
(2544)
กล่าวว่า
เป็นความสำนึกของจิตทางศีลธรรมและความเมตตาปราณีที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
ที่เป็นปฏิกิริยาภายในร่างกายและจิตใจที่เป็นความสำนึกที่บอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า
อะไรดี
ชั่ว
ถูก
หรือผิด
และอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ
จิตสำนึกในความรู้สึกผิดชอบชั่วดีเกิดขึ้นได้อย่างไร
ความเชื่อในเรื่องของแต่ละบุคคลเกิดขึ้นได้อย่างไร
มโนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์มีความรู้สึกนึกคิดต่อการกระทำที่ควรทำหรือไม่ควรทำ
มโนธรรมเป็นตัวกำกับให้บุคคลรู้และสำนึกว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้น
ดี
ชั่ว
ถูกผิด
การมีมโนธรรมเกิดขึ้น
คือการมีความคิดเกิดขึ้นกับสิ่งต่าง
ๆ
มโนธรรม
มีความแตกต่างกับเจตคติของมนุษย์
ตรงที่ว่า
เจตคตินั้นอาจไม่ได้มี
ธรรม
เป็นตัวกำหนดเสมอไป
และมโนธรรมจะเกิดได้ต้องมีจิตสำนึกควบคู่กันไปด้วย
การตัดสินพฤติกรรมด้านจริยธรรมของจิตจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถพิจารณาได้ด้วยความรู้สึกที่สัมผัสได้จากจิตของตนเองที่บ่งบอกถึงความรู้สึกอันเนื่องมาจากพฤติกรรมนั้น
การที่มนุษย์
เรียกตนเองว่าเป็นสัตว์ผู้ประเสริฐซึ่งหมายถึง
ผู้มีความเจริญในด้านจิตใจ
มีมโนสำนึกอยู่ภายในตนซึ่ง
มโนที่เป็นความคิดที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
เรียกว่า
มโนธรรม
หรืออาจเรียกว่า
จริยธรรม
ส่วนคุณธรรมนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อธรรมนั้นเป็นคุณประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นร่วมกัน
ทั้งคุณธรรมจริยธรรมเมื่อนำมาเป็นคุณสมบัติของผู้บริหารย่อมก่อให้เกิดความสงบร่มเย็นในองค์การ
จำเริญรัตน์
เจือจันทร์
(2537)
อธิบายว่า
มนุษย์มีความเชื่อว่าองค์การใดที่มีผู้บริหารที่ขาดจิตสำนึกด้านจริยธรรมและดำเนินกิจการและปกครองคนอย่างไร้คุณธรรมย่อมนำมาซึ่งสงครามของการแย่งชิงและทำลายล้างกัน
มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพแห่งประเทศไทยซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย
พระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์
ปยุตโต)
ได้มุ่งจิตปรารถนาที่จะให้การศึกษาที่เกิดขึ้นแก่ประเทศไทยและแก่ชุมชนของโลกเป็นการศึกษาเพื่อการนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข
อันเป็นปรัชญาความคิดในด้านการนำการศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการนำความสงบ
ความสุข
มาสู่โลกอย่างแท้จริง
การที่จะทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ได้ต้องมาจากจิตบริสุทธิของผู้ที่ทำหน้าที่
3. 2
มุมมองเกี่ยวกับตัวกำหนดพฤติกรรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ดวงเดือน
พันธุมนาวิน
(2538)
กล่าวว่า
สิ่งที่เป็นคุณธรรมและจริยธรรมในแต่ละสังคมอาจจะแตกต่างกัน
เพราะการเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม
เศรษฐกิจ
ศาสนา
และการศึกษาของคนในสังคมนั้น
เช่นการคุมกำเนิดหรือการคืนของที่เก็บได้ให้แก่เจ้าของนั้น
ในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีและควรทำ
แต่ในบางสังคมและบางวัฒนธรรม
อาจจะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักศาสนาหรือเป็นความโง่ที่จะกระทำเช่นนั้น
ดังนั้นการนำเอาคุณธรรมในสังคมหนึ่งไปตัดสินคุณธรรมในอีกสังคมหนึ่งนั้นย่อมเป็นการไม่เหมาะสม
จึงมีการแสวงหาหลักเกณฑ์อื่นในการตัดสินคุณภาพทางจิตใจของคน
วูด
(Wood, 2001)
กล่าวว่า
ตัวกำหนดพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมของแต่ละบุคคลอาจมีมุมมองที่แตกต่างกัน
ดังที่ได้นำความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม
โดยใช้มุมมองจากผลงานของนักปรัชญา
เช่น
จอห์
สจ๊วต
มิลล์
(John
Stuart Mill)
จอห์น
ล็อก
(John
Locke)
และ
โทมัส
เจฟเฟอร์สัน
(Thomas Jefferson)
ออกเป็น 4
ด้าน
ได้แก่
1)
มุมมองในด้านการกระทำที่ถูกนำไปพิจารณาว่า
ถูกหรือผิดโดยยึดหลักการนำความสุขมากที่สุดมาสู่บุคคลส่วนใหญ่
2)
มุมในด้านเอกัตตบุคคล
ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์ต่อบุคคลอย่างยั่งยืน
3)
มุมมองในด้านความถูกต้องทางคุณธรรมซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษย์โดยส่วนรวม
4)
มุมมองด้านความยุติธรรม
ไม่เลือกปฏิบัติ
พลเอกเปรม
ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องจริยธรรมของการบริหารภาครัฐ
วันที่ 9
กค.
48
ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ได้กล่าวถึงการจำแนกประเภทจริยธรรม
ซึ่งท่านให้ข้อคิดว่าสามารถแบ่งจริยธรรมออกเป็น
2
มุมมอง
คือ
1)
จริยธรรมตามหลักนิติรัฐ
ในมุมมองนี้จริยธรรมของผู้บริหารรัฐ
ข้าราชการและประชาชนต้องยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักนิติศาสตร์
พฤติกรรมที่ทำตามหน้าที่ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
2)
จริยธรรมตามมาตรฐานจริยธรรม
เป็นจริยธรรมที่ยึดถือเป็นมาตรฐานของสังคม
ตามมาตรฐานทางสังคม
ซึ่งอาจมีศาสนาและวัฒนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
มุมมองนี้อาจเป็นมุมมองของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะซึ่งถ้าจะให้เกิดความสมบูรณ์ในตัวจริยธรรแล้วต้องไม่ควรขัดกับหลักสากล
ดังนั้นตามมุมมองที่กล่าวมานี้
เกณฑ์การตัดสินจริยธรรม
แม้ว่าเกณฑ์การตัดสินความถูกผิดทางจริยธรรมเป็นหลักเกณฑ์ใช้ในการตัดสินการกระทำว่า
ทำอะไรเรียกว่าทำดี
และทำอะไรเรียกว่าทำชั่ว
และทำอะไรเรียกว่าทำถูก
และทำอะไรเรียกว่าทำผิด
แต่การตัดสินการกระทำเช่นนั้นอาจจะไม่ตายตัวเสมอไปเสียทีเดียว
(พระเทวินทร์
เทวินโท,
2544)
3. 3
หลักการพิจารณาเกณฑ์การตัดสินคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรมและจริยธรรมเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม
การกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินพฤติกรรมจริยธรรมเกิดจากความพยายามที่จะตัดสินความถูกผิด
นักปรัชญาในยุคเริ่มแรกได้ให้แนวคิดตามหลักธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความรู้สึกนึกคิดต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมและตามหลักธรรมชาติของการกระทำซึ่งเป็นหลักสากลของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
โปรทากอรัส
(Protagoras
)
นักปรัชญาให้ข้อคิดในทางปรัชญาว่า
มนุษย์แต่ละคนจะเป็นผู้ตัดสินดีชั่ว
ถูกผิดกันเอง
ดังนั้น
สิ่งที่มนุษย์ได้สัมผัสจากประสาทสัมผัสทั้งห้านั้น
จะเป็นตัวบ่งบอกว่าถูกต้องหรือไม่
และนั่นคือสัมผัสโดยตรงที่ทำให้มนุษย์มีประสบการณ์กับสิ่งนั้น
อวัยวะรับสัมผัส
ทั้งห้า
คือ
ตา
หู
จมูก
ลิ้น
กาย
จึงเป็นอินทรีย์พิเศษที่มีอยู่ในตัวแต่ละบุคคล
ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกความจริงภายในความคิดของบุคคล
ความจริงที่เป็นสากลตายตัว
สำหรับทุกคนในโลกนี้จึงไม่มี
ความดี
ความชั่ว
ความถูกผิด
เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบของแต่ละคนที่จะเป็นผู้ตัดสินเอาเอง
และเป็นสิทธิอันชอบธรรมของคนในสังคมนั้น
โทมัส
ฮอบส์
(Thomas Hobbes 1588-1679)
เป็นนักปรัชญาอีกผู้หนึ่งที่ที่มีความเชื่อว่าสิ่งที่บอกได้ว่าการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งถูก
หรือผิดนั้นขึ้นอยู่กับตัวบุคคลผู้ทำการตัดสิน
เนื่องจากผู้ตัดสินความถูกผิดคือมนุษย์
ซึ่งก็มักจะมีกรอบของความรู้สึกของตนต่อสิ่งนั้นอยู่ด้วย
เช่น
ชอบหรือไม่ชอบ
พอใจหรือไม่พอใจ
สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงความเป็นจริงในโลกนี้ว่าไม่มีอะไรเป็นสิ่งที่แท้จริงอยู่ในตัวของมันเอง
คนที่เกลียดสิ่งใดก็มักจะกล่าวว่าสิ่งนั้นไม่ดี
ชั่ว
หรือเลว
จึงเชื่อได้ว่าความคิดในการตัดสินความดี
ชั่วถูกผิดนี้สอดคล้องกับ
ลักษณะสัมพัทธ์นิยม
โสคราติส
(Socrates
470-399 B.C.)
เป็นนักปรัชญาที่ให้แนวความคิดที่แตกต่างว่า
ความถูกผิด
เป็น
สิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้อย่างแน่นอน
ไม่ได้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างหรือกำหนดขึ้นมาเอง
และไม่ใช่เรื่องที่มนุษย์แต่ละคนจะเป็นผู้ตัดสินถูกผิดเอาเองตามอารมณ์และความรู้สึก
ตามความชอบใจหรือไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นเป็นเฉพาะตน
แม้ว่าบุคคลจะยังไม่รู้อย่างแน่นอนว่า
ความจริงคืออะไร
ความดีคืออะไร
หรือความควรหรือไม่ควรกระทำคืออะไร
และหลักเกณฑ์
ที่จะตัดสินความถูกผิดดีชั่วจะยังไม่มีแน่นอน
ก็เป็นการไม่ควรอย่างยิ่ง
ที่จะรีบตัดสินลงไปในทันที
ควรที่จะต้องใช้หลักเหตุผลและใช้สติปัญญาวิเคราะห์พิจารณาหาความจริงที่ถ่องแท้ตามหลักสัจจธรรมและคุณธรรม
ตามหลักเหตุผลที่จะบอกความจริง
ความถูกต้องที่แน่นอนตลอดไป
ดังนั้นต้องเชื่อว่าความจริงความถูกผิดเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงอย่างแน่นอนตายตัว
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของมนุษย์
คานท์
(Kant 1724-1802)
มีปรัชญาที่เป็นความเชื่อว่ามนุษย์ไม่ได้เกิดมาเพื่อแสวงหาความสุขแต่เพียงอย่างเดียวแต่เกิดมาเพื่อการกระทำความดีมีศีลธรรม
และศีลธรรมความสุขเป็นคนละสิ่งกัน
เพราะการกระทำที่ผิดหลักศีลธรรมแม้จะทำให้เกิดประโยชน์สุขแก่มหาชนมากมายเพียงใดก็ยังเป็นการกระทำที่ชั่วร้ายอยู่เช่นนั้น
การกระทำดี
ตามความคิดของ
คานท์
คือ
การใช้มนุษย์เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมายใด
ๆ
ของตนเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม
คานท์
มีความคิดแย้งกับปรัชญาประโยชน์นิยมที่มุ่งการกระทำที่ก่อให้เกิดความสุข
โดยมีเกณฑ์การตัดสินว่าการกระทำนั้นจะถูกหรือผิดหรือเป็นสิ่งที่ควรทำหรือไม่นั้นอยู่ว่า
ถ้าการกระทำสิ่งนั้นได้ผลดีและทำให้มนุษย์มีความสุขการกระทำสิ่งนั้นก็เป็นการกระทำที่ควรทำ
แต่ถ้าทำแล้วเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
ทำให้มนุษย์มีความทุกข์การกระทำนั้นก็ผิดและไม่ควรทำ
คานท์
กล่าวว่า
ศีลธรรมมีคุณค่าอยู่ในตัวเองและมีความสมบูรณ์อยู่ในตัวเองเช่นกัน
การกระทำดีก็ไม่ใช่การให้ความสุขแก่ใครคนดีไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีความสุขหรือทำให้คนอื่นมีความสุข
แต่คนดี
คือ
คนที่ทำตามกฎศีลธรรมโดยมิได้หวังประโยชน์อะไร
ไม่ว่าจะเพื่อตนเองหรือผู้อื่น
คานท์
จึงเห็นว่าการทำดี
คือ
การทำตามกฎศีลธรรมย่อมเป็นสิ่งที่ดีเสมอ
ตัวอย่างเช่น
การโกหกของหมอเพื่อประโยชน์แก่คนไข้ก็ยังถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดศีลธรรม
แม้ว่าการพูดความจริงของหมอทำให้คนไข้ช็อคตาย
คานท์
ก็ยังถือว่าการพูดความจริงของหมอเป็นความกระทำที่ถูกต้องตามศีลธรรม
เพราะการพูดความจริงเป็นสิ่งที่ดีและมีค่าอยู่ในตนเอง
ผลที่เกิดขึ้นจากการพูดความจริงไม่ทำให้ความดีของความจริงเปลี่ยนแปลงไป
(พระเทวินทร์
เทวินโท,
2544
หน้า
146)
คานท์
กล่าวว่า
การที่บุคคลมีแรงจูงใจทำให้อยากทำอะไรหรือไม่อยากทำอะไร
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ
2
ประการคือ
ประการแรก
คือ
เหตุผล
ที่เกิดจากปัญญา
ซึ่งจะเป็นตัวตัดสินว่าควรทำหรือไม่ควรทำ
ผิดหรือถูก
การกระทำตามแรงกระตุ้นนี้เป็นการกระทำตามกฎศีลธรรม
เป็นสิ่งที่มีอยู่ภายในตัวมนุษย์ซึ่งเป็นคุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์
ประการที่สอง
คือ
อารมณ์และความรู้สึก
ซึ่งเรียกว่ากิเลสตัณหา
สิ่งนี้มักจะทำให้มนุษย์กันเหออกไปจากหลักการที่ถูกต้องสำหรับมนุษย์ไป
คิดถึงแต่ผลประโยชน์ที่เกิดจากการกระทำ
คานท์
สรุปว่า
คนที่ใช้หลักเหตุผลทุกคนจะต้องเห็นด้วยกับกฎศีลธรรมสากลสำหรับทุกคน
2
ประการ
ได้แก่
1)
คนทุกคนจะทำตามหลักการที่คนทุกคนจงใจจะให้เป็นกฎสากลสำหรับทุกคน
2)
คนทุกคนจะไม่ใช้มนุษย์เพื่อเป็นเครื่องมือทำการใด
ๆ
แก่ตนเองและผู้อื่น
เช่น
การโกหกหลอกลวงเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือในกรณีที่หมอโกหกคนไข้ก็เป็นการใช้คนที่เป็นคนไข้เป็นเครื่องมือแม้จะเพื่อคนไข้เอง
โคห์ลเบอร์ค
(Kohlberg)
กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลว่ามีแนวคิดที่มีความแตกต่างกันซึ่งสามารถประเมินระดับขั้นของจริยธรรมได้ด้วยการประเมินความคิดของบุคคลต่อผลกรรมที่ใช้เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
(สุภัททา
ปิณฑะแพทย์,
2527)
ดังนี้
ระดับที่ 1
เกณฑ์การตัดสินความถูกผิดอยู่ที่ผลกรรมที่เป็นการลงโทษ
เช่นต้องทำตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่ง
มิเช่นนั้นจะถูกลงโทษ
หรือต้องข้ามถนนตรงทางม้าลายมิฉะนั้นจะโดนตำรวจจับ
ซึ่งพฤติกรรมด้านจริยธรรมนี้ใช้สิ่งเร้าภายนอกเป็นตัวกำกับ
ดังนั้นถ้าเห็นตำรวจก็จะไม่กล้าข้ามถนนตามอำเภอใจ
ระดับที่ 2
เกณฑ์การตัดสินความถูกผิดอยู่ที่
ผลกรรมที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง
หรือบางครั้งเพื่อความต้องการของคนอื่น
และถือเกณฑ์ของกรรมสนองกรรมโดยตรง
เช่น
รดนำต้นไม้แม่จะได้ชมว่าเป็นเด็กดี
อย่ารังแกสุนัขเพราะสุนัขเฝ้าบ้านให้
อย่าตีคนอื่นเพราะเขาจะตีเราตอบ
ระดับที่ 3
เกณฑ์การตัดสินความถูกผิดยู่ที่การยอมรับของคนอื่นเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นได้
เช่น
เป็นผู้หญิงไม่ควรแสดงความรักต่อผู้ชายในที่สาธารณะหรือในที่เปิดเผยจะเป็นที่ดูหมิ่นของผู้พบเห็น
ระดับที่ 4
เกณฑ์การตัดสินความถูกผิดอยู่ที่ความเป็นระเบียบของสังคม
และการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม
พฤติกรรมที่ถูกต้อง
คือ
การทำหน้าที่ของตน
และการรักษาระเบียบและกฎเกณฑ์ทางสังคม
ระดับที่ 5
เกณฑ์การตัดสินความถูกผิดอยู่ที่การให้สัญญา
โดยเฉพาะสัญญาสังคม
พฤติกรรมที่ถูกต้อง
คือ
พฤติกรรมที่ตนส่วนใหญ่ในสังคมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าดี
มาตรฐานต่าง
ๆ
ไม่ตายตัวแน่นอนเหมือนจริยธรรมในระดับที่
4
แต่เปลี่ยนแปลง
จริยธรรมปรชาธิปไตยเป็นจริยธรรมที่อยู่ในระดับที่
5
นี้
ระดับที่ 6
เกณฑ์การตัดสินความถูกผิดเป็นหลักการสากล
เช่น
ความยุติธรรม
ความเสมอภาค
และ
ความเคารพในความเป็นมนุษย์
จริยธรรมในระดับที่
1
และ
2
เป็นจริยธรรมที่อยู่ในระดับต่ำ
ยังเป็นเกณฑ์ที่ผูกพันโดยตรงกับการเสริมแรงและการลงโทษ
จริยธรรมในระดับที่
3
และ
4
เป็นเกณฑ์ที่มีการสั่งสอนอบรมในสังคม
ส่วนระดับที่
5
และที่
6
อาจจะไม่พบเลยในบางสังคม
เพราะเป็นระดับที่เกินเลยจากกฎเกณฑ์ส่วนใหญ่ที่ยึดถือปฏิบัตืในสังคม
3. 4
เกณฑ์การกำหนดคุณค่าทางจริยธรรม
คุณค่าทางจริยธรรม
จะเกิดขึ้นเมื่อมีการจัดระบบให้มีจิตที่ดีและวิญญาณที่ดีจากการได้รับ
ได้สัมผัสและจับต้อง
การให้คุณค่าทางจริยธรรมมีผลต่อการตัดสินว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่ชอบธรรมและพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่ไม่ชอบธรรม
3.4.1
การพิจารณาเกณฑ์การตัดสินคุณค่าภายนอกของจริยธรรม
การพิจารณาตัดสินคุณค่าของจริยธรรมนี้ยึดมั่นอยู่ที่พฤติกรรมนิยมของกลุ่มนิยมซึ่งมีความแตกต่างกัน
คือ
1)
สุขนิยมและอสุขนิยม
นักสุขนิยมถือว่า
ความสุข
คือความดีและถือว่า
ความรู้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งและไม่มีที่สิ้นสุด
การดำรงชีวิตที่ดีเป็นการดำรงชีวิตที่มีความสุข
ความสุขจึงมีความสอดคล้องกับหลักคุณธรรมและจริยธรรมเชิงพุทธปัญญา
ถ้าร่างกายเป็นสุขก็จะเป็นพื้นฐานทำให้จิตเป็นสุขด้วย
ดังนั้นสิ่งที่สร้างสุขคือสิ่งที่มีอยู่จริงสามารถจับต้องเป็นรูปธรรมได้
ดังนั้นเกณฑ์ในการตัดสินจริยธรรม
คือ
ความสุขที่ได้รับจากการสัมผัสและจับต้อง
เกณฑ์ในการวัดความสุขเชิงปริมาณ
3
ประการ
คือ
ความเข้ม
ความยั่งยืนและความแน่นอน
ซึ่งจะเป็นคุณค่าทางจริยธรรมกับความสุขของตนเองและความสุขของผู้อื่น
ส่วนคุณค่าทางจริยธรรมของนักอสุขนิยม
คือ
คุณค่าของการหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาที่เป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์
กลุ่มนี้
ถือว่า
อสาร
ความงาม
ความดี
มีอยู่จริง
ถ้าจิตดีร่างกายก็จะดีตามไปด้วย
ความสุขทางกายเป็นสิ่งที่ไร้คุณค่าสำหรับมนุษย์ผู้ประเสริฐ
2)
มนุษยนิยม
คุณค่าจริยธรรมตามแนวคิดของนักมนุษยนิยม
คือการที่มนุษย์มีชีวิตที่ดีงามทั้งร่างกายและจิตใจให้เกิดความสมดุล
ความสงบสุขของจิตใจและปัญญาความรู้
เป็นสิ่งที่มีคุณค่า
กายและจิตเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันไม่สามารถแยกออกจากกันได้
เมื่อกายและจิตอยู่รวมกันเรียกว่า
ชีวิต
(สุภัททา
ปิณฑะแพทย์
2542
หน้า
1
อ้างถึงใน
พระราชมุณี
2529)
ความประสานกลมกลืนกันของร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งที่มีคุณค่า
สิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์และทำให้ชีวิตมีคุณค่ามีหลายประการ
เช่น
ความสะดวกสบาย
ความสำเร็จ
ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตทำงาน
เป็นต้น
ความสมดุลของชีวิตจึงเป็นคุณค่าทางจริยธรรมของนักมนุษยนิยม
3.4.2
การพิจารณาเกณฑ์ตัดสินจากคุณค่าภายในของจริยธรรม
การตัดสินในด้านจริยธรรมเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับความหมายของจริยธรรม
ผู้ตัดสินจะเป็นผู้ให้คุณค่าของความดี
ความชั่ว
ถูกต้องและ
ผิด
ว่าเป็นอย่างไรมีบริบทของการตัดสินในสองลักษณะ
คือ
ลักษณะสัมพัทธ์และลักษณะสัมบูรณ์
1)
การให้คุณค่าของจริยธรรมในลักษณะค่าสัมพัทธ์
ลักษณะสัมพัทธ์
หมายถึงการตัดสินความถูกผิดขึ้นอยู่กับสิ่งอื่น
ๆ
ดังนั้นจึงเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสิ่งอื่น
ๆ
เหล่านั้น
เช่น
อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาล
เวลา
สถานที่และบุคคล
สำหรับเกณฑ์ที่เป็นไปตามลักษณะนี้นั้น
มีความไม่แน่นอน
บางครั้งอาจมีอารมณ์และความอคติทางด้านความคิดมาเกี่ยวข้อง
เช่น
การทำความผิดเนื่องจากมีความกตัญญูต้องนำเงินมารักษาแม่ที่เจ็บป่วย
เป็นต้น
ดังนั้นจะพบว่านักบริหารที่ให้คุณค่าในลักษณะ
คือ
จะมองว่าการกระทำอย่างหนึ่งจะดี
ชั่ว
ถูก
หรือผิด
จะต้องวางอยู่บนเงื่อนไขและปัจจัยอื่น
ๆ
เป็นองค์ประกอบ
เพราะในสิ่งแวดล้อมหนึ่งการกระทำอย่างหนึ่งเป็นสิ่งที่ดี
แต่ในอีกสิ่งแวดล้อมหนึ่ง
การกระทำเช่นเดียวกันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่
ดี
หรือถูกต้องก็ได้
ดังนั้นการกระทำจึงไม่ใช่สิ่งที่ดี
ชั่วในตัวของมันเอง
แต่สิ่งที่ดีหรือชั่วของการกระทำนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น
ๆ
อีกมากมาย
เช่น
ขึ้นอยู่กับผลของการกระทำว่าเป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่น
ๆ
ส่วนใหญ่หรือไม่
หรือขึ้นอยู่ว่าใครเป็นผู้ตัดสินการกระทำนั้น
เพราะผู้ตัดสินยินยอมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไป
โดยอาจตั้งอยู่บนเงื่อนไขของความพอใจและความเข้าใจของตนเอง
และเมื่อมีความเชื่อว่าความดีและความชั่วมีความไม่แน่นอนตายตัวแล้ว
เกณฑ์ในการตัดสินจึงมีได้หลายเกณฑ์
2)
การให้คุณค่าจริยธรรมในลักษณะค่าสัมบูรณ์
ลักษณะสัมบูรณ์
คือสิ่งที่คงอยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งใด
ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งอื่น
ๆ
สิ่งใดก็ตามถ้ามีอยู่
เป็นอยู่โดยตัวของมันเอง
ไม่ว่าเวลา
สถานที่
บุคคล
และสิ่งอื่น
ๆ
จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
สิ่งนี้ก็ยังคงเป็นหลักยึดถือว่าเป็นสัจจะสำหรับเกณฑ์การตัดสินที่เป็นค่าสัมบูรณ์นั้นถ้าผู้บริหารตั้งอยู่บนความเชื่อที่ไม่มีเงื่อนไขของพฤติกรรมด้านจริยธรรมแล้วว่าเกณฑ์การตัดสินความดี
ชั่ว
ถูกหรือ
ผิด
มีความสัมบูรณ์อยู่ในตัวของมันเอง
ความดี
ชั่ว
ถูก
หรือผิด
มีความแน่นอนตายตัว
เกณฑ์ในการวัดความชั่ว
ดี
ถูกและผิดอยู่เพียงกฎเกณฑ์เดียว
และถ้ามีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปจะต้องมีเกณฑ์หนึ่งถูกและอีกเกณฑ์หนึ่งผิดอย่างแน่นอน
เช่น
การผู้ซื้อไม่คืนเงินทอนที่ผู้ขายทอนให้มาเกินจำนวนจริงจะถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมอย่างแน่นอน
แม้ว่าเหตุผลของการไม่ยอมคืนเงินจะเป็นเพราะผู้ขายขายของเกินราคา
หรือผู้ขายพูดจาไม่ดี
หรือแม้แต่ว่าผู้ขายเคยทอนเงินผิดแล้วไม่ยอมรับก็ตาม
เป็นต้น
ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในทางจริยธรรมของนักบริหาร
คือ
ถ้าการกระทำอันหนึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อส่วนรวมอย่างมากมายแต่วิธีการกระทำนั้นผิดศีลธรรม
เราควรจะกระทำหรือไม่เราควรใช้เกณฑ์ใดเป็นหลักในการตัดสิน
ธรรมชาติ
ผลของการกระทำ
หรือวิธีการกระทำ
เป็นตัวตัดสินความถูกผิดของการกระทำที่เป็นปัญหานั้น
ตอนการเรียนรู้ที่
4
จรรยาบรรณวิชาชีพนักบริหารการศึกษาและมาตรฐานการปฏิบัติตน
ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์
คือนักบริหารการศึกษาซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติตนตามที่คุรุสภาได้ประกาศเป็นข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
พ.ศ.
2548
สำหรับมาตรฐานการปฏิบัติตนนี้
เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้บริหารที่มีต่อตนเอง
ต่อวิชาชีพ
และต่อผู้รับบริการ
4.
1
ความหมายของจรรยาบรรณวิชาชีพและมาตรฐานการปฏิบัติตน
คำว่า
วิชาชีพ
เป็นคำที่แปลมาจากศัพท์
ภาษาอังกฤษ
คือ
คำว่า
Profession
ซึ่งหมายถึง
อาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเป็นอาชีพที่ต้องการการศึกษาและการฝึกอบรมในระดับสูง
(ส.
เสถบุตร,
2536)
วิชาชีพ
ตามที่
วริยา
ชินวรรโณ (2546)
แปลมาจากคำอธิบายของ
วิลเบอร์ต
อี
มัวร์
(Wilbert E. Moore)
มีความหมายว่า
เป็นการประกอบอาชีพเต็มเวลา
โดยผู้ประกอบอาชีพอุทิศตัวให้แก่อาชีพนั้น
ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพนั้น
ๆ
อันเป็นผลที่ได้มาจากการฝึกอบรมหรือกาศึกษาตรงตามสาขาอาชีพ
นอกจากนี้
ผู้ประกอบอาชีพจะต้องยึดมั่นอยู่กับกฎเกณฑ์ของการประกอบวิชาชีพ
ปฏิบัติตนและให้บริการด้วยจิตสำนึกในวิชาชีพ
ตลอดจนมีความเป็นอิสระในการประกอบวิชาชีพ
อันเนื่องมาจากผู้ประกอบวิชาชีพมีความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพของตนในระดับสูง
วิชาชีพ
ตามความหมายที่ปรากฏในเอกสารมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
หมายถึง
อาชีพที่ให้บริการแก่สาธารณชนที่ต้องอาศัยความรู้ความชำนาญเฉพาะ
ไม่ซ้ำซ้อนกับอาชีพอื่น
และมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพ
โดยผู้ประกอบอาชีพต้องฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
ส่วนคำว่า
อาชีพ
จะมีความหมายเพียงกิจกรรมที่ต้องทำให้สำเร็จโดยมุ่งหวังค่าตอบแทนเพื่อการดำรงชีพ
ความเป็นวิชาชีพหรือวิชาชีพนิยมนั้น
เป็นสิ่งที่บุคคลถือว่าเป็นองค์ความรู้หรือความรอบรู้ของบุคคลที่เกี่ยวกับอาชีพนั้นและยึดถือว่ามีค่าสมควรที่สาธารณชนจะยอมรับสถานภาพของอาชีพนั้น
ติน
ปรัชญพฤทธิ์
ได้นำเสนอเกณฑ์ของความเป็นวิชาชีพว่า
เป็นความคาดหวังที่เกิดขึ้นได้ในระดับสังคมและระดับบุคคล
ดังนี้
1)
เกณฑ์ของความเป็นวิชาชีพในระดับสังคม
(1)
การประกอบอาชีพเต็มเวลา
(2)
การได้รับยอมรับแผนการจัดการศึกษาจากสมาคมวิชาชีพ
(3)
การมีสมาคมวิชาชีพและมีกฎหมายรองรับสถานภาพของวิชาชีพ
(4)
การมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
(5)
การมีองค์ความรู้ที่เป็นระบบ
(6)
การเป็นที่ยอมรับของสังคม
(7)
การมีความรอบรู้ในวิชาชีพ
(8)
การให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ
(9)
การมีความเป็นอิสระในวิชาชีพ
2)
เกณฑ์ของความเป็นวิชาชีพในระดับบุคคล
(1)
การได้รับการศึกษาตรงตามสาขาวิชาที่ประกอบวิชาชีพ
(2)
การมีผู้ให้การสนับสนุนในการประกอบวิชาชีพ
(3)
การมีการวางแผนล่วงน้ามนการประกอบวิชาชีพ
(4)
การมีความตั้งใจแน่วแน่ในการประกอบวิชาชีพ
(5)
การมีความกระตือรือร้นในวิชาชีพ
(6)
การประพฤติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
(7)
การมีความจงรักภักดีต่อวิชาชีพ
(8)
การมองเห็นความก้าวหน้าในวิชาชีพ
(9)
การมีความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ
คำว่า
จรรยาบรรณวิชาชีพ
จึงเป็นคำที่นำมาใช้เพื่อเป็นข้อบังคับให้บุคคลในวิชาชีพหนึ่งพึงประพฤติปฏิบัติตาม
โดยนำความหมายของคำว่า
จริย
ซึ่งแปลว่า
การประพฤติดี
และความหมายของคำว่า
บรรณ
คือข้อความที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรบันทึกที่กำหนดไว้
มาใช้เพื่อสร้างบรรทัดฐานของวิชาชีพนั้น
ๆ
มาตรฐานการปฏิบัติตน
เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาโดย
คุรุสภา
เมื่อให้เป็นมาตรฐานด้านจรรยาบรรณสำหรับวิชาชีพทางการศึกษา
จึงหมายถึง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของผู้ประกอบอาชีพโดยมีจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ
เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง
ฐานะ
เกียรติ
และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพตามแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่
คุรุสภา
จะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไปหากผู้ประกอบอาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้วผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(1)
ยกข้อกล่าวหา
(2)
ตักเตือน
(3)
ภาคทัณฑ์
(4)
พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร
แต่ไม่เกิน
5 ปี
(5)
เพิกถอนใบอนุญาต
(มาตรา
54)
นักบริหารการศึกษา
ควรต้องยึดถือมาตรฐานการปฏิบัติตนเป็นหลักในการปฏิบัติงานในหน้าที่
ซึ่งหมายรวมถึงข้อกำหนดที่เป็นมาตรฐานความรู้ในด้านคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักบริหารด้วย
4. 2
แนวคิดด้านมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของนักบริหาร
ในการประกอบอาชีพทางการศึกษา
ผู้ประกอบอาชีพจำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง
มีจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการพัฒนาประชาชนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการดำรงชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพเพื่อการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ
ผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาจึงต้องเป็นผู้ที่สามารถปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมด้วยการเป็นผู้ที่ทรงไว้ซึ่งความมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลักในการครองตน
ครองคนและครองงาน
พลเอกเปรม
ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ
ให้แนวคิดด้านมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมโดยกล่าวถึงการเป็นนักบริหารว่า
ความเก่ง
ความฉลาดเป็นเรื่องที่ดี
แต่ความเก่ง
ความฉลาดที่ไม่คุณธรรม
ไม่มีจริยธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี
และในการแสดงปาฐกถา
เรื่อง
แนวทางพระราชดำริสู่การบริหารจัดการภาครัฐ
โดยหยิบยกพระราชดำริ
14
ประการ
เป็นแนวทางเพื่อให้ผู้นำได้นำไปปฏิบัติ
ผู้รับไปปฏิบัติย่อมเป็นมงคลต่อชีวิต
เป็นเกราะป้องกันความเสื่อมเสีย
ผู้ที่ปฏิบัติตามย่อมเป็นคนดี
เป็นคนมีประโยชน์
เป็นคนที่ชาติต้องการ
พระราชดำริ
14
ประการ (มติชน
วันที่
10
กุมภาพันธ์
2543
หน้า
11)
ได้แก่
ประการที่หนึ่ง
การบริหารต้องเป็นการบริหารเพื่อความมั่นคงของชาติ
เพื่อความเจริญของประเทศและเพื่อความผาสุกของประชาชน
การบริหารจะต้องไม่เอาประโยชน์ส่วนตัว
ประโยชน์ของญาติพี่น้อง
ประโยชน์ของบริวารเข้ามาเกี่ยวข้อง
ประการที่สอง
การบริหารต้องบริหารด้วยความสามัคคี
เพราะจะนำไปสู่ความร่วมมือและความเข้มแข็งทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ
ประการที่สาม
การบริหารจะต้องบริหารด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
พระองค์รับสั่งว่าจะต้องซื่อสัตย์สุจริตทั้งในความคิดการพูดและการกระทำ
พลเอกเปรม
ติณสูลานนท์
เสริมความว่า
ผู้บริหารนอกจากซื่อสัตย์สุจริตแล้ว
ต้องดูแลคนรอบข้างตัวเราให้ซื่อสัตย์สุจริตด้วยยิ่งกว่านั้นผู้บริหารจำต้องเพิ่มเติมคำว่าเสียสละและจงรักภักดีเข้าไปด้วย
ประการที่สี่
การบริหารจะต้องเป็นการบริหารที่ถูกต้อง
คือถูกต้องตามกฎหมาย
ตามกฎเกณฑ์
เที่ยงธรรม
เที่ยงตรง
มีประสิทธิภาพ
และให้ประสิทธิผลสูง
พลเอกเปรม
ติณสูลานนท์
เสริมความว่าผู้บริหารจะต้องมีมาตรฐานเดียวกันเสมอหน้า
ทั่วถึงกัน
ต้องไม่มีหลายมาตรฐาน
หรือไม่มีมาตรฐานเลย
หรือใช้มาตรฐานตามอารมณ์มาตรฐานตามกิเลส
ประการที่ห้า
การบริหารต้องเป็นการบริหารที่เป็นเอกภาพ
คือการประสานงาน
ประสานประโยชน์ระหว่างหน่วยงาน
พระราชดำรินี้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
แต่โดยข้อเท็จจริง
หน่วยงานงานภาครัฐค่อนข้างละเลยจนเป็นอุปสรรคที่ไม่มีในตำรา
บางทีก็กลายเป็นการแข่งขัน
หรือกลายเป็นการแก่งแย่งกันเองระหว่างหน่วยงานต่าง
ๆ
ประการที่หก
การบริหารต้องบริหารด้วยความเฉียบอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างเช่น
พระมหาชนก
ผู้บริหารจะต้องไม่กลัวลำบาก
กลัวเหนื่อย
ดำรงความมุ่งหมายอย่างกล้าหาญ
กล้าเผชิญอุปสรรค
และอดทนต่อความยากลำบาก
ประการที่เจ็ด
ผู้บริหารต้องไม่หวาดกลัวอิทธิพลใด
ๆ
และต้องอยู่กันคนละฝ่ายกับความไม่ถูกต้อง
ประการที่แปด
ผู้บริหารต้องศึกษาหาความรู้อย่างจริงจัง
อย่างลึกซึ้ง
อย่างกว้างขวาง
ทั้งทางลึกและทางกว้าง
ประการที่เก้า
ผู้บริหารจะต้องมีความสำนึกในความรับผิดชอบ
และเห็นความสำคัญของงานในความรับผิดชอบหมายรวมถึงความตั้งใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุตามกฎที่กำหนด
พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งว่า
การเห็นความสำคัญของงาน
ความสำนึกในความรับผิดชอบ
และความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่
ต้องทำพร้อมและควบคู่กันไป
ประการที่สิบ
ผู้บริหารจะต้องรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและฉลาด
มีความถูกต้องเหมาะสม
การที่พระเจ้าอยู่หัวประทานทฤษฎีใหม่ที่ได้ยินจนชินหูว่าเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นการชี้แนวทางในการดำรงชีวิตใหม่ให้พวกเราพออยู่พอกิน
ทำให้เกิดความสมดุลในการดำรงชีพอย่างประหยัดและฉลาด
ประการที่สิบเอ็ด
ผู้บริหารจะต้องมีสติปัญญา
สามารถพิจารณาปัญหาได้กว้างไกล
รอบคอบทุกแง่มุม
ส่วนตัวเห็นว่าผู้บริหารจะต้องมีวิสัยทัศน์
ทันสมัย
ทันเหตุการณ์ทั่วโลก
โดยเฉพาะในสาขาอาชีพของตน
ประการที่สิบสอง
ผู้บริหารต้องแน่วแน่จะแก้ไขในสิ่งที่ผิด
ผู้บริหารจะต้องกล้าที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ผิด
และมีความแน่วแน่ที่จะแก้ไข
การบริหารย่อมผิดพลาดได้
แม้จะรอบคอบระมัดระวังแล้ว
ดังนั้นการแก้ไขสิ่งที่ผิดจึง
ไม่ใช่เรื่องน่าละอาย
การทำชั่ว
ประพฤติชั่วต่างหากที่น่าละอาย
ประการที่สิบสาม
ผู้บริหารจะต้องบริหารแบบปิดทองหลังพระปฏิมา
ข้อนี้ทรงหมายถึงการไม่โอ้อวด
มุ่งแต่ผลงาน
ไม่หวังคำชมเชย
ภูมิใจแต่ความสำเร็จ
ประการที่สิบสี่
ผู้บริหารทุกระดับที่มีผู้ใต้บังคับบัญชา
ผู้บริหารต้องประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
พระราชดำริทั้ง 14
ประการนี้เป็นคุณสมบัติที่เป็นมาตรฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับนักบริหารโดยแท้จริง
ทั้งยังเป็นพระราชดำริชี้แนะแนวทางที่ครอบคลุมและกำหนดพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมนักบริหารด้วยหลักการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยผสมผสานกับหลักของความเป็นสากล
4.3
มาตรฐานการปฏิบัติตนและจรรยาบรรณวิชาชีพด้านการศึกษา
สำหรับนักบริหารศึกษา
คุรุสภาได้กำหนดมาตรฐานด้านความรู้ด้านคุณธรรมและจริยธรรมและมาตรฐานการปฏิบัติตน
สำหรับ
ครูและอาจารย์
ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา
และศึกษานิเทศก์
ดังนี้
4.2.1
ครูและอาจารย์
จากเอกสารวิชาการลำดับที่
1/2548
ได้กำหนดให้ครูและอาจารย์
มีความเป็นครูด้วยคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ดังนี้
1)
มาตรฐานความรู้ :
ความเป็นครู
สาระความรู้
(1)
ความสำคัญของวิชาชีพครู
บทบาทหน้าที่
ภาระงานของครู
(2)
พัฒนาการของวิชาชีพครู
(3)
คุณลักษณะของครูที่ดี
(4)
การสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู
(5)
การเสริมสร้าง
ศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครู
(6)
การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และการเป็นผู้นำทางวิชาการ
(7)
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
(8)
จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
(9)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องการศึกษา
สมรรถนะ
(1)
รัก
เมตตาและปรารถนาดีต่อผู้เรียน
(2)
อดทนและรับผิดชอบ
(3)
เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้นำทางวิชาการ
(4)
มีวิสัยทัศน์
(5)
ศรัทธาในวิชาชีพครู
(6)
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
2)
มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
(1)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องมีวินัยในตนเอง
พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ
และวิสัยทัศน์
ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ
เศรษฐกิจ
สังคม
และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(2)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องรัก
ศรัทธา
ซื่อสัตย์สุจริต
รับผิดชอบต่อวิชาชีพ
และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(3)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องรัก
เมตตา
เอาใจใส่
ช่วยเหลือ
ส่งเสริม
ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
(4)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(5)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งทางกาย
วาจา
และจิตใจ
(6)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา
จิตใจ
อารมณ์
และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ
(7)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค
โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(8)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม
สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
(9)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม
ศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญา
สิ่งแวดล้อม
รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.2.2
ผู้บริหารสถานศึกษา
จากเอกสารวิชาการลำดับที่
1/2548
ได้กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ดังนี้
1)
มาตรฐานความรู้ :
คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา
สาระความรู้
(1)
คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร
(2)
จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
(3)
การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนในกรอบคุณธรรม
(4)
การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
(Good Governance)
สมรรถนะ
(1)
เป็นผู้นำเชิงคุณธรรม
จริยธรรม
และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
(2)
ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
(3)
ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ร่วมงานมีคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสม
2)
มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
(1)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องมีวินัยในตนเอง
พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ
และวิสัยทัศน์
ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ
เศรษฐกิจ
สังคม
และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(2)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องรัก
ศรัทธา
ซื่อสัตย์สุจริต
รับผิดชอบต่อวิชาชีพ
และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(3)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องรัก
เมตตา
เอาใจใส่
ช่วยเหลือ
ส่งเสริม
ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
(4)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(5)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งทางกาย
วาจา
และจิตใจ
(6)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา
จิตใจ
อารมณ์
และสังคมของศิษย์และรับบริการ
(7)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค
โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(8)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม
สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
(9)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม
ศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญา
สิ่งแวดล้อม
รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.2.3
ผู้บริหารการศึกษา
จากเอกสารวิชาการลำดับที่
1/2548
ได้กำหนดให้ผู้บริหารการศึกษาควรมีคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ดังนี้
1)
มาตรฐานความรู้ :
คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหารการศึกษา
สาระความรู้
(1)
คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร
(2)
จรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
(3)
การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนในกรอบคุณธรรม
(4)
การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
(Good Governance)
สมรรถนะ
(1)
เป็นผู้นำเชิงคุณธรรม
จริยธรรม
และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
(2)
ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
(3)
ส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้ร่วมงานมีคุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสม
2)
มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
(1)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องมีวินัยในตนเอง
พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ
และวิสัยทัศน์
ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ
เศรษฐกิจ
สังคม
และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(2)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องรัก
ศรัทธา
ซื่อสัตย์สุจริต
รับผิดชอบต่อวิชาชีพ
และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(3)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องรัก
เมตตา
เอาใจใส่
ช่วยเหลือ
ส่งเสริม
ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
(4)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(5)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งทางกาย
วาจา
และจิตใจ
(6)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา
จิตใจ
อารมณ์
และสังคมของศิษย์
และผู้รับบริการ
(7)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค
โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(8)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม
สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
(9)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม
ศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญา
สิ่งแวดล้อม
รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4.2.4
ศึกษานิเทศก์
จากเอกสารวิชาการลำดับที่
1/2548
ได้กำหนดให้ศึกษานิเทศก์ควรมีคุณสมบัติด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ดังนี้
1)
มาตรฐานความรู้ :
คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์
สาระความรู้
(1)
คุณธรรมจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์
(2)
จรรยาบรรณของวิชาชีพศึกษานิเทศก์
(3)
การพัฒนาจริยธรรมผู้บริหารให้ปฏิบัติตนในกรอบคุณธรรม
(4)
การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
(Good Governance)
สมรรถนะ
(1)
ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพศึกษานิเทศก์
(2)
มีหลักธรรมในการนิเทศและประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดี
2)
มาตรฐานการปฏิบัติตน
จรรยาบรรณต่อตนเอง
(1)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องมีวินัยในตนเอง
พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ
และวิสัยทัศน์
ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ
เศรษฐกิจ
สังคม
และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(2)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องรัก
ศรัทธา
ซื่อสัตย์สุจริต
รับผิดชอบต่อวิชาชีพ
และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(3)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องรัก
เมตตา
เอาใจใส่
ช่วยเหลือ
ส่งเสริม
ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
(4)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการ
ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(5)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
ทั้งทางกาย
วาจา
และจิตใจ
(6)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย
สติปัญญา
จิตใจ
อารมณ์
และสังคมของศิษย์
และผู้รับบริการ
(7)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค
โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(8)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม
สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
จรรยาบรรณต่อสังคม
(9)
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ
สังคม
ศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม
ภูมิปัญญา
สิ่งแวดล้อม
รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
การปฏิบัติตนตามแบบแผนพฤติกรรมจรรยาบรรณของวิชาชีพถือเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ผู้ที่ประกอบวิชาชีพจึงควรตีองตระหนักและใส่ใจที่จะปฏิบัติตามโดยยึดถือว่าเป็น
“ศีลของผู้ประกอบวิชาชีพ”
สมควรที่จะต้องหมั่นทบทวนและปฏิบัติตามซึ่งนอกจากจะช่วยไม่ให้กระทำผิดจนเกิดการร้องเรียนทำให้เสียหายแล้วยังเป็นการยกระดับความเป็นวิชาชีพชั้นสูงทั้งของตนและองค์กรวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยรวม
เป็นที่ยอมรับ
มีเกียรติ
มีศักดิ์ศรี
ปรากฏต่อสาธารณชนมากขึ้นอันจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของไทยในอนาคตด้วย
ตอนการเรียนรู้ที่
5
การพัฒนาและการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม
มนุษย์ไม่ได้เกิดมาพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
การเกิดปัญหาด้านจริยธรรมของสังคมจึงอยู่ในความรับผิดชอบของทุกคนในฐานะปัจเจกบุคคล
ในฐานะสมาชิกของสังคมและในฐานะผู้ให้การอบรมเลี้ยงดูแก่บุคคลในสังคม
มนุษย์เกิดมาพร้อมด้วยความต้องการที่จะดำรงชีวิตให้มีความสุขและได้รับสิ่งที่ต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต
มนุษย์จึงมักจะดิ้นรนแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองเป็นที่ตั้ง
ความต้องการทำให้เกิดเป็นกิเลสของความอยากซึ่งอาจนำไปสู่การทำร้ายผู้อื่นได้
การที่จะทำให้มนุษย์ตระหนักว่าการการมีความสุขแต่เพียงผู้เดียวอาจจะเป็นการทำร้ายผู้อื่น
และผลสะท้อนกลับมาทำร้ายตนเองในที่สุด
การปลูกฝังให้มนุษย์รู้จัก
ผิด
ชอบ
ชั่ว
ดี
และการมีความสุขที่ยั่งยืน
คือ
การให้ความรู้และประสบการณ์เป็นสิ่งที่จำเป็น
5. 1
การกล่อมเกลาทางสังคมและการพัฒนาด้านคุณธรรมและจริยธรรม
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมจึงต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
การเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ต้องปฏิบัติร่วมกันเป็นสิ่งที่จำเป็น
บุคคลที่ได้รับการกล่อมเกลาอย่างต่อเนื่องจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
การเรียนรู้ทางสังคมจะทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตตามระเบียบแบบแผนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของสังคม
การได้รับการอบรมสั่งสอนและให้ความรู้ตลอดจนปลูกจิตสำนึกในด้านคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่ในวัยเด็กจะทำให้บุคคลนั้นมีความคิดที่สอดคล้องกับคุณธรรมและจริยธรรมในระดับสากลและในระดับสังคมได้
มนุษย์ในสังคมจะได้รับการดูแลจากหน่วยสังคมต่าง
ๆ
ตั้งแต่เกิดจนตาย
หน่วยสังคมต่าง
ๆ
เหล่านี้จะคอยชี้แนะสั่งสอน
และให้คุณค่าทางจริยธรรม
หน่วยสังคมเหล่านี้รวมเรียกว่า
สังคมประกิต
ซึ่งประกอบด้วย
ครอบครัว
โรงเรียน
เพื่อน
สื่อสารมวลชน
และศาสนา
การอบรมสั่งสอนของหบ่วยสังคมเหล่านี้เป็นไปได้ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
ผลของการกล่อมเกลาทางสังคมทำให้บุคคลที่อยู่ในวัยเด็กมีค่านิยมและจริยธรรมที่สอดคล้องกับตัวแบบทั้งในด้านบวกและด้านลบได้
5.1.1
คุณลักษณะของความเป็นคนดี
ในสังคมหนึ่ง
ๆ
อาจจะมีคุณลักษณะรายละเอียดปลีกย่อยของความเป็นคนดีที่แตกต่างกันไปบ้าง
แต่โดยรวมแล้วคุณลักษณะที่ดีนั้นมักจะเป็นคุณลักษณะที่เป็นพื้นฐานสากล
ฮูอิทท์
(Huitt, 2002)
กล่าวถึงคำนิยามของคุณลักษณะที่ดีว่าจะต้องมีพัฒนาการในด้านต่าง
ๆ
ดังนี้
1)
มีความรับผิดชอบ
ซึ่งเน้นว่าต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีคุณธรรม
คือรู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะถูกต้องและไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเสียหาย
และแสดงความรับผิดชอบและมีจริยธรรมต่อสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป
2)
มีความสามารถในการกำกับวินัย
การรักษาวินัยและบังคับตนให้อยู่ในระเบียบและกฎเกณฑ์ตามที่ตนเองวางกรอบไว้
3)
มีคุณธรรมที่แสดงออกทางค่านิยม
จุดมุ่งหมายและกระบวนการที่สร้างสรรค์สังคม
4)
มีมาตรฐานของความประพฤติส่วนตนและความคิดที่เป็นอิสระ
5.1.2
ปัจจัยที่ทำให้เกิดพัฒนาการด้านจริยธรรม
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดพัฒนาการด้านจริยธรรมนั้น
เป็นผัจจัยที่ผสมผสานกัน
แคมป์เบลล์
และ
บอนด์
(Campbell and
Bond, 1982, as cited in Huitt, 2002)
สรุปว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดพัฒนาการด้านจริยธรรม
เช่น
1)
พันธุกรรม
2)
ประสบการณ์ในวัยเด็ก
3)
การแสดงออกของผู้ใหญ่และเด็กที่อายุมากกว่า
4)
อิทธิพลเพื่อน
5)
กายภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
6)
สื่อสารมวลชน
7)
สิ่งที่ถูกอบรมสั่งสอนในโรงเรียน
8)
สถานการณ์เฉพาะและบทบาทที่ต้องแสดงออกสืบเนื่อง
ปัจจัยต่าง
ๆ เหล่านี้
มาจากองค์ประกอบทั้งภายในและภายนอกตัวบุคคล
ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม
สิ่งแวดล้อม
วุฒิภาวะและการเรียนรู้
ความผสมผสานกันขององค์ประกอบต่าง
ๆ
เหล่านี้จะหล่อหลอมให้บุคคลพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมได้ตามศักยภาพ
5.1.3
ความคงที่ของพัฒนาการด้านจริยธรรม
นักจิตวิทยายอมรับว่าพัฒนาการด้านจริยธรรมนั้นมีความแตกต่างในแต่ละวัย
นอกจากนี้ยังพบว่าการพัฒนาการด้านจริยธรรมนั้นมีลักษณะที่แตกต่างไปจากพัฒนาการด้านอื่น
ๆ
เช่น
พัฒนาการด้านร่างกาย
หรือพัฒนาการด้านสติปัญญา
เนื่องจากพัฒนาการเหล่านี้มีความคงที่
เมื่อมีพัฒนาการถึงระดับใดก็จะคงความสามารถในการแสดงพฤติกรรมในระดับนั้น
ๆ
ได้แต่สำหรับพฤติกรรมที่เป็นความสามารถในด้านการคิดในเชิงจริยธรรมแล้ว
พบว่าเมื่อบุคคลมีพัฒนาการด้านจริยธรรมหนึ่งแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะแสดงพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในระดับนั้นเสมอไป
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าแสดงออกด้านจริยธรรมจะไม่คงที่
พัฒนาการสามารถย้อนกลับไปกลับมาได้เนื่องจากอารมณ์
ความคิดและความรู้สึกเข้ามามีอิทธิพลต่อความต้องการที่จะทำในสิ่งที่ผิดหรือในสิ่งที่ถูกต้อง
เช่น
บุคคลที่มีความซื่อสัตย์เมื่อเก็บกระเป๋าสตางค์ได้อาจจะไม่ส่งคืนเจ้าของเพราะมีความจำเป็นต้องนำเงินไปรักษาแม่ซึ่งกำลังเจ็บหนัก
เป็นต้น
แม้ว่าจะรู้ผิดชอบชั่วดี
แต่การกระทำก็บ่งบอกระดับของขั้นจริยธรรมได้
การที่จะระบุได้ว่าบุคคลมีพัฒนาการด้านจริยธรรมในขั้นใดจะพิจารณาความสอดคล้องของการกระทำที่เป็นทั้งพฤติกรรมภายนอกและภายในด้วย
5. 2
ปัญหาจริยธรรมในองค์การ
ปัญหาจริยธรรมในองค์การเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานและความสำเร็จขององค์การเสื่อมถอยเนื่องจากการไม่ได้รับความเชื่อถือจากสังคม
การแก้ปัญหาจริยธรรมในองค์การ
ต้องเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง
เนื่องจากจริยธรรมของผู้บริหารมีความสำคัญต่อจริยธรรมของลูกน้อง
คุณภาพของผู้บริหารและแนวทางในการพัฒนาตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญ
เป็นประการแรก
ผู้บริหารต้องตระหนักว่าตนนั้นอยู่ในฐานะที่สำคัญการไม่มีจริยธรรมของผู้บริหารสามารถทำลายจริยธรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาได้
5.2.1
ปัญหาการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในองค์การ
พระเมธีธรรมาภรณ์
(2544)
กล่าวว่า
รูปแบบเป็นสิ่งที่สำคัญ
โดยเฉพาะคุณธรรมและจริยธรรมนั้นไม่ใช่การพูดแต่ปากแต่ต้องทำให้เป็นตัวอย่างด้วย
และในบางครั้งแบบอย่างที่ดีในอาชีพก็หาได้ยาก
เช่นแบบอย่างของการเป็นนักบริหารที่ดี
ครูที่ดี
หรือนายแพทย์ที่ดี
เป็นต้น
การสร้างรูปแบบที่ดีให้ปฏิบัติได้และทำได้อย่างชัดเจนต้องการตัวแบบที่ทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวแบบที่ดี
เช่น
การมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดี
ดูแล
เอาใจใส่ก็จะเป็นผลสะท้อนกลับให้ผู้นั้นทำตามแบบอย่างเนื่องจากได้รับการปลูกฝังด้วยประสบการณ์จริง
ในทำนองเดียวกัน
การเลียนแบบพฤติกรรมก็จะเกิดขึ้นในองค์องค์การได้ถ้าในองค์การนั้นมีผู้บังคับบัญชาที่ขาดจริยธรรมในการบริหารกิจการ
และขาดจริยธรรมในการบริหารทรัพยากร
ลูกน้องจะเลียนแบบโดยให้เหตุผลว่าทำตามผู้นำ
5.2.2
ปัญหาภาวะความเครียดในองค์การ
ปัญหาความเครียดมีผลต่อพฤติกรรมของบุคคล
และมักจะก่อให้เกิดปัญหาด้านคุณธรรมและจริยธรรม
ความเครียดมักเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำงานได้ผลไม่เต็มประสิทธิภาพ
เนื่องจากมีสภาพจิตใจที่วิตกกังวลและมีอารมณ์หงุดหงิด
แสดงออกด้วยความรู้สึกไม่มีความสุขในการทำงาน
ความเครียดเป็นผลทำให้สุขภาพจิตเสื่อม
ผู้บริหารที่มีสุขภาพจิตเสื่อม
จะแสดงพฤติกรรมที่บ่งชี้อาการความผิดปกติได้ตลอดเวลา
เช่น
อาละวาด
ด่าทอ
ก่อความไม่สงบ
เป็นต้น
ทำให้ขาดความเชื่อในอำนาจตนเอง
ไม่กล้าตัดสินใจ
ครูที่มีความเครียดก็จะไม่มีสมาธิในการจัดการเรียนการสอน
นอกจากนี้ยังพบว่าความเครียดของครูมีผลกระทบไปยังนักเรียนทำให้นักเรียนมีความเครียดด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ยังพบว่าครูที่มีปัญหาด้านความเครียดมักจะลงโทษนักเรียนด้วยการทำร้ายร่างกายอย่างหนัก
5.2.3
ปัญหาที่เกิดจากการอบรมดั้งเดิม
การอบรมเลี้ยงดูเริ่มต้นเมื่อมนุษย์อยู่ในวัยทารก
การกล่อมเกลาสั่งสอนในสิ่งที่ถูก
ผิด
ทำให้มนุษย์มีพัฒนาการด้านจริยธรมเพิ่มขึ้นเป็นลำดับขั้นตามวัย
จากผลการอบรมเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอนจากสังคมประกิตทำให้รู้จักหน้าที่
ความรับผิดชอบและการรู้จักตนเอง
รู้จักมารยาททางสังคมและให้เกียรติผู้อื่น
การอบรมเลี้ยงดูจะทำให้บุคคลมีจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรม
โฮแกน
(Hogan, 1973 cited in Tucker-Ladd, 1996 - 2000)
เชื่อว่าปัจจัยในด้านของการเป็นคนดีมีหลายประการ
คือ
1)
การวางกรอบในการอบรมเลี้ยงดู
เป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กระวังตนภายใต้กรอบของสังคมและกฎเกณฑ์ของพ่อแม่ในการประพฤติตนเป็นคนดี
2)
การตัดสินจริยธรรม
การเรียนรู้ที่จะคิดอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับจริยธรรมประจำใจของตนเอง
3)
ความรู้สึกด้านจริยธรรม
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในจิตของบุคคลที่จะมีระดับในการรู้สึกผิด
หรือละอายในสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ
4)
ความรู้สึกเห็นใจ
เป็นความตระหนักในความรู้สึกถึงในความต้องการความช่วยเหลือของผู้อื่นที่ทำให้เข้าไปหาและให้ความช่วยเหลือ
5)
ความเชื่อมั่นและความรู้
รู้ลำดับขั้นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่นและเชื่อว่ามีความสามารถในการช่วยเหลือได้
ลักษณะนิสัยของคนไทยบางอย่างอาจกีดกั้นการพัฒนาการด้านจริยธรรม
เช่น
การแสดงความสัมพันธ์ใกล้ชิดระดับบุคคลค่อนข้างจะสูง
ทำให้ก้าวก่ายในเรื่องส่วนตัวของบุคคลมากเกินขอบเขต
ซึ่งนำไปสู่การกล่าวโทษและนินทาว่าร้ายกัน
การไม่ไว้หน้ากัน
เป็นต้น
การปลูกฝังจริยธรรมก็เพื่อทำให้บุคคลมีจิตสำนึกในการปฏิบัติตนที่ดี
เคารพซึ่งกันและกัน
เคารพผู้บังคับบัญชา
ในทำนองเดียวกันก็เพื่อให้เป็นนักบริหารที่เคารพในเสรีภาพ
เคารพในกฎระเบียบ
มีทัศนคติที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
และเป็นการสร้างนักบริหารที่มีคุณธรรมและจริยธรรม
5. 3
แนวทางและวิธีการปลูกฝังจริยธรรม
คุณธรรมจริยธรรมเกิดขึ้นมาพร้อม
ๆ
กับการพัฒนาการด้านสติปัญญาและการอบรม
กล่อมเกลาให้รู้จักผิดชอบชั่วดีของสังคม
คุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
ทั้งในระบบนอกโรงเรียนและในโรงเรียน
การศึกษาคือการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ทำให้ชีวิตมีคุณค่าและกำกับให้ตนเองเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ด้วยการปลูกฝังพื้นฐานด้านจริยธรรมในด้านต่าง
ๆ
กระบวนการปลูกฝัง
ดังที่
ประภาศรี
สีหอำไพ
(2543)
ได้วางกรอบกระบวนการสังคมประกิต
ที่มา
:
ประภาศรี
สีหอำไพ,
2543
หน้า
41
5.3.1
การศึกษาเพื่อการปลูกฝังจริยธรรม
การศึกษาเป็นการให้ความรู้ในเรื่องจริยธรรม
การให้การศึกษา
รวมถึงการอบรมบ่มนิสัย
ให้เรียนรู้สิ่งที่ถูกผิด
และการตักเตือนให้เกิดความสำนึกในความถูกต้องและความผิด
1)
การปลูกฝังพื้นฐานด้านวิชาการ
การเรียนการสอน
การศึกษาของไทยมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า
หลักสูตรต่าง
ๆ
ที่นำมาใช้จะมีลักษณะแนวทางที่เป็นไปในทางเดียวกันกับพุทธปรัชญา
2)
การปลูกฝังพื้นฐานด้านชีวิตและสังคม
การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมในการดำรงชีวิตทางด้านสังคมก็จะนำพระธรรมที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นหลักในการคิดและการแก้ปัญหาในเชิงคุณธรรมจริยธรรม
การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขภายใต้กฏเกณฑ์ของสังคมและจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
3)
การปลูกฝังพื้นฐานด้านจิตวิทยา
เป็นพื้นฐานที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ด้วยการคิด
การหยั่งเห็น
การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
มีการไตร่ตรองจนเกิดความเข้าใจ
จนเกิดเป็นจิตสำนึก
การศึกษาจึงต้องมุ่งอบรมให้บุคคลคิดเป็น
ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็น
ซึ่งมีความมุ่งหมายปลายทาง
คือให้คิดดี
ทำดีและแก้ปัญหาได้ดี
การศึกษาจิตวิทยาทำให้เข้าใจธรรมชาติความต้องการของมนุษย์เพื่อให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วย
การสร้างแรงจูงใจตนเองเพื่อให้สามารถพัฒนาไปสู่ความดีงามได้
เนื่องจากจริยธรรมคุณธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการได้รับประสบการณ์และจากการอบรมสั่งสอน
ชี้แนะให้มองเห็นความผิด
ชอบ
ชั่ว
ดี
บุคคลมักจะได้รับการอบรมเลี้ยงดูจากกลุ่มที่เป็นตัวแทนทางสังคมที่ทำหน้าที่
รับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูให้บุคคลในสังคมเป็นผู้ที่ตระหนักรู้และมีพฤติกรรมที่กล่าวได้ว่า
เป็นผู้มีจริยธรรมคุณธรรม
คือ
ครอบครัว
โรงเรียน
เพื่อน
สื่อสารมวลชน
และศาสนา
บุคคลในกลุ่มสังคมเหล่านี้ต้องพยายามค้นหาวิธีการเพื่อพัฒนาและปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรม
5.3.2
การพัฒนาจริยธรรมคุณธรรมด้วยการปลูกฝังค่านิยม
การปลูกฝังค่านิยม
เป็นวิธีการปลูกฝังที่เริ่มต้นด้วยกระบวนการในขั้นพื้นฐาน
ซึ่ง
ประภาศรี
สีหอำไพ (2543
หน้า
242)
ได้เสนอแนะวิธีการปลูกฝังจริยธรรมคุณธรรมไว้หลายประการ
เช่น
1)
กำหนดพฤติกรรมที่พึงปรารถนาตามคุณธรรมจริยธรรมอย่างสอดคล้องกัน
2)
เสนอตัวอย่างพฤติกรรมที่พึงปรารถนา
พร้อมทั้งแสดงให้เห็นผลดีผลเสีย
3)
ประเมินพฤติกรรมที่สอดคล้องและไม่สอดคล้องกับคุณธรรมและจริยธรรมโดยใช้เกณฑ์ผลของพฤติกรรมต่อตนเอง
หมู่คณะและสังคม
4)
แลกเปลี่ยนและวิจารณ์การประเมินในกลุ่ม
5)
ฝึกปฏิบัติให้บุคคลกระทำด้วยใจสมัครและให้ประเมินผลสำเร็จด้วยตนเอง
6)
ย้ำให้บุคคลรับเอาพฤติกรรมที่สอดคล้องกับจริยธรรมและคุณธรรมโดยให้นำมาเป็นส่วนหนึ่งของตน
7)
การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและการชักชวนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เหมาะสมกับจริยธรรมและคุณธรรม
8)
พัฒนาค่านิยมจากระดับญาติพี่น้อง
ไปสู่หมู่คณะและสังคม
เช่น
เริ่มต้นจากความกตัญญู
ความเสียสละ
ความสามัคคีในหมู่พี่น้อง
หมู่คณะ
และสังคม
ไปจนถึงประเทศชาติ
9)
จัดกิจกรรมเสริม
เช่น
กิจกรรมรณรงค์
นิทรรศการ
การประชุม
สัมมา
การอภิปราย
การศึกษากรณี
การจัดงานประเพณี
เป็นต้น
5.3.3
การพัฒนาจริยธรรมคุณธรรมด้วยการใช้สติปัญญา
มนุษย์เกิดมาพร้อมด้วยสติปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดแม้ว่าจะมีสติปัญญาที่ไม่เท่ากัน
สติปัญญาเป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตของมนุษย์
สามารถพัฒนาให้เพิ่มพูนความสามารถได้
สติปัญญา
คือ
ความฉลาด
ผู้ที่มีสติปัญญาดีคือผู้ที่สามารถคิดแก้ไขปัญหาได้ดีเนื่องจากเข้าใจปัญญาได้ดี
นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในการพัฒนาจริยธรรมคุณธรรมของนักบริหารนั้น
เนื่องจากเป็นผู้ที่มีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ที่เหนือผู้อื่น
วิธีการพัฒนาด้วยการใช้สติปัญญาจึงน่าจะกระทำได้อย่างเป็นผลดี
วิธีการพัฒนาจริยธรรมและคุณธรรมด้วยการใช้สติปัญญา
ประภาศรี
สีหอำไพ
(2543
หน้า
243)
เสนอแนะ
เช่น
1)
กลุ่มสัมพันธ์
การสร้างความเข้าใจสมาชิกในแง่มุมที่เป็นเชิงบวกและการปรับพฤติกรรมความคิดของกลุ่ม
2)
การสืบสวนสอบสวน
เป็นการใช้วิธีซักถามเพื่อให้ได้คำตอบของผลของการกระทำที่นำไปสู่ความสุขหรือความทุกข์ระดับบุคคล
ระดับกลุ่ม
และระดับสังคม
3)
การแสดงบทบาทสมมติ
เพื่อให้เกิดแนวความคิดในการแก้ปัญหาในเชิงคุณธรรมและจริยธรรมร่วมกัน
4)
การเล่นเกมส์
เพื่อนำการเล่นเกมส์มาสู่หลักการของความคิดที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ซึ่งอาจเกิดผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์สะท้อนกลับมายังตนเอง
5)
การใช้สื่อโสตทัศนอุปกรณ์
ให้ดูตัวอย่างภาพการแสดงพฤติกรรมเพื่อนำมาวิเคราะห์
6)
การจัดค่ายจริยธรรม
เพื่อให้บุคคลทีประสบการณ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ในสถานการณ์ที่จำเป็น
การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมปัญญาเป็นแนวทางที่ทำให้ได้มีโอกาสคิดในสถานการณ์ที่ตนเองเป็นบุคคลภายนอกหรือผู้สังเกตการณ์
เนื่องจากบุคคลมักจะมองไม่เห็นแนวทางเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
การแก้ปัญหาทางจริยธรรมจึงอาจมีสภาพคล้ายเส้นผมบังภูเขาได้
กิจกรรม
1.
ให้ผู้เรียนเล่าประสบการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดค่านิยมในด้านคุณธรรมจริยธรรมในการบริหารงาน
2.
ให้ผู้เรียนอภิปรายและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมจากกรณีตัวอย่างหรือจากสถานการณ์จริงที่ปรากฏในสังคม
และให้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
3.
ให้ผู้เรียนจัดทำโครงการและวางหลักสูตรในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร
เอกสารอ้างอิง
Boeree,
C. G. (2003). Moral development. [Online]. Available:
http://www.ship.edu/~cgboeree/genpsymoraldev.html. [2004,
August 22].
Covey,
S. (2004). The seven habits of highly effective people. New York: Franklin
Covey
Huitt,
W. G. (2002). Moral and character development. Valdosta State University.
[Online]. Available;
http://www.wilderdom.com/character.html[2004, June 12].
Tuck-Ladd, C. (2000). Psychological self help. Mental health net: Q1
Award. [Online]. Available:
http://www.mentalhelp.net/psyhelp/
[2004, August 2].
Wood,
J., Wallace, J., and Zaffane, R. (2001).
Organizational Behavior: A Global Prospective. Brisbane: Jon Wiley & Sons
Australia.
จำเริญรัตน์
เจือจันทร์.
(2548).
จริยศาสตร์:
ทฤษฎีจริยธรรมสำหรับนักบริหารการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร:
โอ.เอส.
พริ้นต้ง
เฮ้าส์
ดวงเดือน
พันธุมนาวิน
(2538)
ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมกับพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการไทย.
มมป.
เอกสารอัดสำเนา.
ติน
ปรัชญาพฤทธิ์.
(2536).
วิชาชีพนิยมของระบบราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว:
วิวัฒนาการและผลกระทบต่อสังคมไทย.
กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประภาศรี
สีหอำไพ.
(2543).
พื้นฐานการศึกษาทางศาสนาและจริยธรรม.
กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ป๋าเปรม“
ยก 14
พระราชดำริ
สอน
“จริยธรรม”
ผู้นำ
10
กุมภาพันธ์
2549
หนังสือพิมพ์
มติชน
หน้า
11
พระเทวินทร์
เทวินโท. ( 2544 ).
พุทธจริยศาสตร์.
นนทบุรี
:
สหมิตรพริ้นติ้ง
พระเมธีธรรมาภรณ์.
(2544).
รุปแบบการปลุกฝังคุณธรรมและอาชีพของคนไทยสมัยก่อนกับสภาพปัจจุบัน.
ไพฑูรย์
สินลารัตน์.
(บรรณาธิการ)
ความรู้คู่คุณธรรม
รวมบทความคุณธรรม
จริยธรรมและการศึกษา.
กรุงเทพมหานคร
:
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(หน้า
103-117)
วริยา
ชินวรรโณ.
(2546).
บทนำ
:
จริยธรรมในวิชาชีพ.
วริยา
ชินวรรณโณ
(บรรณาธิการ)
จริยธรรมในวิชาชีพ.
กรุงเทพมหานคร
:
โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
(หน้า
1-38)
วิชา
มหาคุณ.
(2546).
บทนำ
:
จริยธรรมในวิชาชีพ.
วริยา
ชินวรรณโณ
(บรรณาธิการ)
จริยธรรมในวิชาชีพ.
กรุงเทพมหานคร
:
โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
(หน้า
134-144)
ส.
เสถบุตร. ( 2536).
New Model English-Thai Dictionary.
กรุงเทพมหานคร
:
ไทยวัฒนาพานิช.
สุภัททา
ปิณฑะแพทย์. (2527).
จิตวิทยาพัฒนาการ.
กรุงเทพมหานคร
:
หอรัตนชัยการพิมพ์
|